วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ วิทยาศาสตร์ ม.1

ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ วิทยาศาสตร์ ม.1
สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำชี้แจง ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ (100 คะแนน)
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ข้อใดมีความหมายตรงกับคำว่า "วิทยาศาสตร์" มากที่สุด
ก. การศึกษาเกี่ยวกับชีวิตพืชและสัตว์
ข. ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
ค. การศึกษาหาความรู้จากการทดลองเพื่อตั้งเป็นกฎเกณฑ์
ง. การแสวงหาความรู้อย่างมีระเบียบแบบแผนและมีขั้นตอน
2. ในการตั้งปัญหาของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ยึดหลักการใดเป็นสำคัญ
ก. ทฤษฎี ข. สมมติฐาน
ค. ข้อเท็จจริง ง. การทดลอง
3. เพราะเหตุใดเราจึงต้องทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซ้ำหลายๆ
ครั้งก่อนจึงสรุปผล
ก. เพื่อให้เกิดความชำนาญ ข. เพื่อให้ได้ผลงานมากๆ
ค. เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ ง.
เพื่อหาข้อบกพร่องในการทดลอง
4. ข้อใดไม่จัดเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ก. จิตใจ ข. ร้อนหนาว
ค. กลิ่นฉุน ง. การได้ยิน
5. หน่วยวัดอุณหภูมิในระบบเอสไอคือข้อใด
ก. เคลวิน ข. องศาเซลเซียส
ค. องศาโรเมอร์ ง. องศาฟาเรนไฮต์

6. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการวัดขนาดของวัตถุ
ก. วัดหลายๆ ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ยในการวัด
ข. ใช้เครื่องมือวัดหลายๆ ชนิด แล้วใช้ค่าที่อ่านได้ตรงกัน
ค. ใช้คนหลายๆ คนในการวัด แล้วใช้ค่าที่อ่านได้ตรงกัน
ง. ใช้เครื่องมือชนิดเดียว และวัดเพียงครั้งเดียว ใช้ค่าที่อ่านได้
7. การวัดความกว้าง - ยาวของโต๊ะนักเรียนควรใช้เครื่องมือชนิดใด
ก. ไม้เมตร ข. ตลับเมตร
ค. ไม้บรรทัด ง. ไม้โปรเจกเตอร์
8. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการอธิบายถึงผลการทดลอง
ก. เตรียมหลอดทดลอง 2 หลอด
ข. สารละลายชนิดนี้คือกรดอินทรีย์
ค. เทสารละลายจากขวดลงในหลอดทดลอง
ง. สารผสมเปลี่ยนไปเป็นสีแดงขุ่น และเกิดฟองแก๊สขึ้นเล็กน้อย
9. หากต้องการจะตรวจดูเชื้อแบคทีเรีย
ควรใช้เครื่องมือชนิดใดจึงจะเหมาะสมที่สุด
ก. แว่นขยาย ข. กล้องจุลทรรศน์
ค. กล้องส่องทางไกล ง. กล้องโทรทรรศน์
10. ขนาดของเซลล์สิ่งมีชีวิตทั่วๆ ไปมีขนาดประมาณเท่าใด
ก. 1 - 5 ไมโครเมตร ข. 10 - 20 ไมโครเมตร
ค. 10 - 100 ไมโครเมตร ง. น้อยกว่า 1 ไมโครเมตร
11. นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบเซลล์ของสิ่งมีชีวิตคนแรกคือใคร
ก. ชไลเดน ข. กาลิเลโอ
ค. ชวานน์ ง. โรเบิร์ต ฮุก
12. ข้อใดเป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ก. แสงและน้ำ ข. น้ำและคลอโรฟิลล์
ค. แสงและคลอโรฟิลล์ ง. แสงและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์


13. การทดสอบหาแป้งในใบไม้ชนิดต่างๆ
เป็นการทดสอบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด
ก. แสงจำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ข. ผลที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชคือแป้ง
ค. คลอโรฟิลล์มีความจำเป็นต่อการสร้างอาหารของพืช
ง.
คาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
14. ข้อใดเรียงลำดับขั้นตอนการตรวจสอบหาแป้งในใบชบาด่างได้ถูกต้อง
1. แช่ใบชบาด่างในน้ำเย็น
2. ต้มใบในแอลกอฮอล์
3. ต้มใบในน้ำเดือด
4. เติมสารละลายไอโอดีนลงบนใบ
ก. 1 → 2 → 3 → 4 ข. 3 → 2 → 1 → 4
ค. 4 → 3 → 2 → 1 ง. 3 → 2 → 4 → 1
15. ถ้าต้องการตรวจสอบคลอโรฟิลล์ในพืชจะต้องนำส่วนใดของพืชมาทดสอบ
ก. ใบ ข. กิ่ง
ค. ดอก ง. ราก
16. การพรวนดินให้ร่วนซุยเป็นประโยชน์ต่อพืชในแง่ใด
ก. การดูดน้ำของรากพืช ข. การลำเลียงน้ำ
ค. การลำเลียงแร่ธาตุ ง. การลำเลียงอาหาร
17. โครงสร้างใดต่อไปนี้ที่มีส่วนสำคัญในการดูดน้ำเข้าสู่รากพืช
ก. ขนราก ข. ปลายสุดของราก
ค. ด้านบนของปลายราก ง. บริเวณที่อยู่ใต้ดิน
18. น้ำในดินสามารถเข้าสู่รากพืชโดยอาศัยกระบวนการใด
ก. ออสโมซิส ข. การดูดซับ
ค. การแพร่ ง. การดูดน้ำโดยตรงของราก
19. การคายน้ำของพืชเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการใด
ก. การหายใจ ข. การลำเลียงอาหาร
ค. การสังเคราะห์ด้วยแสง ง. การลำเลียงน้ำและเกลือแร่
20. เราจะพบปากใบบริเวณใดมากที่สุด
ก. ท้องใบ ข. หลังใบ
ค. รากแก้ว ง. กิ่งและลำต้น
21. เพราะเหตุใดเราจึงควรตัดใบบางส่วนออก
เมื่อต้องการย้ายต้นไม้ไปปลูกที่ใหม่
ก. เพื่อลดการคายน้ำ ข. เพื่อลดน้ำหนักของต้นไม้
ค. เพื่อลดการสังเคราะห์ด้วยแสง ง.
เพื่อกระตุ้นให้พืชสร้างอาหารมากขึ้น
22. ดอกไม้ในข้อใดจัดเป็นดอกครบส่วน
ก. ตำลึง มะลิ ข. กุหลาบ มะลิ
ค. หน้าวัว มะละกอ ง. มะพร้าว มะม่วง
23. เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดของเกสรตัวเมียเราเรียกกระบวนการนี้ว่าอะไร
ก. การปฏิสนธิ ข. การผสมเกสร
ค. การถ่ายละอองเรณู ง. การผสมตามธรรมชาติ
24. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด
ก. ดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกครบส่วน
ข. ดอกไม่ครบส่วนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ค. ดอกครบส่วนเป็นดอกสมบูรณ์เพศด้วย
ง. ดอกไม่สมบูรณ์เพศเป็นดอกครบส่วนเสมอ
25. สิ่งใดไม่มีผลต่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
ก. กลิ่น ข. น้ำ
ค. แสง ง. การสัมผัส
26. การหุบของใบไมยราบเป็นผลเนื่องมาจากสิ่งเร้าชนิดใด
ก. น้ำ ข. แสง
ค. การสัมผัส ง. อุณหภูมิ
27. การหันตามแสงแดดของดอกทานตะวันเป็นผลเนื่องมาจากสิ่งเร้าชนิดใด
ก. น้ำ ข. แสง
ค. การสัมผัส ง. อุณหภูมิ

28. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นเทคนิคการนำเนื้อเยื่อของพืชไปเพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์แล้ว
เจริญเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่าอะไร
ก. วิลลัส ข. เซอรัส
ค. แคลลัส ง. ไมคัส
29. สมบัติของสารข้อใดต่างไปจากข้ออื่น
ก. การติดไฟ ข. การเป็นสนิม
ค. การนำไฟฟ้า ง. ความเป็นกรด - เบส
30. ข้อใดต่อไปนี้จัดเป็นสารเนื้อเดียว
ก. น้ำกะทิ แป้งมันละลายน้ำ ข. ทองคำ นาก
ค. น้ำเชื่อม พริกป่น ง. คอนกรีต ทราย
31. สารในข้อใดจัดเป็นสารละลาย
ก. นำเชื่อม นาก ข. เหล็ก น้ำหมึก
ค. น้ำเกลือ ตะกั่ว ง. น้ำอัดลม ทองแดง
32. นักวิทยาศาสตร์ใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าสารใดเป็นตัวทำละลายในสารละลาย
ก. มีปริมาณสารอยู่มากและมีสถานะเดียวกับสารละลาย
ข. มีปริมาณสารอยู่มาก และมีสถานะต่างจากสารละลาย
ค. มีปริมาณสารอยู่น้อย และมีสถานะเดียวกับสารละลาย
ง. มีปริมาณสารอยู่น้อย และมีสถานะต่างจากสารละลาย
33. นักเรียนคิดว่าจะใช้วิธีใดในการแยกสารบริสุทธิ์ออกจากสารละลาย
ก. ตกผลึก ข.
ระเหยแห้ง
ค. หาจุดเดือด ง. หาจุดหลอมเหลว
34. อุณหภูมิของสารละลายและสารบริสุทธิ์ ขณะเดือดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ก. เหมือนกัน เพราะเป็นสารเนื้อเดียวกัน
ข. เหมือนกัน เพราะมีสมบัติทุกส่วนเหมือนกัน
ค. ต่างกัน สารบริสุทธิ์จะมีอุณหภูมิขณะเดือดคงที่
แต่สารละลายไม่คงที่
ง. ต่างกัน สารบริสุทธิ์จะมีอุณหภูมิขณะเดือดไม่คงที่
แต่สารละลายคงที่

35. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสารเนื้อผสม
ก. มีเนื้อสารและสมบัติต่างกัน
ข. มีสารผสมมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป
ค. ตัวอย่างสารเนื้อผสม เช่น น้ำสลัด น้ำเชื่อม
ง. เป็นสารบริสุทธิ์และมองเห็นเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทุกส่วน
เมื่อนำของผสมที่ประกอบด้วยสาร A, B, C และ D
มาแยกโดยใช้วิธีโครมาโทกราฟีกระดาษและ
ตัวทำละลายที่เหมาะสมได้ผลดังตาราง
สาร ระยะทางที่สารเคลื่อนที่ (cm)
ระยะทางที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่ (cm)
A 3 15
B 5 15
C 7 15
D 9 15

36. ข้อใดสรุปผลการทดลองได้ถูกต้องที่สุด
ก. สาร A ถูกดูดซับได้น้อยที่สุด สาร D ถูกดูดซับได้ดีที่สุด
ข. สาร A ถูกดูดซับได้ดีที่สุด สาร D ถูกดูดซับได้น้อยที่สุด
ค. สาร B ถูกดูดซับได้ปานกลาง สาร D ละลายในตัวทำละลายได้ดีที่สุด
ง. สาร C ละลายในตัวทำละลายได้ดีที่สุด สาร B
ละลายในตัวทำละลายได้ปานกลาง
37. นำของเหลว A จำนวน 20 cm3 ผสมกับของเหลว B 20 cm3
ในหลอดทดลองเขย่าแล้วทิ้งไว้
สักครู่พบว่ามีของเหลว B แยกชั้นอยู่ด้านบน 10 cm3 ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. สารละลายที่เกิดขึ้นมีปริมาตร 25 cm3
ข. ของเหลว A และ B ไม่ละลายซึ่งกันและกัน
ค. สารละลายที่เกิดขึ้นจัดเป็นสารละลายไม่อิ่มตัว
ง. ของเหลว A เป็นตัวทำละลาย ของเหลว B เป็นตัวถูกละลาย
38. ของเหลว A, B และ C แยกบรรจุอยู่ในบีกเกอร์
เมื่อนำของเหลวแต่ละชนิดมาทดสอบบาง
ประการได้ผลดังนี้


สาร ลักษณะที่มองเห็น เมื่อกรองผ่านกระดาษกรอง
เมื่อให้ความร้อนกับของเหลวที่กรองได้จนระเหยหมด
A มีของแข็งขนาดเล็กมากกระจายอยู่ในของเหลว
แยกของแข็งได้และของเหลวที่กรองได้ใส ไม่มีอะไรเหลืออยู่
B เป็นของเหลวขุ่นเล็กน้อย
ของเหลวที่กรองได้ยังคงขุ่นเช่นเดิม มีของแข็งเหลืออยู่
C เป็นของเหลวใสสีเหลืองอ่อน
ของเหลวยังคงใสและมีสีเช่นเดิม ได้ของแข็งสีเหลือง

ข้อใดสรุปเกี่ยวกับชนิดของสารได้ถูกต้อง
ก. A คือสารเนื้อเดียว B คือสารแขวนลอย C คือสารละลาย
ข. A คือคอลลอยด์ B คือสารละลาย C คือสารประกอบ
ค. A คือสารเนื้อผสม B คือสารประกอบ C คือสารบริสุทธิ์
ง. A คือสารแขวนลอย B คือคอลลอยด์ C คือสารละลาย
39. สารผสมชนิดหนึ่งมีลักษณะมองเห็นเป็นสาร 2
ชนิดแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน เมื่อปล่อยทิ้งไว้จะ
ตกตะกอน นักเรียนคิดว่าสารดังกล่าวคือสารในข้อใด
ก. คอลลอยด์
ข. สารละลาย
ค. สารบริสุทธิ์ ง. สารแขวนลอย
40. ถ้าต้องการแยกเกลือโซเดียมคลอไรด์ ออกจากน้ำทะเล ควรใช้วิธีใด
ก. การกลั่น ข. การตกผลึก
ค. การกรอง ง. การควบแน่น
41. สารในข้อใดต่อไปนี้แยกออกจากกันได้โดยอาศัยสมบัติของแม่เหล็ก
ก. พิมเสน + เกลือแกง ข.
ลูกเหม็น + ผงถ่าน
ค. เกลือแกง + น้ำตาลทราย ง. กำมะถัน
+ ผงตะไบเหล็ก
42. วิธีการระเหิดควรนำไปใช้ในการแยกสารในข้อใด
ก. เทียนไข + ถ่าน ข.
น้ำตาล + ผงชูรส
ค. การบูร + เกลือแกง ง.
แป้งมัน + ทราย

43. การเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งกลายเป็นไอเรียกว่าอะไร
ก. การระเหิด ข. การแผ่รังสี
ค. การควบแน่น ง. การคายความร้อน
44. วิธีการใดไม่สามารถนำมาใช้แยกสารเนื้อเดียวได้
ก. การกลั่น
ข. การกรอง
ค. การระเหย
ง. โครมาโทกราฟี
45. ถ้ามีผงตะไบเหล็กปนอยู่กับผงกำมะถัน
นักเรียนจะแยกสารทั้งสองออกจากกันโดยใช้วิธีใด
ก. เขี่ยหรือหยิบออก ข.
แยกโดยใช้แท่งแม่เหล็ก
ค. ละลายน้ำแล้วกรอง ง.
ใช้ตะแกรงร่อนออก
46. นำสีผสมอาหารสีเขียวไปจุดบนกระดาษโครมาโทกราฟีแล้วนำกระดาษไปจุ่มในตัวทำละลายใน
ภาชนะทิ้งไว้สักครู่ได้ผลดังรูป ข้อใดสรุปได้ถูกต้อง
ก. สารสีเหลืองดูดซับได้ดีที่สุด
ข. สารสีฟ้าละลายในตัวทำละลายได้ดี
ค. สีผสมอาหารสีเขียวมีสารองค์ประกอบ 2 ชนิด
ง. สีผสมอาหารสีเขียวจัดเป็นสารไม่บริสุทธิ์
47. สารในข้อใดเมื่อละลายน้ำแล้วจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
ก. สารส้ม ผงซักฟอก ข. น้ำขี้เถ้า น้ำตาล
ค. ดีเกลือ น้ำยาล้างห้องน้ำ ง. น้ำมะนาว
แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์
48. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สมบัติของสารละลายกรด
ก. มีรสเปรี้ยว
ข. มีค่า pH > 7
ค. นำไฟฟ้าได้
ง. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง
49. สารในข้อใดมีสมบัติแตกต่างไปจากสารชนิดอื่น
ก. น้ำนม ข. สบู่เหลว
ค. ผงซักฟอก ง. แชมพู

50. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับสารละลายเบส
ก. มีรสฝาดหรือเฝื่อน
ข. แตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน
ค. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง
ง.
เบสทำปฏิกิริยากับสารละลายแอมโมเนียมไนเตรตได้เกลือโซเดียมคลอไรด์
51. งานมีความหมายสอดคล้องกับข้อใด
ก. เกิดจากการเคลื่อนที่ของวัตถุ
ข. เกิดจากแรงไปกระทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปตามแนวแรง
ค. เกิดจากที่แรงไปกระทำกับวัตถุ
ง. เป็นปริมาณเวกเตอร์มีหน่วยเป็นจูล
52. งานในข้อใดมีค่าเป็นศูนย์
ก. ทิศของแรงและแนวการเคลื่อนที่ตั้งฉากกัน
ข. ทิศของแรงและแนวการเคลื่อนที่มีทิศเดียวกัน
ค. ทิศของแรงและแนวการเคลื่อนที่ทำมุมกัน
ง. ทิศของแรงและแนวการเคลื่อนที่ตรงข้ามกัน
53. การกระทำในข้อใดไม่ถือว่าทำให้เกิดงาน
ก. พายเรือทวนน้ำ
ข. เข็นครกขึ้นภูเขา
ค. ถือของขึ้นบันได
ง. แบกของเดินไปในแนวราบ
54. ข้อใดกล่าวถึงพลังงานไม่ถูกต้อง
ก. เมื่อวัตถุเคลื่อนที่จะเกิดพลังงานจลน์
ข. พลังงานไม่สามารถเปลี่ยนรูปไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้
ค. พลังงานคือความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดงาน
ง. พลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุแปรผันตามระดับความสูงในแนวดิ่ง
55. เด็กชายแดงหิ้วกระเป๋าเดินขึ้นบันไดอย่างช้าๆ
กับวิ่งขึ้นบันไดในระยะทางที่เท่ากัน งานที่เขาทำ
ได้เป็นอย่างไร
ก. ไม่เกิดงาน ข. วิ่งขึ้นได้งานมากกว่า
ค. เดินขึ้นได้งานมากกว่า ง. ได้งานเท่ากัน

56. จงหาพลังงานจลน์ของรถคันหนึ่งที่มีมวล 1,000 กิโลกรัม
ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 30 เมตร /
วินาที
ก. 2,500 จูล ข. 350,000 จูล
ค. 450,000 จูล ง. 550,000 จูล
57. วัตถุมวล 5 กิโลกรัม ตกจากหลังคาสูง 12 เมตร
จะมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงเท่าใด
ก. 300 จูล
ข. 600 จูล
ค. 800 จูล ง. 1,200 จูล
58. เมื่อยืนอยู่ใกล้เตาไฟเราจะรู้สึกร้อน
ลักษณะนี้เป็นการถ่ายโอนพลังงานความร้อนแบบใด
ก. การพาความร้อน ข. การนำความร้อน
ค. การสะท้อนความร้อน ง. การแผ่รังสีความร้อน
59. เพราะอะไรการวางรถไฟจะต้องวางให้มีช่องว่างระหว่างรางแต่ละราง
ก. เพื่อความสะดวกในการก่อสร้าง ข.
ประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางราง
ค. ช่วยลดเสียงเสียดสีเมื่อรถไฟวิ่ง ง.
ป้องกันการขยายตัวหรือหดตัวของโลหะ
C) จะอ่านค่าในเทอร์มอมิเตอร์แบบองศาฟาเรน60.
เทอร์มอมิเตอร์แบบเซลเซียสที่จุดเยือกแข็ง (0
ไฮต์ได้เท่าใด
ก. 0 องศา ข. 32 องศา
ค. 80 องศา ง. 273 องศา
61. อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ถ้าแปลงค่าไปเป็นองศาโรเมอร์
จะอ่านค่าได้เท่าใด
ก. 0 องศา ข. 32 องศา
ค. 80 องศา ง. 273 องศา
62. สมดุลความร้อนหมายถึงข้อใด
ก. สาร 2 ชนิด มีมวลเท่ากัน มีพลังงานความร้อนเท่ากัน
ข. การถ่ายเทความร้อนของสาร 2 ชนิด จนมีอุณหภูมิเท่ากัน
ค. สาร 2 ชนิด ถ่ายเทพลังงานจากสารที่มีมวลมากสู่สารที่มีมวลน้อย
ง. สาร 2 ชนิด ถ่ายเทพลังงานจากสารที่มีมวลน้อยสู่สารที่มีมวลมาก


63. ความร้อนจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่มายังโลกเป็นการถ่ายโอนพลังงานความร้อนด้วยวิธีใด
ก. การพาความร้อน ข. การนำความร้อน
ค. การแผ่รังสีความร้อน ง. การสะท้อนรังสีความร้อน
64. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการถ่ายโอนพลังงานความร้อน
ก. ถ่ายโอนจากวัตถุที่มีมวลมากไปหาวัตถุที่มีมวลน้อย
ข. ถ่ายโอนจากวัตถุที่มีมวลน้อยไปหาวัตถุที่มีมวลมาก
ค. ถ่ายโอนจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำ
ง. ถ่ายโอนจากวัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิสูง
65. ข้อใดไม่จัดเป็นการถ่ายโอนพลังงานความร้อน
ก. การแผ่รังสี ข. การนำความร้อน
ค. การพาความร้อน ง. อุณหภูมิต่ำไปยังอุณหภูมิสูง
66. ในการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำ
เป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานชนิดใดเป็นพลังงานไฟฟ้า
ก. พลังงานกล ข. พลังงานศักย์
ค. พลังงานจลน์ ง. พลังงานความร้อน
67. ข้อใดเป็นปริมาณเวกเตอร์ทั้งหมด
ก. ความเร่ง มวล ข. น้ำหนัก เวลา
ค. ความเร็ว การกระจัด ง. ระยะทาง อัตราเร็ว
68. ชายคนหนึ่งมีการกระจัดไปทางเหนือ 10 เมตร แล้วย้อนมาทางทิศใต้
4 เมตร การกระจัดลัพธ์มี
ค่าเท่าใด
ก. การกระจัดลัพธ์ 6 เมตรทางทิศใต้ ข.
การกระจัดลัพธ์ 6 เมตรทางทิศเหนือ
ค. การกระจัดลัพธ์ 14 เมตรทางทิศใต้ ง.
การกระจัดลัพธ์ 14 เมตรทางทิศเหนือ
จงพิจารณาข้อมูลจากตาราง แล้วนำข้อมูลจากตารางไปใช้ตอบคำถามในข้อที่ 69 – 70
รถยนต์ 5 คันเคลื่อนที่ออกพร้อมกันด้วยความเร็วต่างๆ กัน
จากการอ่านค่าความเร็วของรถ
ทุกๆ 5 วินาทีได้ผลดังตาราง


รถ ความเร็วรถ (เมตร / วินาที)
วินาทีที่ 0 วินาทีที่ 10 วินาทีที่ 15
วินาทีที่ 20 วินาทีที่ 25
A 10 8 6 4 2
B 10 10 10 10 10
C 10 23 10 23 10
D 10 20 30 40 50
E 10 13 18 10 24

69. รถคันใดมีความเร่งเป็นศูนย์
ก. รถ A ข. รถ B
ค. รถ C ง. รถ D
70. รถคันใดมีความเร่งมากที่สุด
ก. รถ A ข. รถ B
ค. รถ C ง. รถ D
71. รถคันหนึ่งออกเดินทางเวลา 8:00 น. เมื่อเวลา 12:00 น.
รถคันนี้เคลื่อนที่ไปได้ 160 กิโลเมตร
อัตราเร็วของรถคันนี้เป็นเท่าใด
ก. 40 กิโลเมตร / ชั่วโมง ข. 50 กิโลเมตร /
ชั่วโมง
ค. 60 กิโลเมตร / ชั่วโมง ง. 70 กิโลเมตร / ชั่วโมง
จงพิจารณาข้อมูลข้างล่างนี้ แล้วนำไปตอบคำถามในข้อที่ 72 – 73
รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือ 6 เมตรในเวลา 3 วินาที
แล้วไปทางทิศตะวันออก
อีก 4 เมตรในเวลา 2 วินาที
72. รถคันนี้มีความเร็วคงที่เท่าใด
ก. 0 เมตร / วินาที2 ข. 1 เมตร / วินาที2
ค. 2 เมตร / วินาที2 ง. 3 เมตร / วินาที2


73. รถคันนี้มีความเร่งเป็นเท่าใด
ก. 2 เมตร / วินาที2 ข. 3 เมตร / วินาที2
ค. 4 เมตร / วินาที2 ง. 5 เมตร / วินาที2
74. ถ้าโลกของเราไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มจะเกิดสิ่งใด
ก. เกิดเมฆ ลม ฝน พายุตลอดเวลา
ข. เครื่องบินและเครื่องร่อนบินอยู่ไม่ได้
ค. ผิวโลกจะเรียบไม่มีหลุมและบ่อเหมือนผิวของดวงจันทร์
ง. โลกจะมีอุณหภูมิสูงตลอดเวลาและอุณหภูมิสูงเท่ากันทั่วโลก
75. แก๊สใดต่อไปนี้ที่ช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต
ก. แก๊สโอโซน ข. แก๊สอาร์กอน
ค. แก๊สออกซิเจน ง. แก๊สไนโตรเจน
76. บรรยากาศชั้นใดที่สะท้อนคลื่นวิทยุระบบ AM
ก. มีโซสเฟียร์ ข. สตราโตสเฟียร์
ค. ไอโอโนสเฟียร์ ง. เอกโซสเฟียร์
77. การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตขึ้นอยู่กับบรรยากาศในชั้นใด
ก. มีโซสเฟียร์ ข. สตราโตสเฟียร์
ค. ไอโอโนสเฟียร์ ง. เอกโซสเฟียร์
78. อากาศจัดเป็นสารชนิดใด
ก. สารบริสุทธิ์ ข. สารประกอบ
ค. สารเนื้อผสม ง. สารเนื้อเดียว
79. อะไรเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้บรรยากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง
ก. ปริมาณ ข. ความสูง
ค. อุณหภูมิ ง. ความหนาแน่น
80. ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส อากาศปริมาตร 12
ลูกบาศก์เมตรมีไอน้ำอยู่ 60 กรัม จะมีค่า
ความชื้นสัมบูรณ์เท่าใด
ก. 3.17 g / m3 ข. 4.92 g / m3
ค. 5.0 g / m3 ง. 5.27 g / m3
81. การเปรียบเทียบความชื้นของอากาศในวันที่ 12 และ 13 มีนาคม
2549 โดยใช้ไฮกรอมิเตอร์แบบ
กระเปาะเปียกและกระเปาะแห้ง พบว่ามีอุณหภูมิดังตาราง
วันที่ อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส)
กระเปาะเปียก กระเปาะแห้ง
12 มีนาคม 2549 26 30
13 มีนาคม 2549 32 36

จากข้อมูลข้างต้นข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
ก. ทั้ง 2 วัน อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ไม่แตกต่างกัน
ข. วันที่ 12 อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่าวันที่ 13
ค. วันที่ 12 อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์มากกว่าวันที่ 13
ง. ไม่สามารถสรุปและบอกอะไรได้ เพราะข้อมูลไม่เพียงพอ
82. ถ้าบริเวณใกล้เคียงจังหวัดกรุงเทพฯ
มีความกดอากาศสูงและอากาศเย็นกว่า จะส่งผลให้
กรุงเทพฯ มีลักษณะภูมิอากาศเป็นอย่างไร
ก. อุณหภูมิต่ำ ข. อุณหภูมิสูงขึ้น
ค. ไม่เปลี่ยนแปลง ง. เกิดพายุ ฝนฟ้าคะนอง
83. บรรยากาศชั้นที่มนุษย์อาศัยอยู่ คือบรรยากาศชั้นใด
ก. ไอโอโนสเฟียร์ ข. มีโซสเฟียร์
ค. โทรโพสเฟียร์ ง. สตราโตสเฟียร์
84. ในช่วงระดับความสูงจากน้ำทะเล 0-10 กิโลเมตร
อุณหภูมิของอากาศเป็นอย่างไร
ก. อุณหภูมิมีค่าคงที่ตลอด ข.
อุณหภูมิแปรผันตามระดับความสูง
ค. อุณหภูมิแปรผกผันกับระดับความสูง ง.
อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
85. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. เวลากลางวันพื้นดินจะดูดกลืนพลังงานความร้อนได้น้อยกว่าพื้นน้ำ
ข. เวลากลางวันพื้นดินจะดูดกลืนพลังงานความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำ
ค. เวลากลางคืนพื้นดินจะคายพลังงานความร้อนได้ช้ากว่าพื้นน้ำ
ง. เวลากลางคืนพื้นน้ำจะคายพลังงานความร้อนได้เร็วกว่าพื้นดิน

86. บริเวณใดต่อไปนี้น่าจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเวลากลางวัน
ก. สวนผลไม้ ข. สนามหญ้า
ค. ทุ่งนาที่มีน้ำขัง ง.
ที่โล่งแจ้งที่มีพื้นเป็นทราย
87. สิ่งใดต่อไปนี้ทำให้เกิดลม
ก. ความแตกต่างของแรงดันอากาศ ข.
ความแตกต่างของปริมาตรอากาศ
ค. ความแตกต่างของความชื้นอากาศ ง.
ความแตกต่างของหย่อมความกดอากาศ
88. การเคลื่อนที่ของลมมีทิศทางการเคลื่อนที่เป็นอย่างไร
ก. จากหย่อมความกดอากาศสูงไปสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ
ข. จากบริเวณความกดอากาศต่ำไปสู่หย่อมความกดอากาศสูง
ค. จากบริเวณความกดอากาศต่ำไปสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ
ง. จากหย่อมความกดอากาศสูงไปสู่บริเวณความกดอากาศสูง
89. เพราะเหตุใดเราจึงรู้สึกเหนียวตัวเมื่อมีอากาศร้อน
ก. อากาศมีไอน้ำน้อย ข. น้ำในร่างกายระเหยออกได้ช้า
ค. น้ำในร่างกายระเหยออกได้เร็ว ง.
ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ
90. ลมบก ลมทะเลเกิดขึ้นได้อย่างไร
ก. เวลากลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิเท่ากัน
ข. อุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำเท่ากัน
ค. ความกดอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำแตกต่างกัน
ง.
พื้นดินและพื้นน้ำรับและคายพลังงานความร้อนได้แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา
91. ข้อใดต่อไปนี้สามารถตากผ้าได้แห้งเร็วกว่าข้ออื่น
ก. บริเวณที่มีอากาศชื้น ไม่มีแสงแดด
ข. บริเวณที่มีท้องฟ้ามืดครึ้ม ลมพัดเล็กน้อย
ค. บริเวณที่มีแสงแดดจัด ลมพัดแรง
ง. บริเวณที่มีท้องฟ้าโปร่ง ลมพัดเล็กน้อย
92. ลมชนิดใดมีความเร็วลมต่ำสุด
ก. ไต้ฝุ่น ข. โซนร้อน
ค. ไซโคลน ง. ดีเปรสชัน
93. บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ การเคลื่อนที่ของกระแสลมเป็นอย่างไร
ก. พัดเวียนออกจากศูนย์กลาง ตามเข็มนาฬิกา
ข. พัดเวียนออกจากศูนย์กลาง ทวนเข็มนาฬิกา
ค. พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง ตามเข็มนาฬิกา
ง. พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง ทวนเข็มนาฬิกา
94. เครื่องมือในการวัดความเร็วลมเรียกว่าอะไร
ก. ศรลม ข. บารอมิเตอร์
ค. ไฮกรอมิเตอร์ ง. อะนิโมมิเตอร์
95. ในแผนที่อากาศตัวอักษร H และ L แสดงการเคลื่อนที่ของลมอย่างไร
ก. พัดจาก H ไปหา L ข. พัดจาก L ไปหา H
ค. พัดเข้าหา H และ L ง. พัดออกจาก H และ L
96. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ลมเกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศทั้งในแนวดิ่งและแนวระดับ
ข. ถ้าหัวลูกศรของศรลมชี้ไปทางทิศเหนือแสดงว่าลมพัดมาทางทิศเหนือ
ค.
ลมจะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำไปสู่บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่า
ง. บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ
กระแสลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในทิศทางตามเข็ม
นาฬิกา
97. ถ้าในช่วงเวลาที่ผ่านมาอากาศร้อนอบอ้าวและมีเมฆก่อตัวเต็มท้องฟ้า
เราอาจคาดคะเนสภาพ
อากาศล่วงหน้าว่าอย่างไรจึงจะใกล้เคียงที่สุด
ก. ฝนจะตก ข. อาจจะมีพายุ
ค. จะเกิดฟ้าหลัว ง. อุณหภูมิจะลดลง
98. สารในข้อใดที่มีส่วนไปทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศของโลกให้ลดลง
ก. คาร์บอน ข. คลอรีน
ค. ฟลูออรีน ง. คลอโรฟลูออโรคาร์บอน
99. ข้อใดไม่จัดเป็นการป้องกันมลพิษทางอากาศ
ก. การปลูกป่าทดแทน ข. การปลูกต้นไม้ตามถนน
ค. การใช้น้ำมันชนิดเพิ่มค่าออกเทน ง.
การรักษาความสะอาดแหล่งน้ำต่างๆ
100. แก๊สในข้อใดมีลักษณะไม่มีกลิ่น ไม่มีสี
เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงรวมตัวกับ
ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจน
ถ้าร่างกายได้รับปริมาณมากจะเกิดอันตรายต่อ
ร่างกาย
ก. แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ข. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ค. แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ ง. แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์

________________________________________


ชุดที่ 1
เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำชี้แจง ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ (100 คะแนน)
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ง. 2. ค. 3. ค. 4.
ก. 5. ก.
6. ก. 7. ข. 8. ง. 9.
ข. 10. ค.
11. ง. 12. ง. 13. ข. 14.
ข. 15. ก.
16. ก. 17. ก. 18. ก. 19.
ง. 20. ข.21. ก. 22. ข.
23. ค. 24. ค. 25. ก.26. ค.
27. ข. 28. ค. 29. ค.
30. ข.
31. ก. 32. ก. 33. ก. 34.
ค. 35. ก.
36. ข. 37. ข. 38. ง. 39.
ง. 40. ข.
41. ง. 42. ค. 43. ก. 44.
ข. 45. ข.
46. ง. 47. ง. 48. ข. 49.
ก. 50. ก.
51. ข. 52. ก. 53. ง. 54.
ข. 55. ข.
56. ค. 57. ข. 58. ก. 59.
ง. 60. ข.
61. ค. 62. ข. 63. ค. 64.
ค. 65. ง.
66. ค. 67. ค. 68. ข. 69.
ข. 70. ง.
71. ก. 72. ค. 73. ก. 74.
ง. 75. ก.
76. ค. 77. ข. 78. ง. 79.
ค. 80. ค.
81. ข. 82. ก. 83. ค. 84.
ค. 85. ข.
86. ง. 87. ง. 88. ก. 89.
ข. 90. ง.
91. ค. 92. ง. 93. ค. 94.
ง. 95. ก.
96. ข. 97. ก. 98. ง. 99.
ง. 100. ค.

ชุด 2
ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำชี้แจง ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ (100 คะแนน)
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ข้อมูลใดที่ได้จากการสังเกตด้วยตา
ก. ไฟไหม้กลิ่นควันไฟคลุ้งทั่วผืนป่า
ข. ต้มยำกุ้งชามนี้มีรสเปรี้ยวและเผ็ดมาก
ค. กล้วยไม้มีสีม่วงปนขาว ออกดอกเป็นพวง
ง. รายงานข่าวโทรทัศน์รายงานว่าจะมีพายุและฝนตกหนัก
2. ข้อใดเป็นข้อมูลที่ได้จากการใช้ประสาทสัมผัสทางผิวหนัง
ก. เมื่อต้มน้ำจนเดือดจะมีไอน้ำเกิดขึ้น
ข. น้ำในแก้วใบสีขาวเย็นกว่าใบสีเขียว
ค. ดอกมะลิมีกลิ่นหอมมากกว่าดอกกุหลาบ
ง. เมื่อเผากระดาษจะมีเปลวไฟและเขม่าควันเกิดขึ้น
3. หน่วยที่ใช้วัดน้ำหนักคืออะไร
ก. เมตร ข. กรัม
ค. เซนติเมตร ง. ลูกบาศก์เมตร
4. ถ้านักเรียนต้องการวัดอุณหภูมิของร่างกาย
นักเรียนควรเลือกใช้เครื่องมือชนิดใด
ก. ปรอท ข. เครื่องชั่ง
ค. ผิวสัมผัส ง. เทอร์มอมิเตอร์
5. อุปกรณ์ในข้อใดเหมาะกับการนำไปใช้วัดปริมาตรของของเหลว
ก. บีกเกอร์ ข. หลอดหยด
ค. หลอดฉีดยา ง. กระบอกตวง
6. ประสาทสัมผัสส่วนใดมีความไวมากที่สุด
ก. หลังมือ ข. ต้นคอ
ค. ใบหน้า ง. ปลายนิ้ว
7. ขั้นตอนแรกในกระบวนการศึกษาวิทยาศาสตร์คืออะไร
ก. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล ข. สรุปผลและเขียนรายงาน
ค. ตั้งสมมติฐานและทดลอง ง. สังเกตและตั้งปัญหา
8. เราควรปฏิบัติตามข้อใดเพื่อให้สอดคล้องกับกฎแห่งความปลอดภัยในการทดลองทาง
วิทยาศาสตร์
ก. สวมแว่นตานิรภัยทุกครั้ง ข.
ไม่นำอาหารเข้ามารับประทาน
ค. ของใช้ประจำตัวให้วางที่นี่ ง.
ห้ามพูดคุยส่งเสียงรบกวนผู้อื่น
จงพิจารณาข้อมูลข้างล่างนี้ แล้วนำไปตอบคำถามในข้อที่ 9 – 10

จากการสำรวจความสามารถในการได้ยินเสียงที่ระยะไกลสุดจากแหล่งกำเนิดเสียงของ
นักเรียนห้องหนึ่ง ได้ผลดังนี้
จำนวนนักเรียน (คน) ระยะห่างไกลสุด (เมตร)
5 45
10 50
20 55
30 60
15 65
10 70

9. นักเรียนส่วนใหญ่ได้ยินเสียงที่ระยะไกลสุดกี่เมตร
ก. 45 เมตร ข. 55 เมตร
ค. 60 เมตร ง. 70 เมตร
10. ในการทดลองครั้งนี้มีนักเรียนในห้องจำนวนกี่คน
ก. 30 คน ข. 60 คน
ค. 75 คน ง. 90 คน
11. เซลล์เยื่อหอมและเซลล์สาหร่ายหางกระรอกต่างกันอย่างไร
ก. เซลล์สาหร่ายหางกระรอกมีผนังเซลล์ แต่เซลล์เยื่อหอมไม่มี
ข. เซลล์สาหร่ายหางกระรอกมีเยื่อหุ้มเซลล์ แต่เซลล์เยื่อหอมไม่มี
ค. เซลล์สาหร่ายหางกระรอกมีคลอโรพลาสต์ แต่เซลล์เยื่อหอมไม่มี
ง. เซลล์สาหร่ายหางกระรอกมีเซลล์คุมมากมาย แต่เซลล์เยื่อหอมไม่มี
12. โครงสร้างใดต่อไปนี้ ไม่พบในเซลล์สัตว์
ก. ผนังเซลล์ ข. ไรโบโซม
ค. นิวเคลียส ง. สารพันธุกรรม
13. โครงสร้างใดที่มีความสำคัญที่สุดของเซลล์สิ่งมีชีวิต
ก. นิวเคลียส ข. เยื่อหุ้มเซลล์
ค. ผนังเซลล์ ง. ไซโทพลาซึม
14. สิ่งใดที่พบในเซลล์สัตว์แต่ไม่พบในเซลล์พืช
ก. ผนังเซลล์ ข. เยื่อหุ้มเซลล์
ค. นิวเคลียส ง. เซนทริโอล
15. การแพร่ (Diffusion) หมายถึงข้อใด
ก. การเคลื่อนที่ของอนุภาคจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อยไปมาก
ข. การเคลื่อนที่ของอนุภาคจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมากไปน้อย
ค. การเคลื่อนที่ของอนุภาคของสารในลักษณะอิสระโดยผ่านเยื่อเลือกผ่าน
ง.
การเคลื่อนที่ของอนุภาคในลักษณะแนวเส้นตรงโดยไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง
16. รากพืชดูดน้ำโดยวิธีใดมากที่สุด
ก. การแพร่ ข. ออสโมซิส
ค. การดูดซับ ง. การลำเลียง
17. ปัจจัยใดไม่เกี่ยวข้องในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ก. น้ำ ข. แสง
ค. แวคิวโอล ง. คาร์บอนไดออกไซด์


18. เมื่อปลูกต้นไม้ในห้องมืด
เพราะเหตุใดเมื่อเวลาผ่านไปต้นไม้จึงค่อยๆ เหี่ยวเฉาและตายในที่สุด
ก. ขาดแสงแดด ข. ขาดแก๊สออกซิเจน
ค. ขาดน้ำและแร่ธาตุ ง. ขาดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
19. การสังเคราะห์ด้วยแสงคือข้อใด
ก. กระบวนการสร้างอาหารของพืช
ข. กระบวนการคายความร้อนของพืช
ค. กระบวนการเปลี่ยนพลังงานความร้อน
ง. กระบวนการเปลี่ยนพลังงานจลน์เป็นพลังงานศักย์
20. พลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ถูกพืชดูดไว้ถูกนำไปใช้ในกระบวนการใด
ก. หายใจ ข. คายน้ำ
ค. สร้างอาหาร ง. สร้างเนื้อเยื่อ
21. อาหารที่พืชสร้างขึ้นเป็นอันดับแรกในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคืออะไร
ก. แป้ง ข. ไขมัน
ค. โปรตีน ง. น้ำตาล
22. ถ้าพืชขาดแร่ธาตุชนิดใดจะทำให้ยอดเน่า รากเน่า ใบแก่เหลืองซีด
ก. ฟอสฟอรัส ข. ไนโตรเจน
ค. แมกนีเซียม ง. กำมะถัน
23. ถ้านำดอกไม้มาปักแจกัน
ควรทำอย่างไรจึงจะทำให้ดอกไม้ยังคงความสดอยู่ได้นาน
ก. ไม่ควรตัดก้านดอกไม้
ข. ตัดก้านดอกไม้ก่อนนำมาปักแจกัน
ค. ตัดก้านดอกไม้ใต้น้ำก่อนนำมาปักแจกัน
ง. ริดใบไม้ออกให้หมดเพื่อป้องกันการคายน้ำ
24. ข้อใดเป็นการกระตุ้นทำให้พืชมีการดูดน้ำมากขึ้น
ก. การหายใจ ข. การคายน้ำ
ค. การถ่ายละอองเรณู ง. การปฏิสนธิ


25. ส่วนประกอบของดอกไม้ในข้อใดที่อยู่ส่วนนอกสุด
ก. กลีบดอก ข. กลีบเลี้ยง
ค. เกสรตัวผู้ ง. เกสรตัวเมีย
26. การปฏิสนธิของดอกไม้จะเกิดขึ้นเมื่อใด
ก. ผนังรังไข่เจริญไปเป็นผล ข.
ไข่อ่อนเจริญไปเป็นเมล็ด
ค. ละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมีย ง.
เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียเข้าผสมกัน
27. ข้อใดต่อไปนี้เป็นขั้นตอนในการผสมพันธุ์ของพืชดอกที่ถูกต้อง
ก. ไซโกต → การปฏิสนธิ → เอมบริโอ
ข. การถ่ายละอองเรณู → การปฏิสนธิ → การงอกของละอองเรณู
ค. การถ่ายละอองเรณู → การงอกของละอองเรณู → การปฏิสนธิ
ง. การงอกของละอองเรณู → การถ่ายละอองเรณู → การปฏิสนธิ
28. องค์ประกอบสำคัญของดอกสมบูรณ์เพศคือสิ่งใด
ก. มีกลีบเลี้ยงและเกสรตัวผู้ ข.
มีกลีบดอกและเกสรตัวเมีย
ค. มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ง.
มีกลีบเลี้ยง กลีบดอก และเกสรตัวผู้
29. ส่วนใดของดอกที่ทำหน้าที่ในการล่อแมลง
ก. กลีบดอก ข. กลีบเลี้ยง
ค. ก้านชูดอก ง. ฐานรองดอก
30. การขยายพันธุ์พืชวิธีใดที่ ใช้เวลาไม่นาน
และได้จำนวนต้นไม้ที่งอกขึ้นใหม่จำนวนมากและเป็น
วิธีที่ไม่ยุ่งยาก
ก. การติดตา ข. การตอนกิ่ง
ค. เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ง. เพาะพันธุ์ด้วยเมล็ด
31. สารในข้อใดต่อไปนี้ที่โมเลกุลของสารจะอยู่ชิดกันและยึดกันแน่น
ก. แอลกอฮอล์ ข. น้ำส้มสายชู
ค. เกล็ดน้ำแข็ง ง. กำมะถัน


32. อนุภาคของแก๊สจะมีการจัดเรียงตามข้อใด
ก. จับตัวอย่างหลวมๆ เคลื่อนไหวได้ยาก
ข. จับตัวอย่างหลวมๆ เคลื่อนไหวได้ง่าย
ค. จับตัวกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวมีค่ามาก เคลื่อนไหวยาก
ง. อยู่อย่างกระจัดกระจาย อนุภาคการเคลื่อนที่อิสระ
33. ทองในข้อใดจัดเป็นสารบริสุทธิ์
ก. ทองเหลือง ข. ทองคำเปลว
ค. ทองรูปพรรณ ง. ทองบรอนซ์
34. เมื่อใส่สาร ก ลงไปในสาร ข เขย่าแล้วทิ้งไว้สักครู่
ปรากฏว่าสาร ก หายไป ดังนั้น สาร ก คือ
สารชนิดใด
ก. สารละลาย ข. ตัวทำละลาย
ค. ตัวถูกละลาย ง. ตัวหลอมละลาย
35. จากข้อ 34 สาร ข คือสารชนิดใด
ก. สารละลาย ข. ตัวทำละลาย
ค. ตัวถูกละลาย ง. ตัวหลอมละลาย
36. ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากข้อ 34 เรียกว่าอะไร
ก. สารละลาย ข. ตัวทำละลาย
ค. ตัวถูกละลาย ง. ตัวหลอมละลาย
37. มีสารอยู่ 3 ชนิดผสมกันอยู่ สาร ก 30% สาร ข 20% สาร ค 50%
สารใดเป็นตัวทำละลาย
ก. สาร ก อย่างเดียว ข. สาร ข อย่างเดียว
ค. สาร ค อย่างเดียว ง. สาร ก และสาร ค
38. ผลึกเกิดจากสารที่มีลักษณะอย่างไร
ก. สารละลายอิ่มตัว ข. สารละลายเข้มข้น
ค. สารละลายเจือจาง ง. สารละลายที่อุณหภูมิสูง
39. คอลลอยด์ชนิดใดต่อไปนี้มีสารตัวกลางแตกต่างจากข้ออื่น
ก. นมสด ข. น้ำสลัด
ค. สีทาบ้าน ง. ฟองอากาศในน้ำ
40. สารในข้อใดจัดเป็นสารเนื้อเดียว
ก. วุ้น ข. โคลน
ค. หมอก ง. น้ำเชื่อม
41. หากต้องการทดสอบความเป็นกรด - เบสของสาร
จะใช้วิธีการทดสอบใดจึงจะง่ายที่สุด
ก. ทดสอบสมบัติการนำไฟฟ้า
ข. ทดสอบโดยการทำปฏิกิริยากับหินปูน
ค. ทดสอบโดยทำปฏิกิริยากับโลหะหรืออโลหะ
ง. ทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสหรือกระดาษยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์
42. สารในข้อใดนำมาใช้ในการแช่ผลไม้เพื่อให้มีความแข็ง
ก. โซเดียมไฮดรอกไซด์ ข. แคลเซียมไฮดรอกไซด์
ค. โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ง. แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์
43. การแบ่งชนิดของสารเป็นสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสมโดยใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจัดจำแนก
ก. อนุภาคของสาร ข. การนำไฟฟ้า
ค. สมบัติทุกส่วนของสาร ง. ความสามารถในการละลาย
44. นักเรียนจะแยกน้ำมันในน้ำด้วยวิธีใดจึงจะง่ายและเร็วที่สุด
ก. การต้ม ข. การกลั่น
ค. การใช้กรวยแยก ง. โครมาโทกราฟี
45. กรดใดต่อไปนี้เป็นกรดที่ได้จากพืชทั้งหมด
ก. น้ำมะนาว กรดไนตริก ข. น้ำมะนาว กรดแอซีติก
ค. น้ำมะขาม กรดซัลฟิวริก ง. น้ำมะขาม
กรดไฮโดรคลอริก
46. การกระทำในข้อใดที่มีผลทำให้เกิดงาน
ก. นำดอกไม้ไปปักในแจกัน ข. เดินจูงรถจักรยานไปบนถนน
ค. ยืนกางร่มขณะฝนกำลังตก ง.
ออกแรงผลักต้นไม้ขนาดใหญ่

47. งานสามารถหาได้จากความสัมพันธ์ในข้อใด
ก. แรง x ระยะทาง
ข. มวล x ระยะทาง
ค. แรง x ระยะทางที่ตั้งฉากกับแนวแรง
ง. มวล x ระยะทางที่ตั้งฉากกับแนวแรง
48. ชายคนหนึ่งออกแรงแบกวัตถุ 100 นิวตัน แล้วเดินขึ้นบันไดสูง 5
เมตร จงหางานที่ชายคนนี้ทำ
ก. 500 จูล ข. 1,500 จูล
ค. 2,050 จูล ง. 2,500 จูล
49. ดึงวัตถุด้วยแรงขนาด 200 นิวตัน ในแนวดิ่ง
ถ้าวัตถุขึ้นได้สูงจากพื้นดิน 2 เมตร ค่าของงานเป็น
เท่าใด
ก. 100 จูล ข. 200 จูล
ค. 400 จูล ง. 800 จูล
50. เมื่อเอาค้อนทุบเหล็กปรากฏว่าเกิดความร้อนที่เหล็ก
พลังงานที่เปลี่ยนมาเป็นพลังงานความร้อน
คืออะไร
ก. พลังงานกล ข. พลังงานเคมี
ค. พลังงานแสง ง. พลังงานเสียง
51. จากข้อ 50 เมื่อเอามือจับเหล็กแล้วรู้สึกร้อน
ความร้อนในวัตถุเกิดจากอะไร
ก. การสั่นของอากาศ ข. การสั่นของสปริง
ค. การสั่นของโมเลกุล ง. การสั่นของแผ่นโลหะ
52. ถ้าเอาแอมโมเนียมไนเตรตผสมกับแคลซียมไฮดรอกไซด์แล้วได้แก๊สแอมโมเนียมีกลิ่นฉุน
อุณหภูมิลดลงจากเดิม 15 องศาเซลเซียส
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาชนิดใด
ก. การแผ่รังสีความร้อน ข. การดูดความร้อน
ค. การคายความร้อน ง. การเก็บความร้อน
53. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า
ก. เปิดวิทยุได้ยินเสียงเพลง ข.
กดสวิตซ์ไฟฟ้าแล้วหลอดไฟสว่าง
ค. เปิดตู้เย็นหยิบน้ำอัดลมมาเปิดฝา ง.
ถีบจักรยาน ไฟหน้ารถจึงจะสว่าง

54. ข้อใดเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานความร้อนที่สำคัญและใหญ่ที่สุด
ก. ความร้อนจากภายในโลก ข. ความร้อนจากปฏิกิริยาเคมี
ค. ความร้อนจากบรรยากาศ ง. ความร้อนจากดวงอาทิตย์
55. อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส สามารถแปลงได้เป็นกี่องศาเคลวิน (K)
ก. 300 องศา ข. 310 องศา
ค. 320 องศา ง. 330 องศา
56. สมดุลความร้อนหมายถึงข้อใด
ก. อุณหภูมิคงที่ของวัตถุแต่ละชนิด
ข. อุณหภูมิของวัตถุ 2 ชนิดที่เท่ากันมาสัมผัสกัน
ค. วัตถุ 2
ชนิดมีอุณหภูมิต่างกันมาแตะกันจนมีอุณหภูมิทั้งสองเท่ากัน
ง.
อุณหภูมิที่แสดงว่าวัตถุสามารถรับพลังงานความร้อนได้มากน้อยเท่าใด
57. พลังงานความร้อนมีการถ่ายเทอย่างไร
ก. อุณหภูมิต่ำไปสู่อุณหภูมิสูง ข.
อุณหภูมิสูงไปสู่อุณหภูมิต่ำ
ค. จากวัตถุมวลน้อยไปสู่วัตถุมวลมาก ง.
จากวัตถุมวลมากไปสู่วัตถุมวลน้อย
58. ตัวเลขบอกอุณหภูมิในหน่วยเคลวิน (K) กับหน่วยองศาเซลเซียส (C)
ต่างกันเท่าใดเสมอ
ก. 80 ข. 90
ค. 100 ง. 273
59. การกระทำในข้อใดที่แสดงถึงการนำความรู้เรื่องการถ่ายโอนพลังงานความร้อนไปใช้ในชีวิต
ประจำวัน
ก. สดใสนำปลาไปย่างกลางแดดจัด ข.
พิภพสร้างบ้านทรงยุโรปปิดทึบ
ค. ปรีชาทำสระน้ำล้อมบ้านทรงไทย ง.
นิสิตมุงหลังคาบ้านด้วยสังกะสี
60. สารในสถานะแก๊สเมื่อกลายเป็นของเหลวเรียกว่าอะไร
ก. การเดือด ข. การควบแน่น
ค. การหลอมเหลว ง. การกลายเป็นไอ
61. ปริมาณใดต่อไปนี้ไม่ใช่ปริมาณเวกเตอร์
ก. อัตราเร็ว ข. ความเร่ง
ค. ความเร็ว ง. การกระจัด
62. รถยนต์คันหนึ่งแล่นด้วยความเร็วค่าหนึ่งได้ระยะทาง 36
กิโลเมตร ใช้เวลา 30 นาที เขาขับรถ
ด้วยอัตราเร็วเฉลี่ยเท่าไร
ก. 5 เมตร / วินาที ข. 10 เมตร / วินาที
ค. 15 เมตร / วินาที ง. 20 เมตร / วินาที
63. รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงจากเดิมอยู่นิ่งและเร่งจนมีความเร็ว
20 เมตร / วินาที
ในช่วงเวลา 5 วินาที จงหาความเร่งของรถคันนี้
ก. 2 เมตร / วินาที2 ข. 4 เมตร / วินาที2
ค. 6 เมตร / วินาที2 ง. 8 เมตร / วินาที2
64. รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วต้น 40 เมตร
/ วินาที แล้วเบรกจนหยุดนิ่งใน
ช่วงเวลา 8 วินาที จงหาความเร่งของรถคันนี้
ก. -5 เมตร / วินาที2 ข. 5 เมตร / วินาที2
ค. -4 เมตร / วินาที2 ง. 4 เมตร / วินาที2
65. รถยนต์คันหนึ่งวิ่งด้วยความเร็ว 40 เมตร / วินาที
แล้วลดความเร็วลงจนหยุดนิ่งในเวลา 20
วินาที ดังนั้นความเร่งเป็นเท่าใด
ก. 1 เมตร / วินาที2 ข. -1 เมตร/ วินาที2
ค. 2 เมตร / วินาที2 ง. -2 เมตร / วินาที2
66. ข้อใดเป็นความหมายของแรง
ก. สิ่งที่ทำให้วัตถุมีความเร่ง
ข. การเปลี่ยนแปลงความเร็ว
ค. การเปลี่ยนแปลงการกระจัด
ง.
สิ่งที่กระทำต่อวัตถุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่หรือลักษณะรูปร่าง
67. ข้อใดหมายถึงแรงเสียดทานจลน์
ก. แรงที่มีทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่
ข. แรงที่มีทิศทางคู่ขนานกับการเคลื่อนที่
ค. แรงต้านการเคลื่อนที่ขณะที่วัตถุหยุดนิ่ง
ง. แรงต้านการเคลื่อนที่ขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่

68. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับแรงเสียดทานสถิตและแรงเสียดทานจลน์ในวัตถุก้อนเดียวกัน
ก. มีค่าแรงเสียดทานเท่ากัน ข.
แรงเสียดทานสถิตมีค่ามากกว่า
ค. แรงเสียดทานจลน์มีค่ามากกว่า ง.
ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นผิว
69. สาร PTFE หรือเทฟลอนที่นำไปฉาบบนผิวกระทะเพื่อประโยชน์ใดเป็นสำคัญ
ก. เพื่อให้เกิดความลื่น ข. ช่วยนำความร้อนได้ดี
ค. ป้องกันมิให้เกิดสนิม ง. ขจัดควันจากการเผาไหม้
70. ข้อใดต่อไปนี้เป็นปริมาณเวกเตอร์
ก. อัตราเร็ว ข. ปริมาตร
ค. ความเร็ว ง. อุณหภูมิ
71. วัตถุชิ้นหนึ่งมีมวล 5 กิโลกรัม วัตถุชิ้นนี้หนักเท่าใด
ก. 5 นิวตัน ข. 50 นิวตัน
ค. 490 นิวตัน ง. 4900 นิวตัน
72. วัตถุมวล 1 กิโลกรัมวางอยู่บนโต๊ะซึ่งสูงจากพื้น 1.50 เมตร
พลังงานศักย์มีค่าเท่าใด
ก. 10 จูล ข. 15 จูล
ค. 20 จูล ง. 25 จูล
73. ปล่อยแท่งเหล็กมวล 2 กิโลกรัม และดินสอมวล 0.2
กิโลกรัมพร้อมกันจากตึกสูง 20 เมตร
ปรากฏว่าแท่งเหล็กและดินสอตกถึงพื้นพร้อมกัน เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
ก. แรงลัพธ์ที่กระทำต่อแท่งเหล็กและดินสอเท่ากัน
ข. แท่งเหล็กและดินสอเคลื่อนที่ด้วยความเร่งเท่ากัน
ค. แรงลัพธ์ที่กระทำต่อแท่งเหล็กและดินสอเป็นศูนย์
ง. แท่งเหล็กและดินสอเคลื่อนที่ด้วยความเร่งเท่ากับศูนย์
74. ข้อใดไม่ใช่แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาตามกฎข้อที่ 3 ของนิวตัน
ก. ต้องมีขนาดเท่ากัน
ข. ต้องกระทำต่อวัตถุต่างกัน
ค. ต้องกระทำต่อวัตถุเดียวกัน
ง. แนวกระทำของแรงทั้งสองอยู่ในแนวเดียวกัน
75. บรรยากาศคือข้อใด
ก. สภาพแวดล้อมรอบโลก ข. สิ่งที่มองเห็นเป็นท้องฟ้า
ค. อากาศเหนือก้อนเมฆทั้งหมด ง.
อากาศที่อยู่รอบตัวเราและห่อหุ้มโลก
76. ส่วนประกอบของอากาศจะมีความแตกต่างกันอย่างไร
ก. ตามเวลาและสถานที่ ข. ตามเวลาและปริมาตร
ค. ตามเวลาและความดัน ง. ตามสถานที่และความดัน
77. แก๊สชนิดใดที่มีในอากาศน้อยที่สุด
ก. อาร์กอน ข. ไนโตรเจน
ค. ออกซิเจน ง. คาร์บอนไดออกไซด์
78. บรรยากาศชั้นที่มีเมฆ หมอก ฝน และพายุ มีระดับความสูงจากพื้นดินไปเท่าใด
ก. 10 กิโลเมตร ข. 20 กิโลเมตร
ค. 30 กิโลเมตร ง. 40 กิโลเมตร
79. บริเวณที่สูงขึ้นไปจากผิวโลก อากาศจะมีลักษณะอย่างไร
ก. ความหนาแน่นลดลง ความดันลดลง
ข. ความหนาแน่นลดลง ความดันเพิ่มขึ้น
ค. ความหนาแน่นเพิ่มขึ้น ความดันลดลง
ง. ความหนาแน่นเพิ่มขึ้น ความดันเพิ่มขึ้น
80. ความดัน 1 บรรยากาศคือความดันอากาศที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลเท่าใด
ก. 0 กิโลเมตร ข. 1 กิโลเมตร
ค. 2 กิโลเมตร ง. 3 กิโลเมตร
81. ข้อใดกล่าวถึงบรรยากาศใกล้ผิวโลกถูกต้อง
ก. ความสูงน้อย อุณหภูมิต่ำ ข.
ความสูงมาก อุณหภูมิสูง
ค. ความสูงน้อย ความดันน้อย ง.
ความสูงมาก ความดันน้อย
82. บรรยากาศชั้นที่เราอาศัยอยู่เรียกว่าชั้นอะไร
ก. เทอร์โมสเฟียร์ ข. มีโซสเฟียร์
ค. โทรโพสเฟียร์ ง. สตราโตสเฟียร์

83. ลักษณะสำคัญของบรรยากาศชั้นที่เราอาศัยอยู่เป็นอย่างไร
ก. อุณหภูมิคงที่อยู่ตลอดเวลา ข.
อุณหภูมิเพิ่มเมื่อความสูงเพิ่ม
ค. อุณหภูมิลดลงเมื่อความสูงเพิ่ม ง.
อุณหภูมิลดลงเมื่อความสูงลดลง
84. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้อุณหภูมิของอากาศแตกต่างกัน
ก. ระดับความสูง ข. เมฆปกคลุมท้องฟ้า
ค. แกนโลกที่เอียง ง. ความหนาแน่นของธาตุ
85. เพราะเหตุใดพื้นที่สูงๆ อากาศจะดูดซับความร้อนไว้ได้มาก
ก. อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ ข. มีไอน้ำฝุ่นละอองน้อย
ค. ไม่มีก้อนเมฆมาบดบัง ง. อากาศมีความหนาแน่นมาก
86. เครื่องมือที่ใช้วัดความดันอากาศคือข้ออะไร
ก. บารอมิเตอร์ ข. อะนิโมมิเตอร์
ค. แอลติมิเตอร์ ง. ไฮกรอมิเตอร์
87. ถ้าหย่อมความกดอากาศสูงมีกำลังแรงขึ้น
จะส่งผลทำให้อากาศมีลักษณะอย่างไร
ก. ฝนกำลังจะตก ข. ร้อนและอบอ้าว
ค. ชื้นและเย็นลง ง. แห้งแล้งและเย็นลง
88. ไฮกรอมิเตอร์แบบกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้ง
ถ้ามีผลต่างของอุณหภูมิมากแสดงว่าเป็น
อย่างไร
ก. อากาศเกือบอิ่มตัว ข. ความชื้นสัมพัทธ์มีค่าต่ำ
ค. ความชื้นสัมพัทธ์มีค่าสูง ง.
อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ
89. ถ้านำผ้าที่ซักแล้วไปตากในบริเวณที่อากาศอิ่มตัวโดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง
ผลจะเป็นอย่างไร
ก. ผ้าไม่แห้ง ข. ผ้าแห้งช้า
ค. ผ้าแห้งเร็ว ง. ผ้าแห้งบางส่วน
90. ถ้าอยากทราบอัตราความเร็วลมควรใช้เครื่องมือชนิดใดวัด
ก. แอลติมิเตอร์ ข. อะนิโมมิเตอร์
ค. ไฮโกรมิเตอร์ ง. แอนิรอยด์บารอมิเตอร์

91. บุคคลในข้อใดที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากการพยากรณ์อากาศในการประกอบอาชีพมากที่สุด
ก. คนขับรถกับพ่อค้า ข. นักวิจัยกับพยาบาล
ค. ชาวประมงกับนักบิน ง. เกษตรกรกับช่างก่อสร้าง
92. หย่อมความกดอากาศต่ำในซีกโลกใต้ การเคลื่อนที่ของลมมีลักษณะอย่างไร
ก. พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง ทิศตามเข็มนาฬิกา
ข. พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลาง ทิศทวนเข็มนาฬิกา
ค. พัดเวียนออกจากศูนย์กลาง ทิศตามเข็มนาฬิกา
ง. พัดเวียนออกจากศูนย์กลาง ทิศทวนเข็มนาฬิกา
93. ข้อใดเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดลมมากที่สุด
ก. ดวงอาทิตย์ ข. ความกดอากาศ
ค. ความชื้นสัมพัทธ์ ง. ปริมาณไอน้ำในอากาศ
94. ประเภทของพายุแบ่งโดยใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์
ก. ทิศทางการเคลื่อนที่ ข. ลักษณะการเกิดของพายุ
ค. ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง ง. บริเวณที่มีพายุก่อตัว
95. ชาวประมงใช้ลมชนิดใดในการออกเรือไปหาปลาในทะเล และลมนี้เกิดในเวลาใด
ก. ลมบก เวลากลางวัน ข. ลมบก เวลากลางคืน
ค. ลมทะเล เวลากลางวัน ง. ลมทะเล เวลากลางคืน
96. ชื่อเรียกลมพายุชนิดใดแตกต่างจากข้ออื่น
ก. เฮอริเคน ข. ทอร์นาโด
ค. ดีเปรสชัน ง. วิลลี่ - วิลลี่
97. CFC คือสารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุใด
ก. คาร์บอน ฟลูออรีน ปรอท ข. คาร์บอน
คลอรีน ไนโตรเจน
ค. คาร์บอน ฟลูออรีน คลอรีน ง. คาร์บอน
ซัลเฟอร์ แมงกานีส
98. อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก
ก. การทดลองนิวเคลียร์ ข. การเผาทำลายบ่อน้ำมัน
ค. การทำกิจกรรมของมนุษย์ ง.
การเกิดพิบัติกับธรรมชาติ

99. เครื่องมือตรวจสภาพอากาศที่มีประสิทธิภาพและให้ผลข้อมูลมากที่สุดคือข้อใด
ก. กระสวยอวกาศ ข. เรดาร์ตรวจอากาศ
ค. คลื่นวิทยุหยั่งอากาศ ง. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
100. วิธีการใดที่ช่วยให้อากาศที่อยู่ล้อมรอบตัวเรามีคุณภาพดีขึ้น
ก. ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ข.
เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้มีมากขึ้น
ค. ผลิตแก๊สออกซิเจนปล่อยสู่อากาศ ง.
สร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์

________________________________________

ชุดที่ 2
เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำชี้แจง ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ (100 คะแนน)
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ค. 2. ข. 3. ข. 4.
ก. 5. ข.
6. ก. 7. ง. 8. ก. 9.
ค. 10. ง.
11. ค. 12. ก. 13. ก. 14.
ง. 15. ข.
16. ข. 17. ค. 18. ก. 19.
ก. 20. ค.
21. ง. 22. ค. 23. ค. 24.
ข. 25. ข.
26. ง. 27. ค. 28. ค. 29.
ก. 30. ง.
31. ง. 32. ง. 33. ข. 34.
ค. 35. ข.
36. ก. 37. ค. 38. ก. 39.
ค. 40. ง.
41. ง. 42. ข. 43. ค. 44.
ค. 45. ข.
46. ข. 47. ก. 48. ก. 49.
ค. 50. ก.
51. ค. 52. ค. 53. ง. 54.
ง. 55. ข.
56. ง. 57. ข. 58. ง. 59.
ก. 60. ข.
61. ก. 62. ง. 63. ข. 64.
ก. 65. ง.
66. ง. 67. ง. 68. ก. 69.
ก. 70. ค.
71. ค. 72. ข. 73. ข. 74.
ก. 75. ง.
76. ง. 77. ง. 78. ก. 79.
ข. 80. ก.
81. ค. 82. ค. 83. ค. 84.
ง. 85. ก.
86. ก. 87. ค. 88. ข. 89.
ก. 90. ข.
91. ค. 92. ข. 93. ข. 94.
ง. 95. ค.
96. ข. 97. ค. 98. ค. 99.
ง. 100. ข.


--
*ข้อสอบครูชำนาญการพิเศษ *

1 ความคิดเห็น: