(แนวข้อสอบ อ.ฐิติพร)
ความรับผิดทางละเมิดตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์บัญญัติมาตรา ๔๒๐ , พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. 2539 , พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 9(3)
ส่วนที่ 1. ความรับผิดทางละเมิดประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์บัญญัติมาตรา ๔๒๐
มาตรา ๔๒๐ ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่ชีวิตก็ดี ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นกระทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ละเมิด คือ การกระทำใด ๆ ของบุคคลหรือการกระทำที่อยู่ในความรับผิดชอบของบุคคลอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ผู้ได้รับความเสียหายนั้นชอบที่จะได้รับการเยียวยา โดยการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือเรียกร้อง ให้ผู้ละเมิดปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติในลักษณะอื่น ๆ แล้วแต่กรณี เช่น นาย ก. ขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนนาย ข. หรือ ก. จงใจทำร้าย ข.เช่นนี้ นาย ข. ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือร่างกาย ย่อมเรียกให้ นาย ก. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ แต่ผู้เสียหายในเรื่องของละเมิดกฏหมายจำกัดไว้เฉพาะกรณีเท่านั้นหมายความว่ามิใช่ผู้เสียหายทุกกรณีจากการกระทำของผู้ อื่นจะมีสิทธิได้รับการเยียวยา เช่น นาย ก. ประกอบกิจการร้านขายของชำอยู่ชานเมืองเป็นเวลา ๒๐ ปี มีรายได้จุนเจือครอบครัวอย่างมีความสุขมาตลอด ต่อมา นาย ข.ได้มาเปิดห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ข้าง ๆ กับร้านของนาย ก. นับแต่นั้นมาลูกค้าทั้งหลายของนาย ก. ก็เข้าไปอุดหนุนร้านของนาย ข. จนนาย ก.ไม่อาจเปิดกิจการต่อไปได้เพราะไม่มีลูกค้าเลย ความเสียหายของนาย ก. คือ ขาดรายได้ที่เคยได้รับตามปกติตลอดนับสิบปีที่ผ่านมา นาย ก. ไม่อาจเรียกร้องให้นาย ข. ชดใช้ให้ได้ ลักษณะเช่นนี้มิใช่ กรณีละเมิด เพราะนาย ข. มีอำนาจกระทำ
ความรับผิดเพื่อการกระทำของตนเอง
ผู้ใดก่อความเสียหายให้แก่ผู้อื่น ย่อมต้องรับผิดชอบเยียวยาให้ผู้เสียหายได้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยวิธีการที่เหมาะสม การกระทำละเมิดต้องมีลักษณะดังนี้
(๑) ต้องมีการกระทำ
"การกระทำ" หมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึกในการเคลื่อนไหว และอยู่ใน บังคับของจิตใจผู้กระทำ และรวมถึงการงดเว้นที่จะกระทำการอันมีหน้าที่ต้องกระทำด้วย ไม่ว่าจะเป็น หน้าที่ตามกฎหมาย ตามระเบียบปฏิบัติงาน ตามสัญญา ตามวิชาชีพ แต่ไม่รวมถึงหน้าที่ตามศีลธรรม
(๒) ต้องเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
การกระทำโดย "จงใจ" นั้นในทางกฎหมายหมายถึงการกระทำโดยผู้กระทำรู้สึกนึก ถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน กล่าวคือ รู้ว่าการกระทำนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ส่วนว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใดนั้นไม่สำคัญ การกระทำโดยจงใจนั้นมีความหมายกว้างกว่ากระทำโดย "เจตนา" ตามประมวล กฎหมายอาญา เพราะการกระทำโดยเจตนาตามมาตรา ๕๙ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายอาญาผู้กระทำต้องประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นด้วย เช่น นาย ก. ทะเลาะ กับนาย ข. จึงใช้มือผลักอกนาย ข. นาย ข. ลื่นล้มลงหัวฟาดถนนถึงแก่ความตาย เช่นนี้ นาย ก. จะมี ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๐ แต่ถือว่า นาย ก.กระทำ ละเมิดต่อนาย ข. โดยจงใจ เพราะนาย ก.ย่อมรู้ว่าการกระทำของตนจะทำให้นาย ข. เสียหาย เพียงแต่ ไม่ทราบว่านาย ข. จะเสียหายมากน้อยเพียงใดเท่านั้น
ส่วนการกระทำโดย "ประมาทเลินเล่อ" นั้นมีความหมายเช่นเดียวกับการกระทำโดย ประมาทในทางอาญาตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่ แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่บัญญัติว่า "การกระทำโดย ประมาทได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะ เช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หากได้ใช้ ให้เพียงพอไม่"
"วิสัย" หมายถึง สภาพเกี่ยวกับตัวผู้กระทำ เช่น อายุ เพราะเด็กและผู้ใหญ่จะมีความ ระมัดระวังในเรื่องเดียวกันต่างกัน เนื่องจากมีประสบการณ์แตกต่างกัน เพศชายและหญิงต่างมีความ ระมัดระวังในแต่ละเรื่องต่างกัน ผู้ประกอบวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง หรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือผู้ปฏิบัติงานใดงานหนึ่งมาเป็นระยะเวลานาน ก็ย่อมมีความระมัดระวังในวิชาชีพหรือเรื่องที่ตน เชี่ยวชาญหรือชำนาญงานมากกว่าคนทั่วไป เป็นต้น
"พฤติการณ์" หมายถึง ปัจจัยแวดล้อมผู้กระทำ เช่น เหตุเกิดกลางวันหรือกลางคืน มีฝนตกถนนลื่นหรือไม่ มีเวลาที่จะคิดคำนวณไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะกระทำการใดการหนึ่งลงไป หรือไม่ เป็นต้น เพราะพฤติการณ์แวดล้อมเหล่านี้จะมีผลต่อระดับความระมัดระวังในการกระทำที่เกิดขึ้น ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้น เช่น ถ้าฝนตกถนนลื่นผู้ขับขี่รถยนต์ทั่วไปย่อมต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น กว่าการขับรถยนต์ในภาวะปกติ เป็นต้น
(๓) ต้องเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย
การกระทำโดยผิดกฎหมาย หมายความว่ากระทำโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือ โดยไม่มีอำนาจหรือไม่มีสิทธิโดยชอบที่จะกระทำการนั้นได้ นอกจากนี้ โดยที่มาตรา ๔๒๑ แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า "การใช้สิทธิซึ่งมีแต่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย" ดังนั้น การกระทำโดยผิดกฎหมายอันจะเป็นการกระทำละเมิด จึงหมายความรวมไปถึงการใช้สิทธิที่ผู้กระทำมีอยู่ตามกฎหมายทำให้บุคคลอื่นเสียหายด้วย
การใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น จะต้องเป็นการแกล้ง โดยผู้กระทำมุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่นฝ่ายเดียว เช่น นาย ก. ขอรังวัดที่ดิน นาย ข. คัดค้าน การรังวัดโดยอ้างว่านาย ก.นำรังวัดล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของตนและขอวัดสอบเขตก่อน แต่ก็ไม่ ดำเนินการใด ๆ เมื่อนาย ก.จัดให้มีการรังวัดใหม่ นาย ข. ก็ยังคัดค้านแต่ก็ไม่ดำเนินการขอวัดสอบเขต เหมือนเช่นเดิม ดังนี้ เป็นการกระทำซึ่งมีแต่จะเสียหายแก่บุคคลอื่นตามมาตรา ๔๒๑ ส่วนการฟ้องคดี ต่อศาลมิใช่การใช้สิทธิโดยแกล้งเนื่องจากเป็นการใช้สิทธิทางศาลอันเป็นสิ่งที่กฎหมายอนุญาต เว้นแต่ โจทก์จะไม่สุจริตคือไม่หวังผลธรรมดาจากการใช้สิทธิทางศาลหรือจงใจให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายโดย ใช้ศาลเป็นเครื่องกำบัง
(๔) การกระทำนั้นต้องก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ความรับผิดทางละเมิดจะเกิดขึ้นเมื่อการกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ บุคคลอื่น หากบุคคลอื่นยังไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำ ย่อมไม่เป็นละเมิด โดยความเสียหายนั้นจะเป็นความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ แต่ต้องเป็นความเสียหายที่แน่นอน กล่าวคือ ความเสียหายให้เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต และความเสียหายจะต้องเกิดจากผลโดยตรงของผู้กระทำด้วย และผู้ที่ได้รับ ความเสียหายต้องเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้กระทำโดยตรงหรือมีส่วนร่วมในการกระทำนั้น
(๕) มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล ความเสียหายที่เกิดนั้นต้องสามารถคาดเห็นได้ ความเสียหายอื่น ๆ ที่ผิดปกติ กฏหมายไม่รับรองที่จะเยียวยาได้
ความรับผิดเพื่อกระทำของบุคคลอื่น
กรณีนี้เป็นนโยบายทางกฏหมายที่กำหนดให้ผู้หนึ่งผู้ใดต้องรับผิดแม้ว่าตนเองมิใช่เป็นผู้กระทำละเมิดโดยตรง เพราะผู้นั้นเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากิจการงานของผู้กระทำละเมิด หรือผู้นั้นมีหน้าที่ดูแลผู้กระทำละเมิด คือ
ก. นายจ้างต้องรับผิดชอบต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ถ้าลูกจ้างกระทำละเมิดในทางที่จ้าง
ข. ตัวการต้องรับผิดต่อการกระทำละเมิดของตัวแทน
ค. ผู้ว่าจ้างทำของ "ไม่ต้องรับผิด" ต่อการละเมิดของผู้รับจ้าง เว้นแต่ ผู้ว่าจ้างทำของผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ง. บิดามารดา หรือผู้อนุบาล ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
จ. ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือผู้รับดูแล ต้องรับผิดต่อการกระทำของผู้เยาว์ หรือบุคคลไว้ความสามารถ
ความรับผิดชอบเพราะการมีทรัพย์สินบางประเภทไว้ในครอบครอง
ทรัพย์สินบางประเภทมีลักษณะที่เป็นอันตรายหรือมีอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับบุคคลอื่นได้ โดยไม่สามารถ รู้ได้ว่าเกิดขึ้นอย่างไร ฉะนั้นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ คือผู้ครอบครอง ย่อมมี ภารถที่จะต้องรับผิดต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งมีกรณีดังต่อไปนี้
ก. ความเสียหายเกิดขึ้นนั้นเพราะสัตว์ เจ้าของหรือผู้รับเลี้ยงรักษาต้องรับผิดชอบ
ข. ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะโรงเรียน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่อง หรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอ ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบ
ค. ความเสียหายเกิดเพราะยานพาหนะ รถยนต์ ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายโดยสภาพ เช่น เครื่องจักร วัตถุระเบิด เป็นต้น ผู้ครอบครองหรือควบคุมต้องรับผิดชอบ
การเยียวยาความเสียหาย
๑. ให้กระทำการ การเข้าไปในที่ดินของบุคคลอื่นในลักษณะบุรุก ศาลสามารถสั่งให้ออกไปจากที่ดังกล่าวได้ การกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทผู้อื่น ศาลอาจสั่งให้ผู้ละเมิดประกาศคำขอโทษลงในหนังสือพิมพ์รายวัน
๒.งดเว้นกระทำการ การใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาประกอบธุรกิจโดยไม่มีอำนาจ การเปิดวิทยุเสียงดัง รบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง ศาลอาจสิ่งให้ผู้ละเมิดงดเว้นการกระทำดังกล่าว
๓. ค่าสินไหมทดแทน คือการเรียกให้ผู้ละเมิดชำระเงินเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในลักษณะดังนี้
ก. ความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย และเสรีภาพ ความสามารถเรียกค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอื่น ๆในการรักษาพยาบาล เช่น ค่าเดินทาง ค่าขาดรายได้จากการประกอบอาชีพขณะบาดเจ็บ ค่าเสียหายทางจิตใจ กรณีถูกกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง หรือสูญเสียอวัยวะ กรณีตายสามารถเรียกค่าทำศพ ค่าเสียหายที่ไม่อาจคำนวนได้แน่นอน เช่น การละเมิดต่อเสรีภาพ ชื่อเสียง ศาลก็จะคำนวนตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
ข. ความเสียหายต่อทรัพย์สิน เรียกค่าซ่อมแซมตามที่จำเป็น ถ้าสูญเสียหมดสิ้นไปก็เรียกให้ชำระราคาทั้งหมดได้
อายุความ
๑. ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึง การละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน
๒.อย่างไรก็ตามห้ามเกิน ๑๐ ปี นับแต่วันทำละเมิด
ส่วนที่ 2. ความรับผิดทางละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้กำหนดความรับผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต่อผู้ได้รับความเสียหาย ดังนี้
(๑) กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ (๒) กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก
โดยแยกความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ออกจากการ กระทำละเมิดที่มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ โดยหากเป็นการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นจะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว แต่หากเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐรับภาระชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ ผู้ได้รับความเสียหายไปก่อน
โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการที่หน่วยงานของรัฐจะใช้สิทธิไล่เบี้ยให้เจ้าหน้าที่ ชดใช้เงินคืนแก่หน่วยงานของรัฐภายหลังจากที่หน่วยงานของรัฐได้รับภาระชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ได้รับความเสียหายไปก่อนแล้วขึ้นใหม่ โดยหน่วยงานของรัฐจะใช้สิทธิไล่เบี้ย โดยเรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนแก่หน่วยงานของรัฐได้เฉพาะ กรณีความเสียหายจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้น กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ส่วนว่าหน่วยงานของรัฐจะใช้สิทธิไล่เบี้ย ได้มากน้อยเพียงใดนั้น ก็จะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป โดยหน่วยงานของรัฐไม่จำต้องได้รับ ชดใช้จนเต็มจำนวนความเสียหาย
โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิไล่เบี้ยกรณีการกระทำละเมิดเกิดขึ้น จากการกระทำของเจ้าหน้าที่หลายคนว่า เจ้าหน้าที่แต่ละคนไม่ต้องร่วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แต่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นกรณีไปว่าแต่ละคนสมควรต้องร่วมรับผิดมากน้อยเพียงใด โดยหน่วยงาน ของรัฐไม่จำต้องได้รับชดใช้จนเต็มจำนวนความเสียหาย
กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ
กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่หน่วยงานของรัฐจะเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด ต่อหน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐขึ้นใหม่ว่าหน่วยงานของรัฐจะเรียกให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้เฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่ ผู้นั้นกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ส่วนว่าหน่วยงานของรัฐจะใช้สิทธิไล่เบี้ย ได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป โดยหน่วยงานของรัฐไม่จำต้องได้รับ ชดใช้จนเต็มจำนวนความเสียหาย ส่วนกรณีการกระทำละเมิดเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ หลายคนว่า เจ้าหน้าที่แต่ละคนไม่ต้องร่วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แต่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป ว่าแต่ละคนสมควรต้องร่วมรับผิดมากน้อยเพียงใด โดยหน่วยงานของรัฐไม่จำต้องได้รับชดใช้จนเต็ม จำนวนความเสียหาย
กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น
๑. หลักเกณฑ์ความรับผิด
มาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ บัญญัติหลักเกณฑ์ความรับผิดของหน่วยงานของรัฐกรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นไว้ดังนี้
มาตรา ๕ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งมิได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือว่า กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง
ดังนั้น หากเจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทำละเมิดและก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่ บุคคลภายนอกและการกระทำละเมิดดังกล่าวเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นก็ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้ก่อขึ้น
๒. องค์ประกอบของความรับผิด
องค์ประกอบของความรับผิดเพื่อละเมิดของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๕ ดังกล่าว ข้างต้น มีอยู่ ๓ ประการ ประการที่หนึ่ง ต้องมีการกระทำละเมิดเกิดขึ้น ประการที่สอง การกระทำละเมิดดังกล่าวนั้นกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ ประการที่สาม การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่
องค์ประกอบของความรับผิดดังกล่าวนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาความสับสนในทางปฏิบัติ ได้ว่าการกระทำละเมิดคืออะไร เจ้าหน้าที่ของรัฐคือใคร และการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นอย่างไร ดังนั้น ก่อนที่จะกล่าวในรายละเอียดเกี่ยวกับความรับผิดของหน่วยงานของรัฐในกรณี เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นในรายละเอียด ผู้เขียนจะได้อธิบายเสียก่อนว่าการกระทำละเมิด คืออะไร เจ้าหน้าที่ของรัฐคือใคร และการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างไร
๒.๑ เจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่คือผู้ใด
ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน่วยงานของรัฐ จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ซึ่งมาตรา ๔ แห่งกฎหมายดังกล่าว นิยามคำว่า "เจ้าหน้าที่" ว่าหมายถึง "ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่า จะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการ หรือฐานะอื่นใด" และนิยามคำว่า "หน่วยงานของรัฐ" ว่าหมายถึง "กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วน ภูมิภาคราชการ ส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และ ให้หมายรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้หน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติ นี้ด้วย" ดังนั้น บุคคลทุกประเภทที่ทำงานให้แก่หน่วยงานรัฐ ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว กรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นเจ้าหน้าที่ เช่น บุคคลที่ต้อง ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐภายใต้บังคับแห่ง กฎหมายนี้ทั้งสิ้น
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เคยให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ว่า กรณี ลูกจ้างเป็นครั้งคราวเฉพาะงานนั้น ต้องพิจารณาว่าลูกจ้างนั้นมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานอย่างไร ถ้ามีความสัมพันธ์ในลักษณะการใช้อำนาจบังคับบัญชาก็ถือเป็นลูกจ้างตามนัยมาตรา ๔ แห่งกฎหมายนี้ แต่ถ้าเป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างนั้นก็มิใช่ลูกจ้างตามกฎหมายนี้ อย่างไรก็ดี หากหน่วยงานใดเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งกฎหมายนี้แล้ว ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ อนุกรรมการ พนักงาน ฯลฯ ย่อมเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายนี้ด้วย สำหรับกรณีหน่วยงานของรัฐทำสัญญาจ้างเอกชนทำหน้าที่บางอย่างแทนหน่วยงาน ของรัฐ เช่น กรณี กฟภ. ทำสัญญาตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือประชาชนเพื่อทำหน้าที่เก็บ ค่าไฟฟ้าแทน กฟภ. นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เห็นว่าเป็นการจ้างทำของตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อบต. และประชาชนผู้ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ดังกล่าวจึงมิใช่เจ้าหน้าที่ตาม มาตรา ๔ แห่งกฎหมายนี้
๒.๒ เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่
การกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอำนาจหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง และการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่นั้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ บุคคลอื่นหรือแก่รัฐขึ้นโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เช่น ขณะที่เจ้าหน้าที่สรรพสามิตเข้าไปจับกุม ผู้ต้มเหล้าเถื่อนบริเวณชายป่าละเมาะท้ายหมู่บ้าน ผู้กระทำความผิดวิ่งหนีเข้าไปหลบอยู่ในบ้านของ ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หากเจ้าหน้าที่สรรพสามิตตามเข้าไปในบ้านดังกล่าวเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิด แต่ไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่อยู่ในบ้านเหล่านั้น ก็เท่ากับเจ้าหน้าที่สรรพสามิตกระทำ ละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกรมสรรพสามิตก็ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทำขึ้น
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้มีอำนาจกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังกล่าวข้างต้นแล้ว หน้าที่ดังกล่าวยังอาจเกิดจากระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วย กฎหมายด้วยการกระทำหรือละเว้นการกระทำในหน้าที่ดังกล่าวหากก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น หรือแก่รัฐก็เป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน เช่น กรณีหัวหน้าส่วนราชการมีคำสั่ง ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างต้องมาปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรเพื่อดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของหน่วยงาน ในเวลากลางคืน นาย ก. ซึ่งได้รับมอบหมายให้อยู่เวรด้วยไม่มาเข้าเวร หรือมาลงชื่อรับเวรแล้ว แต่ออกไปเที่ยวเตร่ไม่ได้อยู่รักษาเวร ก็ต้องถือว่า นาย ก. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่แล้ว เป็นต้น
การวินิจฉัยว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป ตัวอย่างเช่น นายอำเภอขับรถของทางราชการเพื่อไป ตรวจราชการในพื้นที่ ระหว่างเดินทางไปราชการเกิดอุบัติเหตุชนกับรถยนต์ของบุคคลอื่นได้รับ ความเสียหาย ก็ถือได้ว่าการกระทำละเมิดดังกล่าวเกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ หรือกรณีเจ้าหน้าที่ ซึ่งผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้ดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินของทางราชการไม่ดูแลให้มีการล็อคห้องพัสดุ ให้เรียบร้อย เป็นเหตุให้มีคนร้ายลักเอาทรัพย์สินในห้องพัสดุไป ก็ถือเป็นการกระทำละเมิดในการ ปฏิบัติหน้าที่ หรือผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของ ทางราชการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบฯ เป็นเหตุให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาทุจริตยักยอกเงินของหน่วยงาน ก็เป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน
มีข้อควรระวังในการวินิจฉัยว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำในการปฏิบัติ หน้าที่หรือไม่ ๒ ประการ
ประการที่หนึ่ง การกระทำละเมิดในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือในระหว่าง เวลาราชการ มิใช่สิ่งบ่งชี้ว่าการกระทำละเมิดดังกล่าวเป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น กรณีนายอำเภอขับรถยนต์ของทางราชการเพื่อไปตรวจราชการในพื้นที่ ระหว่างเดินทางกลับจากการ ตรวจราชการเกิดอุบัติเหตุชนกับรถยนต์ของบุคคลอื่นได้รับความเสียหาย แม้เหตุละเมิดดังกล่าวจะ เกิดขึ้นหลังจากเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา ก็ถือได้ว่าการกระทำละเมิดดังกล่าวเกิดขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากการไปตรวจราชการเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ของนายอำเภอและเป็นการดำเนินการ เพื่อประโยชน์ของทางราชการ อีกทั้งการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้นลง
แต่กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านตรวจผู้กระทำผิดกฎจราจร ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจเกิดบันดาลโทสะ ทำร้ายร่างกายผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดกฎจราจร ดังนี้ แม้การกระทำ ละเมิดจะเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการ หากแต่เป็นไป เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ผู้นั้น อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่มีหน้าที่ในการทำร้าย ร่างกายประชาชน จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำละเมิดดังกล่าวเป็นการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่
ประการที่สอง กรณีเจ้าหน้าที่ทุจริตยักยอกเงินของทางราชการไปใช้เป็นประโยชน์ ส่วนตัวนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เคยให้ความเห็นไว้ว่าเป็นการกระทำความผิดโดย ส่วนตัวตามกฎหมายอาญาฐานยักยอกทรัพย์สิน มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ผู้นั้นจึงต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว แต่ผู้บังคับบัญชา ของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องรับผิดทางละเมิดตามกฎหมายนี้หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาพฤติการณ์ ของผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้ทุจริตยักยอกเงินของทางราชการนั้นด้วยว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ในการปฏิบัติหน้าที่จนเป็นเหตุให้เกิดมีการทุจริตยักยอกเงินนั้นหรือไม่ แต่ถ้าร่วมกับเจ้าหน้าที่กระทำ ทุจริตก็เป็นการกระทำโดยส่วนตัวตามกฎหมายอาญา มิใช่การกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ตาม กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนตามพฤติการณ์ คือ ความรับผิดกรณีการกระทำละเมิดมิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ และความรับผิดกรณีการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่
๑. กรณีการกระทำละเมิดมิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่
กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อบุคคลอื่นหรือต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งไม่ใช่การกระทำ ในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ทะเลาะวิวาทชกต่อยกับบุคคลอื่น เจตนาทุจริตยักยอกทรัพย์ของทางราชการ หรือเอารถของทางราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว ระหว่างนั้น เกิดอุบัติเหตุเป็นเหตุให้รถยนต์ของทาง ราชการเสียหาย หรือกระทำการใด ๆ ให้ทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐเสียหายอันไม่ได้เกิดจากการ ปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดเป็นการส่วนตัวตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด
๒. กรณีการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่
(๑) ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
หากเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ว่าการกระทำละเมิดดังกล่าวจะเกิด ผลโดยตรงต่อบุคคลภายนอกและหน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกไปแล้ว หรือกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในหน้าที่ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐโดยตรง เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการละเมิดนั้นเฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่นั้นได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หากเจ้าหน้าที่มิได้กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรงแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดในการละเมิดดังกล่าว หน่วยงานของรัฐจะใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง ประกอบกับ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๘ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย เพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้น ไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ฯลฯ ฯลฯ
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่า จะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗ มาใช้บังคับโดย อนุโลม แต่ถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฯลฯ ฯลฯ
ส่วนปัญหาว่าการกระทำใดเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป โดยมีข้อพิจารณาเบื้องต้นดังนี้ - การกระทำโดยจงใจอย่างร้ายแรงนั้นจะต้องเป็นการกระทำที่ผู้กระทำจงใจและคาดเห็นได้อย่างแน่นอนว่าการกระทำดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าปกติ - การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ต้องเป็นกรณีที่บุคคลนั้นได้กระทำไปโดยขาดความระมัดระวังอย่างมาก เช่น คาดเห็นได้ว่าความเสียหายอาจเกิดขึ้นได้ หรือหากใช้ความระมัดระวังสักเพียงเล็กน้อย ก็คงคาดเห็นได้ว่าอาจเกิดความเสียหายขึ้น
ส่วนที่ 3 ความรับผิดจากการกระทำละเมิดทางปกครองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา
คดีปกครอง พ.ศ. 2542 ตามมาตรา 9(3)
มาตรา 9 ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้ (3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร คดีพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดทางปกครองหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือความเสียหายเกิดจากการออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือเป็นกรณีที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร คดีตามลักษณะนี้ต้องคำนึงว่าการละเมิดนั้นต้องเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย เช่น การใช้อำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลในการกำหนดแนวเขตเพื่อขุดคลองและทำถนน หากทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือเสียหายก็เป็นคดีละเมิดที่ฟ้องต่อศาลปกครองได้ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 271/2545 (ประชุมใหญ่))แต่ถ้าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติ เช่น พนักงานขับรถของทางราชการขับรถชนคนบาดเจ็บ หรือนายแพทย์โรงพยาบาลรัฐบาลผ่าตัดผิดพลาด ทำให้คนไข้พิการ อย่างนี้ไม่ใช่เป็นละเมิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายต้องฟ้องต่อศาลยุติธรรม สำหรับกรณีความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย เช่น กรณีการฟ้องคดีเพื่อเรียกเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ คดีประเภทที่ (3) นี้มีข้อสังเกตว่าน่าจะเป็นกรณีที่ประชาชนฟ้องทางราชการได้ฝ่ายเดียว ลักษณะคดีตาม (3) นี้ได้แก่กรณีตามมาตรา 9(3) นั่นเอง ซึ่งมาตรา 72 (3) บัญญัติให้อำนาจศาลปกครองพิพากษาให้ใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการเพื่อเยียวยาการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นนั้นและถ้าผู้ที่ต้องถูกบังคับคดีไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลที่ให้ชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สิน ศาลอาจมีคำสั่งให้มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของบุคคลนั้นได้ (มาตรา 72 วรรค 4 ) ในกรณีนี้ กฎหมายนำบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม (มาตรา 72 วรรค 5 )
(แนวข้อสอบ อ.ภูริชญา)
หลักกฎหมายที่ศาลปกครองฝรั่งเศสใช้ควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งและการกระทางปกครอง
เปรียบเทียบกับ
การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งและการกระทางปกครองตาม
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
ส่วนที่ 1 หลักกฎหมายที่ศาลปกครองฝรั่งเศสใช้ควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งและการกระทางปกครอง
ในประเทศฝรั่งเศสนั้น การดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองอยู่ภายใต้หลักว่าด้วยความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง หลักว่าด้วยความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองหมายถึงการกระทำใดๆของฝ่ายปกครองจะต้องเคารพต่อกฎหมาย จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดและจะทำนอกขอบอำนาจที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้ ดังนั้น แม้ในทางปฏิบัติฝ่ายปกครองจะมีอำนาจมากเพียงใดก็ตาม แต่ฝ่ายปกครองก็ต้องดำเนินการทั้งหลายตามกรอบของกฎหมาย ซึ่งกฎหมายในที่นี้หมายความถึงกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ และกฎเกณฑ์ต่างๆของฝ่ายบริหารที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป หลักว่าด้วยความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองนี้เป็นหลักสำคัญหลักหนึ่งที่ใช้กันอยู่ในประเทศที่เป็น “นิติรัฐ” ดังนั้น ศาลปกครองฝรั่งเศสจึงใช้หลักหลักกฎหมายในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการออกคำสั่งและการกระทางปกครองดังนี้
1. การกระทำโดยปราศจากอำนาจ INCOMPETENCE (เหตุภายนอก)
1. ไม่มีอำนาจโดยเนื้อหา – ใช้อำนาจของหน่วยงานอื่น
2. ไม่มีอำนาจทางด้านพื้นที่ - ออกคำสั่งบังคับนอกเขตปกครอง
3. ไม่มีอำนาจโดยเนื้อหา – มีการกำหนดเงื่อนไขเรื่องเวลา
2. การกระทำโดยผิดรูปแบบหรือผิดขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด VICE DE FORME (เหตุภายนอก)
1.ผิดรูปแบบหรือผิดขั้นตอนหรือวิธีการนั้นการผิดต่ออะไร
- การกำหนดแบบบังคับ (ACTE REGLEMENTAIRE)
- แนวปฏิบัติ (DIRECTIVES)
2.“ขั้นตอน” ถือเป็นเรื่องของการวางหลักเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ การผิดขั้นตอนทำให้เรื่องนั้นเสียไป
3. หากกฎหมายไม่ได้กำหนดแต่ต้องทำให้ครบ
4.เหตุผลในคำสั่งต้องแสดงไว้โดยเฉพาะคำสั่งเป็นโทษ
3. การใช้อำนาจโดยบิดผัน DETOURNEMENT DE POUVOIR (เหตุภายใน)
1. ความหมาย คำสั่งทางปกครองนั้นผิดไปจาก “วัตถุประสงค์” ของกฎหมายที่อ้างเป็นฐานอำนาจในการออกคำสั่ง
2. “วัตถุประสงค์ของกฎหมาย” = เป้าหมายของกฎหมาย (OBJECTIVE)นั้นต้องการให้บังเกิดผลอย่างไร
4. การฝ่าฝืนต่อกฎหมาย VIOLATION DE LA LOI (เหตุภายใน)
4.1 เนื้อหา (CONTENT) หรือ “วัตถุแห่งการกระทำ”
-เนื้อหาคำสั่งทางปกครองขัดต่อกฎหมายแม่บท
4.2 มูลเหตุจูงใจ(MOTIF) “เหตุอันเป็นที่มาของการตัดสินใจมีคำสั่งทางปกครอง”
-ความสำคัญผิดในข้อกฎหมาย
-ความสำคัญผิดในคุณสมบัติทางกฎหมายของข้อเท็จจริง
-ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
ส่วนที่ 2 การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งและการกระทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
1.การควบคุม “ขั้นตอน” และ“รูปแบบ”
1. ไม่มีส่วนได้เสีย -เปิดโอกาสคู่กรณีโต้แย้ง
2. กระบวนการพิจารณาต้องแจ้งสิทธิและหน้าที่ให้คู่กรณีทราบ
3. คำสั่งกระทบสิทธิและหน้าที่ต้องเปิดโอกาสให้คู่กรณีทราบข้อเท็จจริงและมีเวลาโต้แย้งแสคงพยานหลักฐาน
2.การควบคุมการทำคำสั่ง
1. คำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพทางกฎหมาย หรือต่อสิทธิหน้าที่ต้องแสดงเหตุผลไว้ในคำสั่ง
2. ต้องแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์โต้แย้ง
3. วิธีการและระยะเวลาอุทธรณ์โต้แย้ง
3.การควบคุมภายหลังการทำคำสั่ง
1. เปิดโอกาสแก้ไขคำสั่งโดยการอุทธรณ์
2. ระบบอุทธรณ์ 2 ชั้น
3. ชั้นแรกยื่นต่อผู้ออกคำสั่ง - เห็นชอบแก้ไขได้
4. หากไม่เห็นชอบด้วย – เสนอผู้บังคับบัญชา
5. ไม่พอใจฟ้องศาลปกครอง
ตั้งแต่หน้าที่ 11 เป็นต้นไปจะเป็นคำอธิบายให้อ่านเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
บททั่วไป
1.1 วันใชับังคับ (มาตรา 2)ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2540 เป็นต้นไป 1.2 ความเป็นกฎหมายกลาง (มาตรา 3)กรณีไม่มีหลักเกณฑ์ตามกฎหมายเฉพาะ หรือมีแต่หลักเกณฑ์ ดังกล่าวมีมาตรฐานต่ำกว่ากฎหมายนี้ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ เว้นแต่กรณีของขั้นตอน และระยะเวลา ในการอุทธรณ์หรือโต้แย้งให้เป็นไปตามกฎหมายเฉพาะ 1.3 กรณียกเว้นไม่ใช้บังคับกฎหมายนี้ (มาตรา 4) (1) การดำเนินงานของรัฐสภาในฐานะองค์กรนิติบัญญัติและคณะรัฐมนตรี (2) องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ เช่น ตุลาการ รัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการ เลือกตั้ง (3) การดำเนินงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ในทางนโยบายโดยตรง คือ ในฐานะ ที่เป็นองค์กรทางการเมือง มิใช่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย (4) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาล รวมทั้งการดำเนินการในกระบวนวิธีพิจารณาการบังคับคดี การวางทรัพย์ (5) การวินิจฉัยและสั่งการในเรื่องร้องทุกข์ตามกฎหมาย ว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา (6) การดำเนินนโยบายต่างประเทศ (7) ราชการทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักร (8) การดำเนินการตามกระบวนยุติธรรมทางอาญา ซึ่งต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาอยู่แล้ว (9) การดำเนินการขององค์กรทางศาสนา เช่น มหาเรสมาคม (10)การดำเนินการที่มีพระราชกฤษฎีกายกเว้น 1.4 ความหมายของ "คำสั่งทางปกครอง" (มาตรา 5) การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจรัฐที่มีอยู่ตามกฎหมาย อันมีผลกระทบทางกฎหมายต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลเป็นการเฉพาะกรณี เช่น การอนุมัติ อนุญาต การไม่อนุมัติ ไม่อนุญาต การวินิจฉัยอุทธรณ์การรับรองสิทธิ การรับจดทะเบียน หรือคำสั่งให้กระทำการใด ๆ แต่ไม่รวมถึงการออกกฎที่มีผลบังคับ เป็นการทั่วไป
2. เจ้าหน้าที่
2.1 ความหมายของ "เจ้าหน้าที่" (มาตรา 5)
เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือคณะบุคคล(คณะกรรมการ)และไม่ว่าจะ เป็นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่ขององค์กรที่ใช้อำนาจรัฐ หรือบุคคลอื่นที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจรัฐเช่น สภาทนายความ แพทยสภา ช่างรังวัดเอกชน เป็นต้น
2.2 เจ้าหน้าที่ต้องมีความเป็นกลางกฎหมายห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนได้เสียหรือจะขาดความเป็นกลางเป็นผู้ทำคำสั่งทาง ปกครองได้
(1) เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนได้เสีย หรือจะขาดความเป็นกลางในการทำคำสั่งทางปกครองโดยเงื่อนไขภายนอก (มาตรา 13) กรณีเช่นนี้ พิจารณาจากสถานภาพทางกฎหมายของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นโดยไม่ต้องคำนึงถึงมูลเหตุจูงใจภายในในการออกคำสั่งทางปกครอง กรณีเหล่านี้ ได้แก่
(ก) เจ้าหน้าที่เป็นคู่กรณีเอง
(ข) เจ้าหน้าที่เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
(ค) เจ้าหน้าที่เป็นบุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องหรือเป็นญาติทางการสมรสของคู่กรณี
(ง) เจ้าหน้าที่เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้พิทักษ์ หรือตัวแทนของคู่กรณี
(จ) เจ้าหน้าที่เป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือนายจ้างของคู่กรณี
(ฉ) กรณีอื่น ๆ ที่กำหนดในกฎกระทรวง
(2) เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนได้เสีย หรือจะขาดความเป็นกลางในการทำคำสั่งทางปกครอง โดยเงื่อนไขภายใน เช่น เคยอุปถัมภ์ หรือทะเลาะวิวาทกับคู่กรณี (มาตรา 16)
2.3 ข้อยกเว้นกรณีของเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนได้เสียหรือเข้าข่ายขาดความเป็นกลางสามารถทำคำสั่งทางปกครองได้ (มาตรา18)
(1) กรณีเป็นความจำเป็นเร่งด่วนหากล่าช้าจะเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะ
(2) สิทธิของบุคคลจะเสียหายโดยแก้ไขไม่ได้
(3) ไม่มีเจ้าหน้าที่อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนผู้นั้น
กรณีเหล่านี้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสามารถทำคำสั่งทางปกครองได้แต่ทั้งนี้คำสั่งทางปกครองดังกล่าวจะสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อได้ความจริงว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้พิจารณาและทำคำสั่งโดยความเป็นธรรม
2.4 การดำเนินการเมื่อเกิดกรณีเจ้าหน้าที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือจะขาดความเป็นกลาง
(1) เจ้าหน้าที่ผู้นั้นหยุดการดำเนินการเองและรายงานผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งทราบ เพื่อมีคำสั่งต่อไป (มาตรา 14 และมาตรา 16 (1))
(2) เมื่อคู่กรณีคัดค้านให้หยุดการดำเนินการและรายงานผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งทราบเพื่อมีคำสั่งต่อไป (มาตรา 14)
(3) หากเป็นกรณีของการเป็นกรรมการ ให้ประธานกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยโดยกรรมการที่ถูกคัดค้านไม่สามารถอยู่ร่วม ในที่ประชุมได้ (มาตรา 15)
(4) หากเป็นกรณีมีการคัดค้านตามมาตรา 16 ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นเห็นว่าตนไม่มีเหตุตามที่คัดค้านให้ดำเนินการต่อไปแต่ต้องรายงานผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบด้วยและให้ผู้บังคับบัญชาหรือคณะกรรมการแล้วแต่กรณีวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นมีอำนาจทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้นหรือไม่ (มาตรา 16 (2))
(5) การกระทำใด ๆ ของเจ้าหน้าที่หรือกรรมการที่ได้กระทำไปก่อนหยุด การพิจารณาไม่เสียไป เว้นแต่เจ้าหน้าที่ผู้เข้าปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ถูกคัดค้านหรือคณะกรรมการแล้วแต่กรณีจะเห็นสมควรดำเนินการส่วนหนึ่งส่วนใดเสียใหม่ (มาตรา 17)
3. คู่กรณี
3.1 ความหมายของ "คู่กรณี" คู่กรณีหมายถึง เอกชนผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการพิจารณาเพื่อ ออกคำสั่งทางปกครอง ซึ่งได้แก่บุคคล ดังนี้ (มาตรา 5 และมาตรา 21)
(1) ผู้ยื่นคำขอ เช่น กรณีการขออนุญาตตั้งโรงงาน
(2) ผู้คัดค้านคำขอ เช่นกรณีการคัดค้านการออกโฉนดที่ดินของบุคคลอื่น
(3) ผู้อยู่ในข้อบังคับหรือจะอยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองเช่น กรณีที่อาจจะถูกเพิกถอนโฉนดที่ดิน
(4) ผู้ที่สิทธิกระทบกระเทือนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น กรณีเจ้าของที่ดินซึ่งอยู่ใกล้กับที่ดินที่สร้างโรงงาน
3.2 ความสามารถของคู่กรณี ผู้ที่เป็นคู่กรณีจะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกรณีที่กฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (มาตรา 22)
3.3 สิทธิของคู่กรณี
1. สิทธิแต่งตั้งทนายหรือที่ปรึกษา (มาตรา 23)
2. สิทธิแต่งตั้งตัวแทน (มาตรา 24)
2.1 ประเภทของตัวแทน
(1) ตัวแทนของคู่กรณีรายเดียว (มาตรา 24 วรรคแรก)
(2) ตัวแทนร่วมของคู่กรณีเกิน 50 คน (มาตรา 25)
(ก) กรณียื่นคำขอโดยการร่วมกันลงชื่อเกิน 50 คน"ลงรายชื่อหางว่าว"
(ข) กรณีมีคำขอจากบุคคลเกิน 50 คน "คำร้องเรียนโรเนียว"
(ค) กรณีที่มีคำขอในเรื่องเดียวกันเกิน 50 คน และไม่ได้กำหนดตัวแทนเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้แต่งตั้งตัวแทนร่วม
2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีกับตัวแทน
(1) เมื่อได้ตั้งตัวแทนไว้แล้วเจ้าหน้าที่จะเรียกให้คู่กรณีกระทำการไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นหน้าที่โดยตรงของคู่กรณี ซึ่งจะต้องกระทำการด้วยตนเอง
(2) เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
2.3 ความสิ้นสุดของการเป็นตัวแทน
(1) คู่กรณีบอกเลิกการให้เป็นตัวแทน ถ้าเป็นกรณีที่มีการตั้งตัวแทนร่วม และตัวแทนร่วม เป็นบุคคลธรรมดา คู่กรณีแต่ละรายมีอิสระที่จะบอกเลิก การให้ตัวแทนร่วมดำเนินการแทนตนได้
(2) คู่กรณีถึงแก่ความตาย หรือความสามารถของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไปไม่มีผลทำให้ความ เป็นตัวแทนระงับลงเว้นแต่ผู้สืบสิทธิตามกฎหมายจะถอนการตั้งตัวแทน
4. การพิจารณาออกคำสั่งทางปกครอง
ก่อนมีพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้นไม่มีกฎหมายกลางกำหนดกระบวนการพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ กฎหมายแต่ละฉบับมักมีเพียงบทบัญญัติที่ให้อำนาจ เจ้าหน้าที่ในการออกคำสั่ง เช่น สั่งให้บุคคลกระทำหรืองดเว้นกระทำอนุญาต อนุมัติ จดทะเบียน หรือเพิกถอนใบอนุญาต เป็นต้น แต่มักไม่มีบทบัญญัติกำหนดว่าในการออกคำสั่ง เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการอย่างไร หรือแม้มี บทบัญญัติกำหนดวิธีดำเนินการก็เป็นเพียงหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารใช้ดุลยพินิจในการดำเนินการได้อย่างกว้างขวางหรือไม่ก็เป็นการกำหนดวิธีดำเนินการที่มุ่งประสงค์ให้เกิดความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มากกว่าเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนหรือผู้ที่จะต้อง ได้รับผลกระทบจากคำสั่งนั้น ซึ่งผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ทำให้การสั่งการของเจ้าหน้าที่เกิดความผิดพลาดได้ง่าย เช่น สั่งการโดยเข้าใจข้อเท็จจริงผิดหรือทำให้การปฏิบัติราชการทางปกครองไม่โปร่งใส สร้างภาพด้านลบให้แก่ภาคราชการ รวมทั้งอาจเกิดข้อพิพาทขึ้นโดยง่าย ซึ่งทำให้มีการร้องเรียนหรือฟ้องคดีในภายหลังมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ขึ้นเพื่อให้เป็นกฎหมายกลางในการกำหนดกระบวนการพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองไว้ในส่วนที่ 3 ตั้งแต่มาตรา 26ถึงมาตรา 33 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. การกำหนดภาษาที่ใช้ในการพิจารณาทางปกครองเอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ต้องจัดทำ เป็นภาษาไทยถ้าเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศ คู่กรณีต้องจัดหาคำแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนดโดยให้ถือว่าได้มีการยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำแปลนั้นเว้นแต่เจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศก็ให้ถือว่าได้มีการยื่นเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารนั้น ส่วนหลักเกณฑ์ในการรับรองความถูกต้องคำแปลเอกสารเป็นภาษาไทยก็ดี กรณีที่ให้ยอมรับเอกสารภาษาต่างประเทศก็ดี จะได้มีการกำหนดโดยกฎกระทรวงต่อไป (มาตรา 26)
2. หลักการพิจารณาแบบไต่สวนเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการพิจารณาเรื่องทางปกครองต้องรับ ผิดชอบในการรวบรวมและตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่การพิจารณาริเริ่มโดยเอกชน (เช่น กรณีขอรับใบอนุญาต) หรือเจ้าหน้าที่เป็นผู้ริเริ่มเอง (เช่น การเพิกถอนใบอนุญาต) โดยเจ้าหน้าที่มีหน้าที่ดังนี้
(1) หน้าที่ในการแจ้งให้คู่กรณีทราบถึงสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ในกระบวนพิจารณาอย่างชัดเจน และคอยช่วยเหลือให้คู่กรณีดำเนินการให้ถูกต้อง (มาตรา 27)
(2) หน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองโดยไม่จำกัดเฉพาะข้อเท็จจริงที่ได้มาจาก คู่กรณี (มาตรา 28) ดังนั้น ้าข้อเท็จจริงที่ได้มาจากคู่กรณีไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ต้องหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม หรือหากไม่แน่ใจในความูกต้องของข้อเท็จจริง ก็จะต้องทำการตรวจสอบโดยแสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมหรือรับฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญตามแนวทางที่กำหนดไว้ในมาตรา 29 ส่วนคู่กรณีมีหน้าที่ให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่มิเช่นนั้น หากเกิดความผิดพลาดขึ้นอาจต้องร่วมรับผิด หรือมิอาจเรียกร้องค่าเสียหายได้
3. หลักการให้คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งข้อเท็จจริงและมีส่วนร่วมในกระบวนพิจารณาหลักการในข้อนี้ใช้ควบคู่กับหลักการไต่สวนตามข้อ 2 และก่อให้เกิดสิทธิแก่คู่กรณีดังนี้
(1) สิทธิในการได้รับคำแนะนำและได้รับแจ้งสิทธิหน้าที่ของตนในกระบวนพิจารณารวมถึงผลกระทบสิทธิหน้าที่จากคำสั่งทางปกครองที่จะเกิดขึ้น (มาตรา 27) ตลอดจนสิทธิในการอุทธรณ์หรือโต้แย้ง คำสั่งทางปกครองและระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือโต้แย้งนั้นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 40
(2) สิทธิในการทราบข้อเท็จจริง ข้อกล่าวหาอย่างเพียงพอภายในระยะเวลาอันสมควรเพื่อให้ สามารโต้แย้งและแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เว้นแต่กรณีตามข้อยกเว้นที่กฎหมายกำหนดโดยเหตุเกี่ยวกับความเร่งด่วน หรือสภาพของเรื่อง ซึ่งหากเจ้าหน้าที่เห็นควรก็อาจยังคงให้โอกาสคู่กรณีโต้แย้งได้ตามความเหมาะสมแต่ต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ (มาตรา 30)
(3) สิทธิในการขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นแก่การใช้สิทธิโต้แย้งหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง หรือแก้ ข้อกล่าวหา (มาตรา 31) แต่ไม่รวมถึงต้นร่างคำวินิจฉัยและเอกสารที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ (มาตรา 32)
4. กำหนดให้การพิจารณาเรื่องต้องดำเนินการโดยรวดเร็วและใช้เวลาที่แน่นอนมาตรา 33กำหนดให้คณะรัฐมนตรีวางระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐกำหนดเวลาสำหรับการพิจารณาตามความเหมาะสมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับกฎหมายหรือกฎที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
5. แบบของคำสั่งทางปกครอง
มาตรา 34 กำหนดเป็นหลักการว่า คำสั่งทางปกครองจะทำเป็นหนังสือหรือทำโดยวาจาหรือเป็นรูปแบบอื่นก็ได้ โดยทั่วไปแล้วคำสั่งทางปกครองจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนหรือโดย สภาพการณ์คำสั่งทางปกครองอาจทำเป็นวาจาหรือรูปแบบอื่นก็ได้ หากกฎหมายเฉพาะระบุไว้ชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่จะต้องทำคำสั่งในเรื่องใดเป็นหนังสือ เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งก็ไม่อาจทำคำสั่งในรูปแบบอื่นได้ เพราะเป็นการขัดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน สำหรับคำสั่งทางปกครองนั้นอาจแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
1. คำสั่งด้วยวาจา โดยทั่วไปจะเป็นการทำคำสั่งในกรณีเร่งด่วนและมิได้มีสิ่งใดเป็นหลักฐานเช่น การสั่งการของเจ้าพนักงานจราจร การสั่งการของ เจ้าหน้าที่ตำรวจดับเพลิงกรณีเกิดเพลิงไหม้ หากผู้รับคำสั่งร้องขอโดยมีเหตุอันสมควรภายใน 7 วันนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่มีคำสั่งโดยขอให้ยืนยันเป็นหนังสือ เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ (มาตรา35)
2. คำสั่งเป็นหนังสือ มาตรา 36 กำหนดให้คำสั่งที่ทำเป็นหนังสือต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ วันเดือนปีที่ทำคำสั่ง ชื่อและตำแหน่งผู้ทำคำสั่งลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง และมาตรา37 ได้กำหนดให้คำสั่งที่ทำเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญข้อกฎหมายที่อ้างอิงและข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลยพินิจการบังคับให้คำสั่งที่ทำเป็นหนังสือต้องแสดงเหตุผลเป็นการบังคับให้เจ้าหน้าที่ระมัดระวังในการทำคำสั่งอันมีผลไปทางการป้องกันไม่ให้ใช้อำนาจโดยไม่ชอบได้ อีกทั้งทำให้คู่กรณีได้ทราบว่าตนได้รับการปฏิบัติโดยถูกต้องหรือไม่อันจะเป็นประโยชน์แก่การควบคุมทางกฎหมายโดยการพิจารณาทบทวนในกระบวนการยุติธรรมทางปกครองต่อไป อย่างไรก็ดี มาตรา 37 ได้กำหนดข้อยกเว้นในกรณีที่ไม่ต้องจัดให้มีการให้เหตุผลไว้ 5 กรณี ดังนี้คือ
(1) ผลของคำสั่งทางปกครองตรงตามคำขอของคู่กรณีและไม่กระทบสิทธิของบุคคลอื่น แต่หากไปกระทบสิทธิบุคคลอื่น เช่น การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ขอเปิดกิจการสานเริงรมย์ หรือขอตั้งโรงงาน ผู้ออกคำสั่งต้องให้เหตุผลที่ทางการอนุญาตไว้ด้วย
(2) เหตุผลนั้นรู้อยู่โดยไม่จำต้องระบุอีก เช่นการยื่นขอคัดสำเนาทะเบียนบ้าน
(3) กรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งเหตุผล แต่อาจให้เหตุผลในระเบียบภายในขององค์กรเองก็ได้
(4) การออกคำสั่งด้วยวาจาซึ่งจะระบุเหตุผลไม่ได้โดยสภาพ
(5) กรณีเร่งด่วนหากระบุเหตุผลอาจทำให้การงานล่าช้าเกินควรในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะบังคับให้แสดงเหตุผล และกรณีมีประกาศของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ได้รับมอบหมายตามมาตรา 37วรรคสอง จะต้องระบุเหตุผลไว้พร้อมกับคำสั่ง การไม่ให้เหตุผลย่อมเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผล
3. คำสั่งโดยวิธีอื่น โดยหลักแล้วคำสั่งทางปกครองอาจเกิดขึ้นตามสภาพความจำเป็นแห่งสานการณ์ และผู้ทำคำสั่งดังกล่าวไม่อาจทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาได้ เช่นการให้สัญญาณมือของเจ้าพนักงานตำรวจจราจร สัญญาณธงของเจ้าหน้าที่การรถไฟ หรือเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าหรือสัญญาณไฟจราจร สัญญาณไฟกระพริบของประภาคาร ซึ่งโดยลักษณะเป็นคำสั่งประเภทหนึ่ง
นอกเหนือจากรูปแบบของคำสั่งทางปกครองแล้ว มาตรา 39 ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองอาจกำหนดเงื่อนไขในคำสั่งทางปกครองซึ่งการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวจะทำได้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้สำเร็จวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เช่น การอนุญาตให้ประกอบการขนส่ง โดยมีเงื่อนไขบังคับให้ผู้ประกอบการจะต้องจัดให้มีประกันชีวิตผู้โดยสาร เงื่อนไขเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายตามความเหมาะสมแก่กรณี ได้แก่
(1) กำหนดให้สิทธิหรือภาระหน้าที่เริ่มมีผลหรือสิ้นผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ออกใบอนุญาตให้มีผลตั้งแต่วันใด และสิ้นสุดในวันใด
(2) กำหนดให้การเริ่มมีผลหรือสิ้นผลของสิทธิหรือภาระหน้าที่ต้องขึ้นกับเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน เช่น กำหนดเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนหรือเงื่อนไขบังคับหลัง เช่น ออกใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน แต่มีเงื่อนไขให้มีผลนับแต่ผู้ขออนุญาตได้ดำเนินการจัดให้มีการบำบัดน้ำเสียในบริเวณนั้นหรือออกใบอนุญาตขับขี่ให้แต่มีเงื่อนไขสิ้นผลว่าหากตรวจสายตาไม่ผ่านใบอนุญาตสิ้นผลทันที
(3) ข้อสงวนสิทธิที่จดยกเลิกคำสั่งทางปกครอง เช่น อนุญาตขึ้นทะเบียนยาอันตรายให้เพราะยังไม่มียาอื่นที่มีประสิทธิภาพดี โดยมีข้อสงวนว่าอาจเพิกถอนได้หากทราบว่ามีอันตรายแก่ผู้ใช้ (4) กำหนดภาระหน้าที่ให้แก่ผู้รับประโยชน์ เช่น อนุญาตให้สร้างโรงแรมแต่ต้องจัดให้มีที่จอดรถ
6. ผลของคำสั่งทางปกครอง
มาตรา 42 วางหลักไว้ชัดเจนว่าคำสั่งทางปกครองมีผลใช้ยันบุคคลตั้งแต่ขณะที่ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป และคำสั่งดังกล่าวย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลโดยเงื่อนเวลา คำสั่งทางปกครองที่มีข้อบกพร่องในวิธีพิจารณา หรือบกพร่องในแบบคำสั่งทางปกครองย่อมไม่ทำให้คำสั่งทางปกครองเป็นโมฆะหรือเสียเปล่ามาแต่ต้น หากไม่กระทำผิดวิธีพิจารณาหรือขาดความชัดเจนในรูปแบบในสาระสำคัญสำหรับการแก้ไขข้อบกพร่องในคำสั่งทางปกครองอาจแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. การแก้ไขคำสั่งทางปกครองที่มีข้อบกพร่องในวิธีพิจารณาขั้นตอนในการทำคำสั่งทางปกครองไม่ใช่เนื้อหาของคำสั่งทางปกครอง หากเนื้อหาบกพร่องก็ต้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครองสานเดียว หากเนื้อถููกต้องแต่บกพร่องในเรื่องวิธีพิจารณา มาตรา 41 กำหนดหลักเกณฑ์ให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ 4 กรณี คือ
(1) การออกคำสั่งทางปกครองที่เจ้าหน้าที่ออกเองไม่ได้ เว้นแต่จะมีคำขอนั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการไปแล้วโดยยังไม่มีผู้ขอข้อบกพร่องดังกล่าวอาจแก้ไขได้เมื่อมีผู้ยื่นคำขอให้กระทำโดยถูกต้องเช่น ในหนังสือมอบอำนาจขอนำเข้าวัตถุอันตรายผู้รับมอบอำนาจมาขออนุญาตนำเข้าจากเจ้าหน้าที่แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าวัตถุอันตรายดังกล่าวจะต้องมีการขึ้นทะเบียนก่อนจึงจะนำเข้ามาได้เจ้าหน้าที่อาจขึ้นทะเบียนให้โดยแจ้งให้ผู้รับมอบอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้ถูกต้องในภายหลัง
(2) คำสั่งทางปกครองที่ไม่ระบุเหตุผลถือเป็นข้อบกพร่องสำคัญ หากเจ้าหน้าที่จัดให้มีเหตุผลในภายหลังแล้วคำสั่งทางปกครองนั้นถือว่าสมบูรณ์
(3) คำสั่งทางปกครองที่ต้องรับฟังคู่กรณี แต่หากคำสั่งที่ออกมามีข้อบกพร่องโดยรับฟังน้อยเกินไปไม่มีเอกสารครบถ้วน หากภายหลังได้รับฟังแล้วและผลการพิจารณาไม่เปลี่ยนไปจากเดิมถือว่าคำสั่งนั้นได้รับการแก้ไขให้สมบูรณ์แล้ว
(4) คำสั่งทางปกครองที่ต้องให้เจ้าหน้าที่อื่นให้ความเห็นชอบก่อนหากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นให้ความเห็นชอบในภายหลังถือว่าคำสั่งนั้นได้รับการแก้ไขให้สมบูรณ์แล้ว
2. การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องรูปแบบของคำสั่งทางปกครอง โดยหลักการแล้วคำสั่งทางปกครองที่ไม่มีความชัดเจนเพียงพอจะต้องถือว่าเป็นโมฆะ เพราะผู้รับคำสั่งไม่อาจปฏิบัติตามได้ อย่างไรก็ดี หากคำสั่งทางปกครองมีข้อผิดพลาดในรายละเอียดเล็กน้อยในเรื่องรูปแบบของคำสั่ง มาตรา 43วางหลักว่า เจ้าหน้าที่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้เสมอไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานเพียงใดก็ตามและถ้าได้แก้ไขเพิ่มเติมอย่างใด ต้องแจ้งให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อให้บุคคลเหล่านั้นสามารอ้างอิงคำสั่งทางปกครองที่ถูกต้องต่อไป ฉะนั้น มาตรา 43 วรรคสองจึงให้อำนาจ เจ้าหน้าที่เรียกผู้ที่เกี่ยวข้องจัดส่งคำสั่งทางปกครอง เอกสาร หรือวัตถุใด ที่ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมได้ เพื่อมิให้บุคคลที่เกี่ยวข้องหลงผิดในการใช้เอกสารหรือวัตถุดังกล่าวต่อไป
7. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองโดยเจ้าหน้าที่
7.1 หลักทั่วไป
เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่นั้นอาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเมื่อใดและในชั้นใดก็ได้ ไม่ว่าจะพ้นขั้นตอนการกำหนดให้อุทธรณ์ หรือให้โต้แย้งตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 หรือตามกฎหมายอื่นมาแล้วหรือไม่ (มาตรา 49วรรคหนึ่ง)เว้นแต่จะเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ที่มิได้ทำขึ้นเพราะการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง หรือการข่มขู่หรือการชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย การเพิกถอนจะต้องกระทำภายใน 90 วันนับแต่ได้รู้เหตุที่จะให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น (มาตรา 49 วรรคสอง)โดยหลักแล้วการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองจะต้องคำนึงถึงความมั่นคงแห่งสิทธิที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากคำสั่งทางปกครองและต้องปกป้องผู้ที่เชื่อโดยสุจริต ในผลของคำสั่งทางปกครองโดยพิจารณา ประโยชน์ของผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองผู้ได้รับผลกระทบจากคำสั่งทางปกครอง และประโยชน์สาธารณะประกอบ 7.2 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอาจแบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ (1) คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคำสั่งนั้น ไม่เป็นการให้ประโยชน์ แก่ผู้รับคำสั่งเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่นั้นอาจเพิกถอนทั้งหมดและบางส่วนโดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลัง หรือให้มีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดก็ได้มาตรา 50
(2) การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและคำสั่งนั้นเป็นการให้เงินหรือให้ทรัพย์สิน หรือให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้แก่ผู้รับคำสั่ง เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่นั้น อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือให้มีผล ในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดก็ได้แต่การเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวจะต้องคำนึง ถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองนั้นกับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน (มาตรา 50 ประกอบกับมาตรา 51 วรรคหนึ่ง)
(3) ในกรณีที่ผู้รับคำสั่งทางปกครองมีความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองถ้าได้ใช้ประโยชน์อันเกิดจากคำสั่งทาง ปกครองนั้นหรือได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้วโดยไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้หรือการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ผู้นั้นเสียหายเกินสมควรเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่นั้นอาจจะไม่สามารเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้นย้อนหลังไปลบล้างคำสั่งเดิมได้ (มาตรา 50 ประกอบกับมาตรา 51 วรรคสอง) กรณีดังต่อไปนี้ผู้รับคำสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ (มาตรา 51 วรรคสาม)
(ก) ผู้นั้นได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งข่มขู่หรือชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันมิชอบ
(ข) ผู้นั้นได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ควรบ้วนในสาระสำคัญ
(ค) ผู้นั้นได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมาย ของคำสั่งทางปกครองในขณะได้รับคำสั่งหรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
7.3 การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งทางปกครองแม้จะออกมาโดยชอบด้วยกฎหมายแต่บางกรณีนั้น มีผลบังคับที่ไม่เหมาะสมแก่สานการณ์หรือมีเหตุการณ์สำคัญการคงคำสั่งดังกล่าวย่อมไม่เกิดผลดีจึงจำเป็นต้องมีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายอาจแบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ
(1) คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่ง
เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่นั้นอาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอนหรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดไว้ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องทำคำสั่งทางปกครองที่มีเนื้อหาทำนองเดียวกันอีกหรือการเพิกถอนคำสั่งนั้นไม่อาจทำได้เพราะเหตุอื่นแต่อย่างไรก็ตาม การเพิกถอนคำสั่งที่มีลักษณะดังกล่าวจะต้องคำนึงประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วย (มาตรา 53 วรรคหนึ่ง)
(2) คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยให้มีผล ตั้งแต่ขณะที่เพิกถอน หรือมีผลในอนาคตได้เมื่อเกิดกรณีดังต่อไปนี้ (มาตรา 53 วรรคสอง)
(ก) มีกฎหมายกำหนดให้เพิกถอนได้หรือมีข้อสงวนสิทธิให้เพิกถอนได้
(ข) คำสั่งนั้นมีข้อกำหนดให้ผู้รับประโยชน์ต้องปฏิบัติ แต่ไม่มีการปฏิบัติภายในกำหนดเวลา
(ค) มีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปและหากไม่เพิกถอนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะ
(ง) มีบทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไปซึ่งการเพิกถอนจะจำกัดให้กระทำได้เท่าที่ผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือยังไม่ได้รับประโยชน์และหากไม่เพิกถอนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะ
(จ) อาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะหรือต่อประชาชน
(3) คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้เงิน ให้ทรัพย์สิน หรือให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกได้
เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่นั้นอาจเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังหรือมีผลในอนาคตไปถึงในขณะใดขณะหนึ่งก็ได้ในกรณีดังต่อไปนี้(มาตรา 53 วรรคสี่)
(ก) ได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครอง
(ข) ผู้รับประโยชน์มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในการดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของคำสั่งทางปกครอง
7.4 การเยียวยาประโยชน์ที่เสียหาย
1. กรณีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(1) ในกรณีที่เป็นการเพิกถอน การให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกได้การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่จะต้องพิจารณาจากสภาพของเรื่องความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ และประโยชน์สาธารณะประกอบกันโดยกำหนดให้บุคคลผู้รับคำสั่งทางปกครองต้องคืนประโยชน์ที่ได้รับไปตามหลักลาภมิควรได้ ถ้าผู้นั้นได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองในขณะได้รับคำสั่ง หรือการไม่รู้นั้นเป็นไปด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงผู้นั้นก็ต้องคืนประโยชน์ที่ได้รับไปเต็มจำนวน (มาตรา 51 วรรคสี่)
(2) ในกรณีที่เป็นการเพิกถอนการให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกไม่ได้ผู้ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนมีสิทธิได้รับค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งนั้น โดยค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าวจะต้องไม่สูงกว่าประโยชน์ที่ผู้นั้นอาจได้รับ (มาตรา 52)
2. กรณีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้เสียประโยชน์จากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายตามเหตุในข้อ 7.3 (2) (ค) (ง) และ (จ) ย่อมได้รับค่าทดแทนความเสียหายอันเกิดจากความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งนั้นทำนองเดียวกันกับผู้ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์ที่แบ่งแยกไม่ได้ (มาตรา 53 วรรคสาม)
8. คู่กรณีขอให้พิจารณาใหม่
การขอให้พิจารณาใหม่ตามมาตรา 54 เป็นประเภทหนึ่งของกระบวนการเยียวยาในฝ่ายปกครองที่คู่กรณีผู้รับคำสั่งได้ร้องขอให้เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งได้พิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการอุทธรณ์ตามมาตรา 44หรือการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองตามมาตรา49ถึงมาตรา 53 กระบวนวิธีพิจารณากรณีมีการขอให้พิจารณาใหม่ อาจแยกออกได้เป็น 3 ขั้นตอนคือ
1. ขั้นตอนการพิจารณาคำขอ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขการรับคำขอไว้ 4ประการ ดังนี้
(1) ต้องมีการยื่นคำขอโดยคู่กรณีผู้ได้รับคำสั่งทางปกครอง (มาตรา 54วรรคหนึ่ง)
(2) คำสั่งทางปกครองนั้นได้พ้นระยะเวลาที่จะอุทธรณ์ (มาตรา 54วรรคหนึ่ง)
(3) คู่กรณีต้องไม่ทราบเหตุแห่งการขอให้พิจารณาใหม่ในการพิจารณาครั้งที่แล้วมาก่อนโดยมิใช่ความผิดของตน (มาตรา 54 วรรคสอง) (4) คำขอให้พิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 90 วัน นับแต่ได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้มีการพิจารณาใหม่ได้ (มาตรา 54 วรรคสาม)
2. ขั้นตอนการตรวจสอบเงื่อนไขอำนาจที่ให้มีการพิจารณาใหม่
ซึ่งเป็นขั้นตอนพิจารณาว่ากรณีเข้าเงื่อนไขสมควรจะมีการพิจารณาใหม่ให้หรือไม่โดยมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ได้กำหนดเหตุที่จะต้องพิจารณาใหม่ให้หากมีคำขอด้วยกัน 4 ประการคือ
(1) มีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไป (มาตรา 54 วรรคหนึ่ง (1))
(2) คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง หรือได้เข้ามาแล้วแต่ถูก ตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง (มาตรา 54 วรรคหนึ่ง (2))
(3) เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจที่จะทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น (มาตรา 54 วรรคหนึ่ง (3))
(4) คำสั่งทางปกครองได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญในทางที่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี
3. ขั้นตอนการพิจารณาตัดสิน
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่ต้องชี้ขาดข้อเท็จจริงอีกครั้งในขณะที่มีการพิจารณาใหม่ว่ามีอยู่ อย่างไร ข้อเท็จจริงที่มีการฟังเป็นยุติใหม่นั้นหรือในกรณีที่ข้อกฎหมายเปลี่ยนแปลงไปนั้นมีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของคู่กรณีแตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ อย่างไร และควรมีคำสั่งใหม่ประการใด
9. การบังคับทางปกครอง
9.1 ความหมายของ "การบังคับทางปกครอง"
การบังคับทางปกครอง หมายถึง การดำเนินการของเจ้าหน้าที่โดยใช้มาตรการบังคับทางปกครองกับประชาชน ที่มีภาระผูกพันต้องปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครอง (มาตรา 56 วรรคหนึ่ง)
9.2 ขอบเขตของการบังคับทางปกครอง
ขอบเขตของการบังคับทางปกครองแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ในด้านเนื้อหาของคำสั่งทางปกครอง
คำสั่งทางปกครองที่จะมีการบังคับทางปกครองได้นั้น จะต้องเป็นคำสั่งทางปกครองประเภทที่ต้องมีการบังคับการให้เป็นไปตามเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์ของคำสั่งทางปกครองเท่านั้นหากเป็นคำสั่งทางปกครองประเภทที่เนื้อหาของคำสั่งทางปกครองนั้นมีความสมบูรณ์ในตัวเองไม่จำเป็นต้องมีการบังคับทางปกครองต่อไปซึ่งส่วนใหญ่จะได้แก่คำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้สิทธิหรือรับรองสิทธิของประชาชนผู้รับคำสั่งทางปกครอง เช่นใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงาน หรือหนังสือรับรองสัญชาติ เป็นต้นคำสั่งทางปกครองที่มีเนื้อหาในลักษณะดังกล่าวก็ไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องมีการบังคับทางปกครอง
2. ในด้านตัวบุคคลที่จะถููกบังคับทางปกครอง
บุคคลที่จะถููกบังคับทางปกครองได้แก่ ประชาชนที่มีความผูกพันต้องปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง การบังคับทางปกครองจึงไม่ใช้กับเจ้าหน้าที่ด้วยกัน เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น(มาตรา55)
9.3 หลักการที่สำคัญของการบังคับทางปกครอง
โดยที่การบังคับทางปกครอง เป็นการใช้มาตรการบังคับทางปกครองที่จะมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง นอกจากนี้ในการกำหนดมาตรการบังคับทางปกครองนั้น เจ้าหน้าที่ก็มีดุลยพินิจในการเลือกใช้มาตรการบังคับทางปกครองได้ (มาตรา 63) ดังนั้นในการดำเนินการบังคับทางปกครองเจ้าหน้าที่จึงต้องคำนึงถึงหลักการที่สำคัญดังต่อไปนี้ คือ
1. หลักความสมเหตุสมผล (มาตรา 56 วรรคสาม)
2. หลักการบังคับทางปกครองเท่าที่จำเป็น (มาตรา 56 วรรคสาม)
3. หลักความแน่นอนและชัดเจน (มาตรา 59 วรรคสอง และมาตรา 60 วรรคหนึ่ง)
9.4 มาตรการบังคับทางปกครองกรณีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้
ชำระเงินสำหรับกรณีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน มาตรการบังคับทางปกครองได้แก่การยึด การอายัดและการขายทอดตลาดเพื่อชำระเงิน โดยก่อนใช้มาตรการบังคับทางปกครองดังกล่าวเจ้าหน้าที่ต้องมีหนังสือเตือนให้ประชาชนผู้อยู่ในบังคับคำสั่งทางปกครองชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน (มาตรา 57 วรรคหนึ่ง) นอกจากนั้นมาตรการบังคับทางปกครองดังกล่าวข้างต้นเจ้าหน้าที่ยังสามารนำมาใช้ในกรณีไม่มีการชำระค่าปรับทางปกครองได้เช่นเดียวกัน (มาตรา61)
9.5 มาตรการบังคับทางปกครองกรณีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำ
สำหรับกรณีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำมาตรการบังคับทางปกครองที่เจ้าหน้าที่จะนำมาใช้ได้แก่ มาตรการบังคับทางปกครองอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1. การจัดการแทน
โดยเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่น กระทำการแทนโดยผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่าย และเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบห้าต่อปีของค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ (มาตรา 58 (2))
2. การกำหนดค่าปรับทางปกครอง
โดยเจ้าหน้าที่เป็นผู้กำหนดค่าปรับทางปกครองตามจำนวนที่สมควรแก่เหตุแต่ต้องไม่เกิน สองหมื่นบาทต่อวัน (มาตรา 58 (2)) ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองในข้อ1. และ ข้อ 2. เจ้าหน้าที่ต้องมีคำเตือนเป็นหนังสือให้ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองกระทำหรือละเว้นกระทำตามคำสั่งทางปกครองภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสมควรแก่กรณีก่อนโดยคำเตือนดังกล่าวจะต้องมีรายละเอียดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย เช่น ระบุถึงมาตรการบังคับทางปกครองที่จะใช้ค่าใช้จ่ายในการที่เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการแทน หรือจำนวนค่าปรับทางปกครองเป็นต้น
9.6 การขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตำรวจ
ในการที่เจ้าหน้าที่ใช้กำลังเข้าดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการบังคับทางปกครอง เนื่องจากประชาชนผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองต่อสู้ขัดขวางการบังคับทางปกครองนั้นหากมีความจำเป็นเจ้าหน้าที่อาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตำรวจได้ (มาตรา60วรรคสอง)
9.7 สิทธิในการอุทธรณ์การบังคับทางปกครอง
ผู้ถูกดำเนินการตามมาตรการบังคับทางปกครองมีสิทธิอุทธรณ์การบังคับทางปกครองได้นื่องจากการบังคับทางปกครองมีลักษณะเป็น คำสั่งทางปกครองเช่นเดียวกันสำหรับหลักเกณฑ์และ วิธีการเกี่ยวกับการอุทธรณ์การบังคับทางปกครองเป็นไปทำนองเดียวกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองในกรณีทั่วไป (มาตรา 62)
10. ระยะเวลา อายุความ และการแจ้ง
10.1 ระยะเวลา
การพิจารณาออกคำสั่งทางปกครอง และการบังคับตามคำสั่งทางปกครองจำเป็นต้องมี เรื่องระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องการนับระยะเวลาหากกำหนดเป็นวัน สัปดาห์ เดือน หรือปี มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมเข้าไปด้วย เว้นแต่จะได้เริ่มการในวันนั้นหรือมีการกำหนดเป็นอย่างอื่นโดยเจ้าหน้าที่ (มาตรา 64วรรคหนึ่ง)สำหรับกรณีกำหนดเวลาที่สั้นกว่าวันพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯมิได้กล่าวถึง กรณีก็คงต้องนำหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ กล่าวคือต้องนับระยะเวลาโดยละเอียดเป็น ชั่วโมง นาที ตามความเป็นจริงในกรณีที่วันสุดท้ายของ กำหนดเวลาเป็นวันหยุด และเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องกระทำการนั้น ให้นับวันหยุดนั้นรวมเข้ากับระยะเวลาด้วย เพื่อมิให้ยืดเวลาการปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติอยู่เสมอแม้จะเป็นวันหยุดก็ตามแต่ถ้าหากเป็นกรณีที่เอกชนมีหน้าที่ต้องกระทำการ หากไม่มีกฎหมายหรือคำสั่งของเจ้าหน้าที่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือว่าระยะเวลาสิ้นสุดในวันทำงานที่นับจากวันหยุดนั้น ๆ เนื่องจากในวันหยุดย่อมไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติงาน ทำให้เอกชนไม่สามารติดต่อด้วยได้ (มาตรา 64 วรรคสองและวรรคสาม)
ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำสั่งของเจ้าหน้าที่นั้น เจ้าหน้าที่อาจพิจารณาขยายให้อีกได้ซึ่งโดยปกติก็จะต้องนับเวลาที่ขยายต่อไปจากกำหนดเวลาเดิม แต่อย่างไรก็ดีถ้าระยะเวลาเดิมได้สิ้นสุดลงแล้วและการสิ้นสุดเช่นนั้นจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม เช่น การที่เจ้าหน้าที่ใช้เวลานานในการพิจารณาต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และได้มีคำสั่งให้ต่ออายุใบอนุญาตภายหลังสิ้นสุดใบอนุญาตเดิมเจ้าหน้าที่ก็อาจขยายกำหนดเวลาการอนุญาตให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ เพื่อให้ ผู้รับใบอนุญาตได้รับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องกันได้ (มาตรา 65) นอกจากนี้ผู้ที่ต้องกระทำการใดภายในเวลาที่กำหนดไม่สามารกระทำการภายในเวลาดังกล่าวได้โดยมิใช่ความผิดของตน เช่นเจ้าหน้าที่เรียกให้ผู้รับใบอนุญาตส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลาแต่ระหว่างนั้นเอกสารดังกล่าวถูกโจรกรรม และได้รับเอกสารคืน เมื่อจับคนร้ายได้หลังจากพ้นกำหนดเวลาแล้ว ดังนี้ ย่อมมีคำขอให้เจ้าหน้าที่ขยายระยะเวลาให้ได้ หรือหากเป็นกรณีอยู่ระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาทางปกครองก็อาจให้ดำเนินการส่วนหนึ่งส่วนใดที่กล่าวมาแล้วเสียใหม่ก็ได้เช่นให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม (ม. 66)
10.2 อายุความ
โดยปกติอายุความฟ้องคดีย่อมนับเดินไปตลอดเวลาแต่อย่างไรก็ดี หากผู้ได้รับคำสั่งทางปกครองหรือผู้ถูกบังคับทางปกครองไม่พอใจคำสั่งหรือคำบังคับดังกล่าวได้ยื่นอุทธรณ์ตามกฎหมายนี้ หรือยื่นคำขอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทหรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่ คือไม่นับเดินระหว่างนั้นจนกว่าการพิจารณาจะถึึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นที่มิใช่การอนคำขอหรือทิ้งคำขอเพื่อให้โอกาสที่ผู้นั้นจะได้ใช้สิทธิของตนในการขอให้องค์กรวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองได้พิจารณา โดยไม่กระทบถึงอายุความในการฟ้องคดีต่อศาล (มาตรา 67)
10.3 การแจ้ง
การแจ้งเป็นการทำให้ทราบถึงคำสั่งทางปกครองตลอดจนขั้นตอน การพิจารณาหรือการอื่นๆ โดยเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ โดยการแสดงด้วยวิธีการต่างๆ ให้ผู้รับทราบความหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สัญญาณแสง เครื่องหมาย สัญญาณเสียง ฯลฯ โดยปกติหากไม่มีกฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่นการแจ้งอาจกระทำด้วยวาจาก็ได้ (มาตรา 69) ซึ่งย่อมมีผลทันทีเมื่อได้รับแจ้งแต่อย่างไรก็ดีหากผู้รับแจ้งต้องการให้กระทำเป็นหนังสือก็ให้แจ้งเป็นหนังสือซึ่งก็เป็นการยืนยันการแจ้งด้วยวาจาที่มีผลสมบูรณ์ไปแล้วนั่นเอง การแจ้งเป็นหนังสือจะมีผลตั้งแต่ส่งหนังสือให้ถึงผู้รับ ไม่ว่าจะส่งต่อหน้าผู้รับนั้น หรือส่งไปยังภูมิลำเนาซึ่งรวมไปถึงที่อยู่ที่ได้ให้ไว้ต่อเจ้าหน้าที่ด้วย ในกรณีที่ผู้รับไม่ยอมรับหรือไม่พบผู้รับและได้มีการวางหรือปิดหนังสือนั้นไว้ต่อหน้าเจ้าพนักงาน ถือว่าได้รับแจ้งแล้ว (มาตรา 70)การส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ (มาตรา 71) และในกรณีจำเป็น การส่งทางโทรสาร (มาตรา 74)ก็เป็นวิธีการที่กฎหมายรับรองด้วย การปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการของเจ้าหน้าที่และที่ว่าการอำเภอที่ผู้รับมีภูมิลำเนาก็สามารกระทำได้ หากเป็นกรณีที่มีผู้รับเกิน 50 คน (มาตรา 72) สำหรับ การประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งแพร่หลายในท้องถิ่นก็สามารกระทำได้ ในกรณีที่ไม่รู้ตัวผู้รับหรือภูมิลำเนาหรือในกรณีที่มีผู้รับเกิน 100 คน (มาตรา 73)
11. การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
11.1 การใช้บังคับ
ในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้คำสั่งทางปกครองใดมีขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์ หรือโต้แย้งไว้แล้วเช่นใด คู่กรณีก็ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กฎหมายเฉพาะนั้นบัญญัติไว้แม้ว่าขั้นตอนและระยะเวลาดังกล่าวนั้นจะมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ก็ตามทั้งนี้เนื่องจากการในอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่บัญญัติไว้ในกฎหมายเฉพาะแต่ละฉบับเป็นเรื่องละเอียดอ่อนจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละเรื่องแต่ละฉบับการกำหนดหลักเกณฑ์กลางเพื่อให้ใช้บังคับกับกฎหมายเฉพาะทุกฉบับจึงไม่เหมาะสมและกระทำได้ยาก ส่วนคำสั่งทางปกครองที่ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายเฉพาะกำหนดเรื่องขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ก็ย่อมถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและระยะเวลาตามพระราชบัญญัตินี้ มิฉะนั้นคู่กรณีจะไม่สามารถนำคดีไปสู่การพิจารณาขององค์กรวินิจฉัยคดีปกครองได้ (มาตรา 3วรรคสอง)ในกรณีที่กฎหมายเฉพาะกำหนดให้คำสั่งทางปกครองใดต้องอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นคณะกรรมการ นอกจากขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์และกระบวนการพิจารณาจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะนั้นแล้วยังให้ใช้กระบวนพิจารณาที่ได้บัญญัติไว้ในหมวด 2 ของพระราชบัญญัตินี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกระบวนพิจารณาในกฎหมายเฉพาะฉบับนั้นอีกด้วย (มาตรา 47)แต่อย่างไรก็ตาม มีคำสั่งทางปกครองอยู่ 2 ประเภท ที่แม้จะมิได้มีกฎหมายเฉพาะกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งเอาไว้ แต่ก็ไม่อยู่ภายใต้บังคับให้ต้องอุทธรณ์เสียก่อนจึงจะนำคดีไปสู่การพิจารณาขององค์กรวินิจฉัยคดีปกครองได้ ได้แก่
1. คำสั่งทางปกครองของรัฐมนตรี
ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองได้ออกโดยรัฐมนตรีคำสั่งทางปกครองดังกล่าวจะไม่อยู่ภายใต้บังคับให้ต้องอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้เนื่องจากรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายเฉพาะฉบับใดก็เป็นองค์กรสูงสุดตามกฎหมายฉบับนั้นๆ จึงไม่มีผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่าที่จะพิจารณาคำอุทธรณ์ได้ ดังนั้น คู่กรณีจึงต้องโต้แย้งคำสั่งทางปกครองนั้นต่อองค์กรวินิจฉัยคดีปกครองโดยตรง (มาตรา 44 วรรคหนึ่ง)
2. คำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการ
ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองได้ออกโดยคณะกรรมการต่างๆไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายหรือไม่คำสั่งทางปกครองดังกล่าวจะไม่อยู่ภายใต้บังคับให้ต้องอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัตินี้ เนื่องจากคณะกรรมการต่างๆ เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจทางปกครองโดยเฉพาะและไม่อยู่ในระบบสายการบังคับบัญชาคำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการจึงเป็นที่สุดไม่มีองค์กรใดที่สูงกว่าที่จะพิจารณาคำอุทธรณ์ได้ ดังนั้น คู่กรณีจึงต้องโต้แย้งคำสั่งทางปกครองนั้นต่อองค์กรวินิจฉัยคดีปกครองโดยตรง (มาตรา 48)
11.2 การยื่นอุทธรณ์และกำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
1. ผู้ที่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
ผู้ที่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง คือ "คู่กรณี" ซึ่งได้แก่ผู้ที่ได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองทุกคนนั่นเอง ซึ่งได้แก่ ผู้ที่ได้ยื่นคำขอ ผู้คัดค้านคำขอผู้อยู่ในบังคับหรือจะอยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง และผู้ที่ได้เข้ามาในกระบวนพิจารณาทางปกครองอื่นๆแต่สำหรับบุคคลภายนอกที่มิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองนั้นจะอุทธรณ์ไม่ได้ แต่บุคคลดังกล่าวสามารโต้แย้งคำสั่งทางปกครองนั้นต่อองค์กรวินิจฉัยคดีปกครองได้โดยตรง (มาตรา 44)
2. ผู้ที่จะรับอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
คู่กรณีจะต้องอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองต่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองที่ระบุชื่อและตำแหน่งในคำสั่งทางปกครองนั้นเพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ที่ทราบเรื่องและอยู่ในฐานะที่จะทบทวนคำสั่งทางปกครองของตนเองได้ดีที่สุด (มาตรา 44 วรรคหนึ่ง)
3. กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
คู่กรณีต้องอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว(มาตรา 48 วรรคหนึ่ง)แต่ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองดังกล่าวมิได้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งการยื่นคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งไว้ในคำสั่งทางปกครองนั้นด้วย (มาตรา 40 วรรคหนึ่ง) ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งนั้นจะเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ดังกล่าวแต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่ดังกล่าวและระยะเวลาที่อาจอุทธรณ์ได้ตามพระราชบัญญัตินี้ (สิบห้าวัน ตามมาตรา 44 วรรคหนึ่ง) หรือตามกฎหมายเฉพาะ (ถ้ามี) มีระยะเวลาสั้นกว่าหนึ่งปีให้ขยายเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง(มาตรา 40 วรรคสอง) อนึ่ง คำสั่งทางปกครองที่ออกก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับไม่อยู่ภายใต้บังคับให้ต้องอุทธรณ์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้
11.3 รูปแบบของคำอุทธรณ์
(1) คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือ
(2) คำอุทธรณ์ต้องมีข้อโต้แย้งว่าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งทางปกครองนั้นอย่างชัดเจน
(3) คำอุทธรณ์ต้องมีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ข้อความดังกล่าวก็เป็นแต่เพียงแสดงให้เกิดความเข้าใจว่าประสงค์จะโต้แย้งส่วนใดหรือโต้แย้งคำสั่งทางปกครองนั้นทั้งหมดก็เพียงพอแล้ว (มาตรา 44 ว.สอง)
11.4 การพิจารณาอุทธรณ์
เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองที่ได้รับคำอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองมีอำนาจพิจารณาทบทวนคำสั่งทางปกครองของตนเองตามคำอุทธรณ์ได้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายหรือความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางปกครองและอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นไปในทางใดและในเรื่องใดก็ได้ภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน (มาตรา46) โดยต้องพิจารณาให้เสร็จและแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบว่าตนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์นั้นโดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ (มาตรา 45 วรรคหนึ่ง)ในกรณีที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ (มาตรา 45 วรรคหนึ่ง) แต่ถ้าไม่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์นอกจากจะต้องแจ้งผลให้แก่ผู้ร้องทุกข์ทราบแล้วก็ต้องเร่งรายงาน "ความเห็น" พร้อมด้วย "เหตุผล" ไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ดังกล่าวด้วย ส่วนว่าผู้ใดจะเป็น "ผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์" นั้น ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแต่โดยทั่วไปแล้วก็คือเจ้าหน้าที่ในระดับสูงขึ้นตามสายงานบังคับบัญชานั่นเอง (มาตรา 45 วรรคสาม) ซึ่งผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตนได้รับรายงาน แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ก็ต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบก่อนครบกำหนดระยะเวลาสามสิบวันดังกล่าวและผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์สามารถ ขยายระยะเวลาพิจารณาคำอุทธรณ์ออกไปได้อีกไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาสามสิบวันแรก (มาตรา 45 วรรคสอง)ส่วนขอบเขตการพิจารณาคำอุทธรณ์นั้นก็เป็นเช่นเดียวกับขอบเขตการพิจารณาคำอุทธรณ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองนั่นเอง (มาตรา 46)
11.5 ผลการพิจารณาอุทธรณ์
เมื่อผู้ออกคำสั่งทางปกครองพิจารณาคำอุทธรณ์หรือเมื่อผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ พิจารณาคำอุทธรณ์ตามขั้นตอนดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น บุคคลดังกล่าวอาจจะมีคำสั่งแทนคำสั่งเดิมได้เต็มที่ เพราะในระบบนี้เป็นการพิจารณาอุทธรณ์โดยผู้บังคับบัญชาตามสายงานปกติจึงเป็นการทบทวนคำสั่งทางปกครองภายในฝ่ายปกครองด้วยกันเองแต่หลักเกณฑ์การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเดิมจะกระทำได้เพียงใด และจะมีผลย้อนหลังหรือมีผลในอนาคตอย่างไรก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้(มาตรา 49ถึงมาตรา 53)
11.6 การทุเลาการบังคับ
การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองไม่เป็นเหตุให้มีการทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองดังนั้น เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองยังคงบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองนั้นได้แม้ว่าจะมีผู้อุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้น (มาตรา 44 วรรคสาม) แต่อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ หรือองค์กรวินิจฉัยคดีปกครองมีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับคำสั่งทางปกครองนั้นได้ (มาตรา 56 วรรคหนึ่ง)
12. คณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครอง
บทบัญญัติในหมวด 5 ของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 นี้ เป็นบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครอง ซึ่งกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับคณะกรรมการไว้ 10 ประการ ตั้งแต่มาตรา 75 ถึงมาตรา 84 แต่มีปัญหาพื้นฐาน 3 ประการที่จะต้องพิจารณาก่อนจะไปพิจารณาในรายละเอียดทั้ง 10ประการข้างต้น คือ
1. วัตถุประสงค์ของบทบัญญัติในหมวดนี้
2. ประเภทของคณะกรรมการตามบทบัญญัตินี้
3. คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นโดยบทบัญญัติประเภทใด
12.1 วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของบทบัญญัติในหมวด 5 มี 2 ประการ คือ ประการแรกเพื่อให้มีบทบัญญัติกลางเกี่ยวกับการแต่งตั้งและการประชุมของคณะกรรมการไว้ในกฎหมายนี้ และในอนาคตจะได้ไม่ต้องบัญญัติซ้ำซ้อนไว้ในกฎหมายฉบับอื่นๆ อีกซึ่งกฎหมายที่จะบัญญัติใหม่อาจไม่ต้องบัญญัติส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการไว้เลยหรือบัญญัติไว้เฉพาะส่วนที่จะต้องเพิ่มเติมหรือแตกต่างไปจากกฎหมายฉบับนี้ ขอให้ดูตัวอย่างในกฎหมายฉบับนี้ เช่น มาตรา 9 บัญญัติให้ใช้ความในมาตรา76 โดยเพิ่มเติมรายละเอียดบางประการขึ้น ประการที่สอง เพื่อตีกรอบกำหนดบทบาทและเอกภาพของคณะกรรมการไว้เพื่อให้การพิจารณาและการตัดสินใจออกคำสั่งทางปกครองมีระบบที่ชัดเจนเนื่องจากคำสั่งทางปกครองนั้นจะต้องออกโดยเจ้าหน้าที่ ซึ่งหมายความรวมถึง "คณะบุคคล" ซึ่งได้แก่คณะกรรมการด้วย
12.2 ประเภทของคณะกรรมการ
บทบัญญัติในหมวดนี้ครอบคลุมถึงคณะกรรมการ 2 ประเภท คือ
(1) คณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง
(2) คณะกรรมการที่มีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทโดยชื่อของหมวดนี้อาจทำให้เข้าใจผิดว่าไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท แต่เมื่อดูในบทบัญญัติมาตรา 78 มาตรา 79 วรรคสอง และมาตรา 84 แล้วจะเห็นว่าบทบัญญัติในหมวดนี้ครอบคลุมคณะกรรมการทั้ง 2 ประเภทแต่บทบัญญัติ นี้ไม่ครอบคลุมถึงคณะกรรมการอื่นที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและวินิจฉัยคำสั่งทางปกครอง เช่น คณะกรรมการปรับปรุงประมวลกฎหมายต่าง ๆ เป็นต้น
12.3 คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นโดยบทบัญญัติประเภทใด
คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามบทบัญญัติในหมวด 5 นี้มีทั้งที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายเช่นพระราชบัญญัติ (มาตรา 76 (6)) และ คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายลำดับรองและคำสั่งในทางบริหารอื่น (มาตรา 79 วรรคสอง) ฉะนั้น บทบัญญัติในหมวดนี้จึงครอบคลุมถึงคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นโดยไม่จำกัดว่าเป็นคณะกรรมการระดับใดเพียงแต่ว่าถ้ามีบทบัญญัติเฉพาะไว้แล้วก็จะไม่นำบทบัญญัติในหมวดนี้มาใช้
เมื่อพิจารณาจากหลักทั่วไปทั้ง 3 ประการข้างต้น อาจจะสรุปได้ว่าบทบัญญัติในหมวดนี้เกี่ยวพันกับชีวิตการบริหารราชการแผ่นดินในทุกระดับและตลอดเวลา เพราะความในหมวดนี้จะเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการต่างๆ ในระดับชาติ เช่น ก.พ. ก.ค. ก.ตร. อ.ก.พ. คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติ จัดตั้งรัฐวิสาหกิจต่างๆ รวมถึงคณะกรรมการระดับต่ำลงมา เช่น คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัย คณะกรรมการจัดซื้อ จัดจ้าง ตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการสอบคัดเลือกสอบแข่งขัน ฯลฯ ซึ่งในทุกวันข้าราชการทุกระดับจะต้องไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการดังกล่าวทั้งสิ้น ทั้งที่เป็นกรรมการเองและเป็นคู่กรณีกับคณะกรรมการดังกล่าว การเรียนรู้บทบัญญัติในหมวดนี้จึงสำคัญมาก เพราะหากคณะกรรมการดำเนินการไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวดนี้คำสั่งทางปกครองของคณะกรรมการอาจถูกเพิกถอนเสียได้ โดยหากศาลปกครองหรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวมีผลกระทบต่อความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองนั้นซึ่งเป็นปัญหาในทางคดีปกครองอีกส่วนหนึ่งแต่ทางที่ดีคือควรจะได้ศึกษาบทบัญญัติในหมวดนี้และดำเนินการให้ถูกต้องเสียตั้งแต่ต้น ซึ่งรายละเอียดปรากฏในข้อ 12.4 ดังต่อไปนี้
12.4 สาระสำคัญของบทบัญญัติในหมวด 5
สาระสำคัญของบทบัญญัติในหมวด 5 ประกอบด้วย 10 ส่วน คือ
(1) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องระบุตัวบุคคล (มาตรา 75)
(2) กรณีพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ (มาตรา 76)
(3) คณะกรรมการที่เป็นแทนหรือเพิ่มขึ้น (มาตรา 77)
(4) การให้กรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทพ้นก่อนวาระ (มาตรา 78)
(5) องค์ประชุม (มาตรา 79)
(6) การประชุม (มาตรา 80)
(7) ประธานกรรมการ (มาตรา 81)
(8) การลงมติ (มาตรา 82)
(9) รายงานการประชุม (มาตรา 83)
(10) คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท (มาตรา 84)
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
1. กรณีที่เกิดละเมิดขึ้นแก่เอกชน
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการไปตามหน้าที่แล้วเกิดละเมิดขึ้นแก่เอกชนพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัดอยู่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในผลแห่งละเมิดนั้นและผู้เสียหายสามารถฟ้องร้องให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนได้เท่านั้น จะฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ (มาตรา 5 วรรคหนึ่ง) หรือแม้แต่ในกรณีที่เจ้าหน้าที่นั้นไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ผู้เสียหายก็จะฟ้องเจ้าหน้าที่นั้นโดยตรงไม่ได้ จะต้องฟ้องกระทรวงการคลังแทน (มาตรา 5วรรคสอง) แต่ถ้าการละเมิดนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้เสียหายก็จะต้องฟ้องตัวเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดเท่านั้น จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้ (มาตรา 6) อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เกิดการละเมิดขึ้นแล้ว และผู้เสียหายได้ฟ้องคดีต่อศาล โดยฟ้องให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหากในกรณีนั้นหน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวหรือเจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวด้วยหน่วยงานของรัฐก็มีสิทธิขอให้ศาลเรียกเจ้าหน้าที่เข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้ หรือ้าผู้เสียหายฟ้องให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและในกรณีนั้นเจ้าหน้าที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิดด้วยเจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิขอให้ศาลเรียกหน่วยงานของรัฐเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้เช่นเดียวกัน (มาตรา 7 วรรคหนึ่ง)สำหรับการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวนี้ ผู้เสียหายก็จะต้องฟ้องเสียภายในเวลา 1ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีการทำละเมิด มิฉะนั้นก็จะหมดอายุความฟ้องร้อง ทั้งนี้ ตามมาตรา 448 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นถ้าหากศาลพิจารณายกฟ้องเนื่องจากหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งถูกฟ้องนั้น ไม่ใช่ผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อายุความในการฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดแต่ไม่ได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีนั้นจะขยายออกไปอีกจนถึง 6 เดือน นับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด (มาตรา 7 วรรคสอง) สำหรับการเรียกร้อง ให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ผู้เสียหายไม่จำต้องฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลเสมอไป ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานนั้นเองเพื่อให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ได้ในกรณีเช่นนี้หน่วยงานของรัฐก็จะต้องพิจารณาคำขอนั้นโดยไม่ชักช้า และต้องให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน แต่หากพิจารณาไม่เสร็จภายในกำหนดเวลานั้นก็ต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลทราบและอาจขอขยายระยะเวลาออกไปได้อีก 180 วันเมื่อหน่วยงานพิจารณาวินิจฉัยเป็นประการใดแล้ว หากผู้เสียหายไม่พอใจก็สามารถร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ต่อไปได้ภายใน 90ว ันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐ(มาตรา 11) หรือหากต่อไปในอนาคตได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นผู้เสียหายก็มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลปกครองได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเช่นเดียวกัน (มาตรา 14) แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะไม่ต้องรับผิดโดยตรงต่อผู้เสียหายในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ตามแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเจ้าหน้าที่จะหลุดพ้นจากความรับผิดทั้งหมดไปเสียทีเดียวกล่าวคือ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบในจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้นด้วย ถ้าหากตนได้กระทำให้เกิดการละเมิดขึ้นด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ในกรณีเช่นนี้เมื่อหน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายไปแล้ว ก็มีสิทธิมาไล่เบี้ยเอาแก่เจ้าหน้าที่ได้ (มาตรา 8 วรรคหนึ่ง)แต่หน่วยงานของรัฐจะมีสิทธิไล่เบี้ยได้มากน้อยเพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงระดับของความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์ โดยเจ้าหน้าที่อาจจะไม่ต้องถูกไล่เบี้ยจนเต็มจำนวนของความเสียหายก็ได้ (มาตรา 8 วรรคสอง) และถ้าการละเมิดนั้นเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือเกิดจากระบบการดำเนินงานส่วนรวม ก็ต้องหักส่วนแห่งความรับผิดนั้นออกเสียด้วยจะให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ไม่ได้ (มาตรา 8 วรรคสาม) นอกจากนั้นถ้าการละเมิดเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่หลายคน เจ้าหน้าที่แต่ละคนก็จะรับผิดชอบแต่เฉพาะการละเมิดในส่วนที่ตนเป็นผู้กระทำเท่านั้น ไม่ต้องร่วมรับผิดไปถึงในส่วนที่คนอื่นเป็นผู้กระทำด้วยคือไม่ให้ถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนเป็นลูกหนี้ร่วมกันในมูลละเมิดนั้น (มาตรา 8 วรรคสี่) หรือถ้าเจ้าหน้าที่ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายไปก่อนเจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากหน่วยงาน ของรัฐได้ในทำนองเดียวกันสิทธิในการไล่เบี้ยในทั้งสองกรณีนี้มีอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย (มาตรา 9)ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายไปแล้วและเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นด้วยหน่วยงานของรัฐก็มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล
2. กรณีที่เกิดละเมิดขึ้นแก่หน่วยงานของรัฐ
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัดอยู่หรือหน่วยงานอื่นของรัฐก็ตามถ้าการละเมิดนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่กรณีก็ต้องบังคับกันไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันเป็นหลักทั่วไปในเรื่องละเมิดแต่ถ้าเกิดจากการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่แล้วการจะเรียกให้เจ้าหน้าที่นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายก็ต้องพิจารณาไปตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดต่อเอกชนที่กล่าวไวแล้วข้างต้น กล่าวคือเจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐก็ต่อเมื่อได้กระทำไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้นหากไม่ได้จงใจหรือไม่ได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือประมาทเลินเล่อเรื่องเล็กน้อยตามปกติธรรมดาเจ้าหน้าที่ก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่หน่วยงานของรัฐสำหรับกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดการจะเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้เท่าใดก็จะต้องพิจารณาถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีไปเจ้าหน้าที่อาจไม่ต้องชดใช้จนเต็มจำนวนก็ได้และถ้าหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมก็มีส่วนผิดหรือมีความบกพร่องอยู่ด้วย ก็ต้องหักส่วนแห่งความรับผิดนั้นออกจะให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบในส่วนนี้ไม่ได้รวมทั้งในกรณีที่การละเมิดนั้นเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนเจ้าหน้าที่แต่ละคนก็รับผิดเฉพาะส่วนที่ตนได้กระทำละเมิดเท่านั้นไม่ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม (มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 8)แต่ไม่ว่าการละเมิดนั้นจะเกิดจากการกระทำในทางปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ก็ตามสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในทั้ง 2 กรณีนั้นจะมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อย่างไรก็ดี ในกรณีหน่วยงานของรัฐที่เสียหายเห็นว่าเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดแต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าเจ้าหน้าที่ต้องรับผิด อายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจะมีกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง (มาตรา 10 วรรคสอง) ในกรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำการละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐอันเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานของรัฐก็มีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่นั้นชำระเงินค่าสินไหมทดแทนภายในเวลาที่กำหนดได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลในทำนองเดียวกับการใช้สิทธิไล่เบี้ยในกรณีที่เกิดการละเมิดขึ้นแก่เอกชนดังกล่าวข้างต้น แต่ถ้าไม่ได้เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานของรัฐก็ไม่มีอำนาจเช่นนั้น ต้องฟ้องร้องเป็นคดีไปตามปกติ (มาตรา 12)นอกจากสาระสำคัญต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นแล้ว พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังกำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นสามารถผ่อนชำระเงินที่ต้องรับผิดนั้นได้ โดยให้คำนึงถึงรายได้ ฐานะ ครอบครัวและความรับผิดชอบและพฤติการณ์อื่น ๆ แห่งกรณีนั้นประกอบด้วย (มาตรา 13)
เรียบเรียงโดย
นายเกรียงศักดิ์ สุวรรณศรี
นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น