วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

สมบัติของสารพันธุกรรม

สมบัติของสารพันธุกรรมการสังเคราะห์ DNA
การพิสูจน์และทดสอบว่าโครงสร้างของ DNA นี้ มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเป็นสารพันธุกรรมได้หรือไม่ ซึ่งการที่จะเป็นสารพันธุกรรมได้นั้นย่อมต้องมีคุณสมบัติสำคัญ คือ 1. ต้องสามารถแบ่งตัวเอง ได้โดยมีลักษณะเหมือนเดิมเพื่อทำให้มีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกได้ 2. สามารถควบคุมให้เซลล์สังเคราะห์สารต่าง ๆ เพื่อแสดงลักษณะทางพันธุกรรมให้ปรากฏ 3. ต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมที่ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมและเป็นช่องทางให้เกิดสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมตามกฎของเมนเดล กฎข้อที่ 1 กฎแห่งการแยกตัว (LAW OF SEGREGATION) มีใจความว่า “สิ่งที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีอยู่เป็นคู่ๆ แต่ละคู่จะแยกจากกันในระหว่างการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ทำให้เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีหน่วยควบคุมลักษณะนี้เพียง 1 หน่วย และ จะกลับมาเข้าคู่อีกเมื่อเซลล์สืบพันธุ์ผสมกัน” กฎข้อที่ 2 กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (LAW OF INDEPENDENT ASSORTMENT) มีใจความว่า “ในเซลล์สืบพันธุ์จะมีการรวมกลุ่มของหน่วยพันธุกรรม ของลักษณะต่างๆ การรวมกลุ่มเหล่านี้เป็นไปได้อย่างอิสระ จึงทำให้เราสามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นในรุ่นลูก และรุ่นหลาน”
ข้อควรระวัง ลักษณะเด่น หมายถึง ลักษณะที่มีโอกาสแสดงออกได้มากกว่า ลักษณะด้อย หมายถึง ลักษณะที่จะแสดงออกได้ ก็ต่อเมื่อมีการเข้าคู่แบบโฮโมโลกัสของยีนด้อยเท่านั้น
ตัวอย่างข้อสอบข้อใดคือเหตุผลที่นักเพาะพันธุ์สุนัขเพื่อขายหลีกเลี่ยงมิให้สุนัข ผสมพันธุ์กันเอง ระหว่างพ่อกับลูกหรือแม่กับลูก และพี่กับน้องก. ขนาดตัวเล็กลง ข. ลูกสุนัขอ่อนแอ อัตรารอดตายต่ำค. ทำให้ยีนที่นำลักษณะด้อยมีโอกาสเป็นโฮโมไซกัสง. ลูกสุนัขจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ไม่มีลักษณะแปลกใหม่เกิดขึ้น



มัลติเปิลอัลลีลส์ (MULTIPLE ALLELES)
หมายถึง ยีนที่มากกว่า 1 คู่ ที่ควบคุมลักษณะใดลักษณะหนึ่งร่วมกันตัวอย่างเช่น หมู่เลือด ABO ของคนและสีขนของกระต่าย เป็นต้น
ตัวอย่างข้อสอบสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งพบว่า สามารถสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้แตกต่างกันถึง 16 ชนิดสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นน่าจะมีจีโนไทป์ลักษณะใดก. Aa Bb Cc DD EE ข. Aa Bb CC Dd Ee FFค. Aa Bb CC Dd Ee Ff ง. AA Bb CC Dd Ee
ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (SEX-LINKED GENE)
ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (SEX LINKED GENE ) หมายถึงยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศเช่น ยีนตาบอดสี ฮีโมฟิเลีย กล้ามเนื้อแขนขาลีบ ยีนเหล่านี้จะอยู่บนโครโมโซม X จึงพบลักษณะเหล่านี้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเนื่องจากเพศชายมีโครโมโซม X เพียงเส้นเดียวข้อสังเกต1. ลูกสาวจะเป็นโรคตาบอดสีได้ก็ต่อเมื่อ มีแม่ตาบอดสีหรือเป็นพาหะแล้วมีพ่อตาบอดสี2. ถ้าแม่ตาบอดสี พ่อตาปกติ ลูกชายจะตาบอดสีทุกคนตัวอย่างข้อสอบผู้หญิงตาปกติ แต่มียีนพาหะตาบอดสี แต่งงานกับชายปกติ ลูกที่เกิดมาจะแสดงลักษณะใดก. ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสตาบอดสี ข. ผู้หญิงจะมีตาปกติหมด แต่ผู้ชายมีโอกาสตาบอดสีค. ผู้หญิงมีโอกาสตาบอดสี แต่ผู้ชายตาบอดสีหมด ง. ผู้หญิงมีโอกาสตาบอดสี ผู้ชายตาปกติหมด
โครโมโซมความผิดปกติของโครโมโซมในคน1. กลุ่มอาการดาวน์ (DOWN’S SYNDROME) เกิดจากการที่มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม2. กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์(KLINE FELTER’S SYNDROME) เป็นเพศชาย มีโครโมโซม X เกินมา 1-2 เส้น (XXY,XXXY)3. กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (TURNER’S SYNDROME) เป็นเพศหญิงมีโครโมโซม X เพียงเส้นเดียว4. กลุ่มอาการคริดูซาต์(CRI-DU-CHAT SYNDROME) โครโมโซมคู่ที่ 5 ขาดหายไปบางส่วน
ตัวอย่างข้อสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดใดต่อไปนี้เกิดขึ้นในเพศหญิงเท่านั้น
ก. ดาวน์ซินโดรม ข. ไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรม ค. เทอร์เนอร์ซินโดรม ง. คริดูดชาต์ซินโดรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น