วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบวิชา EA 724


แนวข้อสอบวิชา  EA  724

 

     1.    การที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาการบริหารการศึกษา  ท่านได้นำความรู้   ความสามารถมาพัฒนาตนเอง  พัฒนาเพื่อนร่วมงานได้อย่างไร   ท้ายที่สุดสามารถนำความรู้  เทคนิควิทยาการต่าง ๆ ลงสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างไร   จึงจะสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นในองค์การได้ตามวัตถุประสงค์

ก.       ขอให้ตอบคำถามดังกล่าวข้างต้น 

ข.       ให้นักศึกษาเล่าประสบการณ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักการการบริหารจัดการในลักษณะแบบ  ชนะ ชนะ

แนวตอบ

                มีผู้กล่าวว่า  การเป็นผู้บริหารนั้น  ผู้บริหารจะต้องไม่ลงมือปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองในทุกเรื่อง  แต่มีหน้าที่ในการอำนวยการให้บุคคลอื่นเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่การงานต่าง ๆ ให้สำเร็จ  นั่นย่อมหมายความถึงว่า  ผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นระดับใดก็ตามจะต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ หลายประเภทและหลายระดับ  ซึ่งบุคคลเหล่านั้นย่อมมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันอยู่หลายประการ  เช่น  อายุ  เพศ  ระดับการศึกษา  ความรู้สึกนึกคิด  เป็นต้น  ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุของการขัดแย้งกันในการปฏิบัติงาน  และอาจเป็นปัญหาที่ทำให้ขัดขวางต่อการพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพได้  ดังนั้น  ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องเรียนรู้หลักการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้เกิดความราบรื่นและความร่วมมือในการทำงาน 

              จากการที่ข้าพเจ้าได้มาศึกษาวิชาการบริหารการศึกษา  ทำให้ได้รับความรู้  หลักการแนวคิดและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา  ตลอดจนความรู้ในเรื่องมนุษย์สัมพันธ์  ซึ่งมีประโยชน์ อย่างยิ่งที่ข้าพเจ้าจะนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง  ในฐานะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา  เพราะบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษานั้น   มีบทบาทในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการในสถานศึกษาที่จะต้องรับภาระงานในการบริหารการศึกษา พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  นั่น คือ ให้ผู้เรียน  เป็นคนดี  คนเก่ง  และมีความสุข  ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาการศึกษา    ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาในครั้งนี้  ข้าพเจ้าได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา  ด้าน  คือ  การพัฒนาตนเอง     การพัฒนาเพื่อนร่วมงาน  และการพัฒนางาน   ตามขั้นตอนดังนี้

   การพัฒนาตน ได้แก่ 1) นำรูปแบบวิธีการต่างๆ ที่ได้รับมาสำรวจตนเองให้รู้จักตนเอง รู้จุดเด่น จุดด้อย พยามที่จะแก้ไขปรับปรุงตนเอง

2)              รับฟัง  วิเคราะห์  สังเคราะห์  ความคิดเห็นของผู้อื่น  เพื่อนำมาพัฒนาตนเองให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน

3)               ฝึกฝนตนเองให้มีอุดมการณ์  และค่านิยมที่ดีงามของผู้นำ    มีคุณธรรม และใช้คุณธรรมเป็นหลักในการปฏิบัติงาน

4)                ฝึกฝนตนเองให้มีบุคลิกลักษณะของผู้นำ     มีความรู้  ความคิด  มีวิสัยทัศน์   และ  มีทักษะความสามารถในหน้าที่  ทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี  แก่ผู้ร่วมงาน  เพื่อสร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้ร่วมงาน

5)              มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลทั่วไป  เพื่อประโยชน์ในการประสานงานขอความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การทักทายพูดคุย  ยิ้มแย้มแจ่มใส  อารมณ์ดี  เป็นกันเอง  ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นตามสมควร  รับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน อารมณ์หนักแน่น  มั่นคง  มองโลกในแง่ดี  มีอารมณ์ขัน 

               พัฒนาคน (เพื่อนร่วมงาน)     ได้แก่   1)   รู้คน   ใช้คนให้ถูกกับงาน  คนเรานั้น  รักที่จะทำงานบนหลักการพื้นฐาน  ประการ  คือ  งานที่ตนเองสนใจ   งานนั้นท้าทายความสามารถ  และงานนั้นไม่ซ้ำซากจำเจ  ดังนั้น การจะมอบงานให้ผู้ใดทำจึงต้องคำนึงถึงหลักการ  ประการดังกล่าวนี้

2)              ใช้หลักการมีน้ำใจในการทำงาน  ในการเป็นผู้บริหารนั้น  ในบางครั้งจำเป็นต้องเสียสละให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาบ้างตามสมควร  เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน  แต่การมีน้ำใจ  ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเรื่องเงินทองเสมอไป  อาจหมายถึงการให้ความรัก  ความเมตตา  ให้กำลังใจ  ให้อภัยและให้ความเป็นมิตร  สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญของการเกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน  ทำให้บุคคลพร้อมที่จะทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3)               การ สร้างความตระหนักให้ทุกคนในหน่วยงาน   ให้เขาคิดว่าเขาเป็นส่วนสำคัญของหน่วยงาน  สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น   ชี้นำให้เขาทำดีเพื่อสังคม  เป็นพลังร่วมในการขับเคลื่อนองค์การไปสู่เป้าหมายตามต้องการ

4)              ยกย่องชมเชย  และสรรเสริญผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดี ตามโอกาสอันควร ให้เขามีกำลังใจพร้อมที่จะทุ่มเทให้กับการทำงาน

5)              การประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ตามคำกล่าวที่ว่า ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน

                พัฒนางาน    งานของผู้บริหาร  ได้แก่    การอำนวยการและควบคุมกำกับให้บุคลากรทุกฝ่ายในองค์การได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มความรู้ความสามารถ  ดังนั้น  ในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ข้าพเจ้าจึงใช้ความรู้ที่ได้รับมาพัฒนางาน  ดังนี้ คือ  1) การวางแผน ( Planning ) เป็นขั้นตอนการกำหนดวัตถุประสงค์  และวางแผนว่าจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นได้อย่างไร   2)  การจัดองค์การ ( Organization)  เป็นการออกแบบและพัฒนาองค์การ  ตามเป้าหมาย   3)   การอำนวยการ ( Directing )  เป็นการใช้ความสามารถของผู้นำในการสื่อสาร  จูงใจบุคลากรให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน 4)  การควบคุม ( Controlling )  เพื่อให้องค์การดำเนินการบริหารงานอย่างราบรื่น    5)  การจัดบุคลากรลงสู่หน่วยงาน ( Staffing )   เป็นการจัดบุคลากรให้ปฏิบัติงานตรงตามความรู้ความสามารถ

                 จากการที่ข้าพเจ้าได้ทำงานในตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษามาเป็นระยะเวลากว่า 12  ปี  ข้าพเจ้าพอที่จะมีความรู้และประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อขัดแย้งของบุคลากรในหน่วยงานได้หลายครั้ง  โดยอาศัยหลักการประนีประนอม       หรือ         การแก้ปัญหาโดยใช้หลักการบริหารแบบ ชนะ ชนะ  คือ การใช้หลักการประนีประนอม ให้คู่กรณีได้รับความพอใจทั้งสองฝ่าย  เป็นการยอมรับคนละครึ่งทาง  เป็นวิธีการที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับว่าวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดต้องมาจากทั้งสองฝ่าย  ซึ่งทำให้ปัญหาข้อขัดแย้งนั้น  ได้รับการคลี่คลายและเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน

                     จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  จึงเห็นได้ว่า  การเป็นผู้บริหารที่จะประสบผลสำเร็จในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น     จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา    เพื่อนำความรู้มาพัฒนาตนเอง    พัฒนาเพื่อนร่วมงาน  และพัฒนางาน     เพื่อให้องค์การที่ตนเองรับผิดชอบอยู่ได้ก้าวทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน

    2.     .     จากการฟังรายงานไปแล้วนั้น  นักศึกษาคิดว่าหัวข้อใดที่ท่านสามารถนำไปใช้  สร้างแรงจูงใจ   ความมีน้ำใจ  และความสมัครสมานสามัคคี  เพื่อให้ได้ชื่อว่า  ท่านเป็นผู้บริหารที่ได้ทั้งงาน  และน้ำใจคนในหน่วยงานของท่าน  จงอธิบายแสดงเหตุผลประกอบให้เห็นภาพชัดเจน

แนวตอบ        เรื่องที่นักศึกษารายงานมี  เรื่อง

                            1)    อนาคตที่สดใสของผู้นำยุคใหม่                                   2)    ทำไมผู้บริหารส่วนใหญ่ถึงเป็นผู้นำไม่ได้    

                            3)   การพัฒนาตนเองเพื่อความสำเร็จในการทำงาน           4)     เทคนิคการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ        

                            5)   การสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน                           6)     การบริหารข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์          

                            7)  เทคนิคการจัดการกับสถานการณ์วิกฤติด้วยหลักมนุษย์สัมพันธ์      8)  กลวิธีสร้างความสุขสนุกในการทำงาน

วิทยากรพิเศษบรรยาย  2  เรื่อง  1)    เทคนิคการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ของบวรที่มีบทบาทต่อการพัฒนาสถานศึกษาและชุมชน

                                                   2)   เทคนิคการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ของผู้บริหารการศึกษากับชุมชน

                  ขั้นที่  1   -    เกริ่นนำ   ( ความสำเร็จขององค์การหรือหน่วยงานส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหารในการที่จะสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  ให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายของหน่วยงาน  การจูงใจเป็นกระบวนการที่นำเอาศิลปะในการเกลี้ยกล่อม  โน้มน้าวไม่ว่าจะเป็นด้วยคำพูด  การเขียน  หรือการกระทำอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดเป็นพลังในการขับเคลื่อนองค์การ           ดังนั้น   ผู้บริหารจึงต้องใช้ภาวะผู้นำในแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรในหน่วยงานได้ทำงานด้วยความเต็มใจ  พอใจ  และมีประสิทธิผลมากที่สุด  )     

                   ขั้นที่   2    เนื้อหา         -   จากการศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ ข้าพเจ้าเห็นด้วยตามหลักทฤษฎีของเอลตัน  เมโย ที่ว่าในการบริหารองค์การนั้นนอกจากจะยึดมั่นในผลสำเร็จของงานเป็นที่ตั้งแล้ว  ยังต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ อีกด้วย  และองค์ประกอบที่สำคัญคือ  คน  นั่น เอง  คนเป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ  ขวัญและกำลังใจ   การสร้างแรงจูงใจ ยกเอาทฤษฎีของ  มาสโลว์  หรือของคนอื่น  ดูเพิ่มในสรุปย่อ     ความมีน้ำใจ  อาจยกเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  เช่น  สังคหวัตถุ 4     หรือ  พรหมวิหาร  4   ความสามัคคี ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์  สร้างความเป็นกันเองกับทุกคน  สุภาพอ่อนโยน  อารมณ์ขัน  ทำให้เขาไว้ใจเป็นที่พึ่ง  )

                  ขั้นที่  3  -  สรุป    -    การสร้างแรงจูงใจ   ความมีน้ำใจ  และความสามัคคีของบุคลากรในองค์กรเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญและใช้ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์เพื่อสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในองค์กร  อันจะส่งผลให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกัน

ทำงานอย่างเต็มความรู้ความสามารถและด้วยความเต็มใจ   ไม่ให้เกิดความรู้สึกว่า ต้องทำ  แต่ให้เกิดความรู้สึกว่า  ต้องการทำ    ดังนี้  จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการบริหารที่ได้ทั้งงาน  และน้ำใจคน 

                 .   ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์ใดที่นักศึกษานำมาประยุกต์ใช้มากที่สุดในหน่วยงานที่ท่านทำงานอยู่  เมื่อระบุว่าใช้ทฤษฎีใดแล้ว  ของให้อธิบายให้เห็นชัดเจนว่า  จะส่งผลให้เกิดความเจริญก้าวหน้า   มีการร่วมใจปฏิบัติงานไปสู่จุดหมายอย่างไร  อธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรม ( ระบุเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน )

แนวตอบ

           ขั้นที่  1    เกริ่นนำ   -  (  ผู้บริหาร  เป็นผู้นำขององค์กร  การปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารจำเป็นต้องมีความเกี่ยวพันกับบุคคลหลายประเภท  หลายอาชีพ  หลายระดับ   บุคคลเหล่านั้นย่อมมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันอยู่หลายประการ    ดังนั้น  ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลเหล่านั้น   เพื่อทำให้เกิดการประสานงานอย่างราบรื่น    และความร่วมมือในการทำงาน  พร้อมที่จะร่วมกันปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ  ….)

          ขั้นที่  2   เนื้อหา   (  ให้ตอบว่าท่านนำเอาทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์ใดมาใช้  และประยุกต์ใช้อย่างไร   เลือกเอาจากสรุปย่อ  มาขยายความให้เห็นอย่างชัดเจน  และเมื่อใช้แล้วผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับองค์กรของท่านเป็นอย่างไร ….. )

          ขั้นที่  3   สรุป    ( ยกเอาความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์ที่ทำให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติงานมาเขียน )

3.   การบริหารงานนั้น  ผู้บริหารจะต้องสร้างสมรรถภาพในด้านการจัดการคนและความสามารถในการบริหารงาน  การจัดการทุก ๆ ด้าน  ให้นักศึกษาวิเคราะห์ว่าการสร้างสมรรถภาพในการบริหารงานนั้น   ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง  เพื่อให้การทำงานดังกล่าวประสบผลสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้ทั้งคนและทั้งงาน

แนวตอบ

                 ขั้นที่   เกริ่นนำ    (  ในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน  องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น   ผู้บริหารในยุคปัจจุบันจึงต้องพัฒนาตนเองให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพจึงจะสามารถนำองค์กรของตนให้บรรลุความสำเร็จได้   การเป็นผู้บริหารมืออาชีพจำเป็นต้องอาศัยความรู้  ความสามารถและอาศัยกระบวนการบริหารที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่าย  … )

                ขั้นที่  เนื้อหา   (  อธิบายสมรรถนะของผู้บริหารในอนาคต  -  1)  เป็นผู้เชี่ยวชาญ  Be  an  Expert     2)  เป็นผู้สร้างเครือข่าย  Be   a  Network    3)   ยืนอยู่บนขาตนเอง  Be  Self – reliant      4)   นำตนสู่สภาพปกติ  Be   Resiliant     )

                ขั้นที่  สรุป ผู้บริหารที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของตนเพียงอย่างเดียว   จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการ    ดังนั้น  เพื่อที่จะให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงาน  ยินดีที่จะให้ความร่วมมือ

ในการดำเนินงาน  ผู้บริหารจึงต้องมีวิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลเหล่านั้น  เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมใจในการทำงานทำงานอย่างเต็มความรู้ความสามารถและด้วยความเต็มใจ   ไม่ให้เกิดความรู้สึกว่า ต้องทำ  แต่ให้เกิดความรู้สึกว่า  ต้องการทำ    ดังนี้    จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการบริหารที่ได้ทั้งงาน  และน้ำใจคน

 

     4.   การที่กล่าวว่าการสร้างความขัดแย้งในองค์การบ้างเป็นสิ่งที่ดีและถือเป็นเรื่องปกติ  แต่ถ้าท่านเป็นหัวหน้างานแล้วมีลูกน้องอยู่ในความดูแลของท่านจำนวน  30  คน  และมีลูกน้องก่อปัญหา  ใน  3   ของจำนวนคนที่มีอยู่    ท่านจะใช้ศาสตร์และศิลป์ในเรื่องการบริหารจัดการกับปัญหาเหล่านั้นอย่างไร   จึงจะถือว่าท่านได้ใช้หลักวิชาที่เล่าเรียนมาเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างดีที่สุด

 

แนวตอบ

                 ขั้นที่ 1   เกริ่นนำ  (   ผู้บริหาร  เป็นผู้นำขององค์กร  การปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารจำเป็นต้องมีความเกี่ยวพันกับบุคคลหลายประเภท  หลายอาชีพ  หลายระดับ   บุคคลเหล่านั้นย่อมมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันอยู่หลายประการ  เช่น  วุฒิ   ความรู้  ความสามารถ     ฐานะความเป็นอยู่   รวมทั้งความรู้สึกนึกคิด   ความแตกต่างกันเหล่านี้   อาจเป็นสาเหตุให้เกิดเป็นความขัดแย้งขึ้นในองค์กรดังนั้น   ผู้บริหารในฐานะที่เป็นผู้นำขององค์กร  จึงต้องใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารความขัดแย้งให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

 

                  ขั้นที่  2   เนื้อหา   -   ความขัดแย้ง  คือ  ความแตกต่างทั้งทางพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ไม่สามารถประสาน  หรือยอมรับกันได้

การเกิดความขัดแย้งของบุคคลย่อมมีสาเหตุ  ดังนั้น  การที่ลูกน้องในหน่วยงานก่อปัญหาขึ้นในหน่วยงาน  จึงเป็น  หน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องใช้ภาวะผู้นำในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งนั้น    

                                             -    วิเคราะห์เพื่อให้ทราบสาเหตุแห่งปัญหา  จากนั้น  จึงใช้หลักการและทฤษฎีทางการบริหารมาใช้ในการแก้ไขปัญหา    ใช้หลักคุณธรรมทางพระพุทธศาสนา  เช่น  พรหมวิหาร 4   สังคหวัตถุ  4

                                            -    การจัดการกับคนที่มักก่อความขัดแย้งในองค์กร  ผู้บริหารต้องตระหนักในความสำคัญของการควบคุมพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุคคลกลุ่มนั้น   และในการจัดการกับบุคลากรที่ชอบก่อความขัดแย้งกับคนอื่นอยู่เนือง ๆ ถ้าปฏิบัติไม่เหมาะสม  อาจทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงมากขึ้น    เทคนิคการจัดการกับลูกน้องที่มักก่อปัญหาให้กับองค์กร

     1.     ลูกน้องเฉื่อยชา  -   ใช้วิธีให้คำปรึกษาหารือ                   2.   ลูกน้องไม่เอาไหน    สั่งงานอย่างละเอียด

     3.     ลูกน้องอยากเก่ง   ต้องหมั่นสั่งสอน                            4.   ลูกน้องเก่งแล้ว         -   มอบงานให้ทำ

     5.     ลูกน้องช่างติ    -   สอนให้เขาคิดทางบวก                       6.   ลูกน้องขาดความรับผิดชอบ   -   ต้องตรวจสอบงานบ่อย ๆ

     7.    ลูกน้องทำผิดแล้วไม่ยอมรับผิด  ต้องตักเตือนและสอนให้รับผิดชอบ   8.  ลูกน้องจอมซ่า หางานที่เหมาะสมให้ทำ

     9.   ลูกน้องขี้เมา   -   เอาใจใส่ให้ดี ชี้ให้เห็นโทษของสุรา

              (  ถ้าใช้ทุกวิธีการแล้วไม่ได้ผลขอแนะนำให้ส่งเข้ากลุ่มที่ ส่งไปพัฒนาตามนโยบายรัฐบาล วิธีสุดท้ายคือใช้ไม้แข็งหรืออาจใช้ค้อนปอนเลยก็ได้ คือ  ใช้ระเบียบวินัยของราชการมาจัดการเพื่อรักษาองค์กร)

                ขั้นที่  สรุป     -  ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของมนุษย์  เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม  มีความแต่งต่างกันหลายประการ  ตั้งแต่การเกิด  ความเป็นอยู่   ความต้องการ   ที่สำคัญคือ  ความคิดและอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน   ผู้บริหารมืออาชีพต้องมีความรู้ความสามารถ  ในการจัดการความขัดแย้งหรือบริหารความขัดแย้ง ( Conflict   Management )   ต้องมองว่าความขัดแย้งนั้นมีทั้งแง่ลบและแง่บวก  ผู้บริหารมืออาชีพต้องมองความขัดแย้งว่าเป็นเรื่องดี และสร้างสรรค์  ในการทำงานของกลุ่มในบางเรื่องจำเป็นต้องมีความขัดแย้ง  เพื่อช่วยให้การทำงานกลุ่มมีประสิทธิภาพ  องค์การใดที่ไม่มีความขัดแย้งเลย  จะเป็นองค์การที่อยู่กับที่และเฉื่อยชา  แต่ผู้บริหารต้องควบคุมให้ความขัดแย้งนั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม  จึงจะช่วยให้คนมีความตื่นตัว  กระตือรือร้นและมีความคิดสร้างสรรค์

 

1.               ผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในยุคปัจจุบัน    ต้องทำหน้าที่ทั้งกำกับ    ส่งเสริม   สนับสนุน     จากเหตุนี้ผู้บริหารจึงต้องมีบทบาทและพฤติกรรมที่สนองตอบเพื่อการปฏิบัติหน้าที่แบบมืออาชีพ  กล่าวคือ

1)    เป็นนักประสานงานภายในสถานศึกษา  ระหว่างผู้ปฏิบัติค่อนข้างมาก  ผู้บริหารจึงต้องมีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจ  ขวัญกำลังใจ  บริหารความขัดแย้งเป็นผู้นำทีมงานที่มีประสิทธิภาพ  มีความสามารถในการสื่อสาร

2)    สื่อประสานภายนอก  โดยเหตุที่การปฏิรูปการศึกษากำหนดให้การจัดการศึกษาให้ยึดหลักเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ( Long  life  Education  )  เป็นการศึกษาเพื่อมวลชน  ( Education   for  All )  มวลชนจึงต้องร่วมมือในการจัดการศึกษา  ( All  for   Education )

  3)   ถูกควบคุมโดยคุณลักษณะเชิงวิชาชีพ   จึงต้องมีภาพลักษณ์  พฤติกรรม  คุณธรรม  จริยธรรมที่เหมาะสมกับการบริหารทั้งร่างกาย  สังคม   อารมณ์  จิตใจ

        ให้ท่านวิเคราะห์พร้อมแสดงเหตุผลว่า  จากการที่ท่านได้เรียนวิชามนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษาไปแล้ว  ท่านจะนำ ความรู้  ประสบการณ์ตลอดจนหลักทฤษฎีต่าง ๆ มาปรับใช้ในการทำงาน  ให้สอดคล้องกับหน้าที่  บทบาทและพฤติกรรมที่ต้องกำกับ  ส่งเสริม  สนับสนุนดังกล่าวข้างต้นได้อย่างไรบ้างให้ตอบให้ตรงประเด็น  ชัดเจน  ครอบคลุม  โดยยกหลักทฤษฎีและเหตุผลมาสนับสนุนคำตอบของท่านอย่างแจ่มชัด

 

แนวตอบ

                 ขั้นที่  1   เกริ่นนำ    -   ผู้บริหาร  เป็นผู้นำในองค์การ  เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการที่จะสร้างพลังการขับเคลื่อนให้องค์การ  สามารถปฏิบัติภารกิจให้บรรลุตามเป้าหมาย  แต่ผู้บริหารที่จะประสบผลสำเร็จดังกล่าวได้นั้น  ไม่สามารถที่จะทำคนเดียวได้ต้องอาศัยบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเป็นพลังร่วมในการขับเคลื่อน  บุคคลที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร  ได้แก่  ผู้บังคับบัญชา   ผู้ใต้บังคับบัญชา   เพื่อนร่วมงาน  ประชาชนโดยทั่วไป   เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน  ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีวิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การ  นั่นคือ  การนำความรู้  ประสบการณ์  และหลักทฤษฎีทางมนุษย์สัมพันธ์ต่าง ๆ มาปรับใช้ในการทำงาน  ดังนี้

                ขั้นที่  เนื้อหา  -   ตอบคำถามโดยเรียงลำดับประเด็นคำถามให้ครบถ้วน   ดังนี้

                                       -   1) เป็นนักประสานงานภายในสถานศึกษา  การประสานงานเป็นงานประเภทหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา  ซึ่งมีความสำคัญมากเป็นสื่อสัมพันธ์ของบุคลากรในหน่วยงาน  เพื่อก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิผล  ไม่ซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกันทำงาน   เพื่อให้งานขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์  เป้าหมาย

วิธีการประสานงานกับเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา   1)  ประชุมชี้แจงเพื่อมอบหมายงาน    2)  ให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น   3)  รู้จักยืดหยุ่นตามสมควร   4)  ให้งานที่เหมาะสมกับคน    5)   ให้ความเป็นธรรมในการปฏิบัติงาน  6)  ต้องให้ขวัญ  กำลังใจ    7)  ให้ทุกคนได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์

                                           -  2) สื่อประสานภายนอก  ผู้บริหารต้องประสานภายนอกทั้งบุคคล  และองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ

บุคคลภายนอกที่ผู้บริหารต้องประสานงานด้วย  ได้แก่  ผู้บังคับบัญชา   เพื่อนร่วมงาน   บุคคลในชุมชน

วิธีการประสานงานกับผู้บังคับบัญชา  1)  เรียนรู้ลักษณะผู้บังคับบัญชา   2)  เข้าพบตามโอกาสอันควร   3)  ยกย่องตามสถานภาพ

4)  ปฏิบัติตามระเบียบราชการ  5)   ขอความเห็นชอบ   6)  ขอคำแนะนำปรึกษา

วิธีการประสานงานกับชุมชน   1)  จัดให้มีการประชุมร่วมกับชุมชน    2)   จัดให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน   3)   ต้องศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน    4)   จัดให้มีบริการชุมชน   5)  จัดเครื่องมือสื่อสารให้เพียงพอ  6)  ไม่รบกวนผลประโยชน์ของชุมชน   7)   ให้การศึกษากับชุมชน

                                            -  3) ถูกควบคุมโดยคุณลักษณะเชิงวิชาชีพ    การที่บุคคลจะเป็นผู้บริหารนั้น  เป็นต้องเป็นโดยการกำหนดขององค์กรวิชาชีพนั้น ๆ ผู้บริหารสถานศึกษา  ก็มีองค์กรวิชาชีพที่เป็นผู้ควบคุมกำกับเช่นเดียวกัน   คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพตามเกณฑ์คุรุสภา 1) ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา  2) ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาทางบุคลากร  ผู้เรียน  ชุมชน  3) มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติตนได้เต็มตามศักยภาพ  4) พัฒนาแผนงานขององค์กรให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง   5) พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ    6)  ปฏิบัติงานขององค์กรโดยเน้นผลถาวร    7)  รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ  8)  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี   9)  ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์    10)  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา   11)  เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ   12)  สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์

                  ขั้นที่ สรุป   ในยุคปฏิรูปการศึกษาจำเป็นต้องใช้ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ  จึงจะนำโรงเรียนบรรลุความสำเร็จตามภารกิจและบทบาทหน้าที่ของโรงเรียน  ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็วอย่างไร้พรมแดนและกระทบถึงกันทั่วโลก   การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอจึงเป็นวิธีการที่สำคัญที่ผู้บริหารจะต้องกระทำเป็นอย่างยิ่ง  การศึกษาวิชามนุษย์สัมพันธ์ทำให้ผู้บริหารเกิดความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมชาติของมนุษย์  ดังนี้    มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี  มีคุณค่าน่านับถือมาตั้งแต่เกิด  ดังนั้นการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลต้องใช้วิธีการที่นุ่มนวล  อารมณ์มั่นคง  ให้การยอมรับนับถืออย่างจริงใจ   -   การมองเห็นข้อบกพร่องของผู้อื่นเป็นเรื่องง่ายมาก  แต่ขณะเดียวกันมักจะมองข้ามข้อบกพร่องของตนเอง    ดังนั้น  จึงต้องสำรวจตนเอง เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ

-                    ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ  ความคิด  ความรู้สึก  พฤติกรรมของตน  ไม่มีบุคคลใดที่จะบันดาลให้ใครมีความสุขได้นอกจากตัวท่านเอง

   จงอธิบาย   ถึงการใช้มนุษย์สัมพันธ์ในการประสานงานของวิธีการทั้ง  5 ข้อ  ให้เป็นที่เข้าใจ  พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ

1.               การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยใช้มนุษย์สัมพันธ์

2.               การประชุมแบบระดมสมอง ( Brain  Stroming  )

3.               การติดต่อสื่อสาร

4.               ปฏิบัติราชการแทน

5.               งบประมาณ

 

     แนวตอบ

                       ข้อที่  1   การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยใช้มนุษย์สัมพันธ์

               ผู้บริหาร  คือผู้นำขององค์การ  การปฏิบัติภารกิจของผู้บริหารเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากบุคคลหลายฝ่าย  หลายระดับ  การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นจะทำให้  การบริหารงานของผู้บริหารเป็นไปอย่างราบรื่น  และเกิดเป็นความร่วมมือในการปฏิบัติงาน  ดังนั้น   ผู้บริหารที่จะประสบผลสำเร็จในการบริหารงานจึงต้องพัฒนาทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ให้มีเพิ่มขึ้น  เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง  และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพ   คุณลักษณะของผู้นำที่มีทักษะมนุษย์สัมพันธ์  ได้แก่   1)  มีทักษะในการสื่อสารและสื่อความหมายที่ดี   2)  มีทักษะในการรับรู้

3)   มีทักษะในการใช้อำนาจโดยตำแหน่ง    4)  มีทักษะในการใช้อำนาจบารมีหรืออำนาจแฝง   5)   มีภาวะผู้นำ   6)   มีทักษะในการจูงใจ

7)   มีทักษะในการตัดสินใจสั่งการ      8)  ต้องมีทักษะในการบำรุงขวัญ

                      ข้อที่  2    การประชุมแบบระดมสมอง ( Brain  Stroming  )

                      การประชุมเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดของผู้บริหารซึ่งจะช่วยให้การบริหารงานขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย   และช่วยให้บุคลากรในองค์การได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน  ในการที่จะหาแนวทางแก้ปัญหาในทางสร้างสรรค์  และก่อให้เกิดความร่วมมือ  ร่วมใจ  ในการร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ    การประชุมแบบ  Brain   Stroming   ประธานในการประชุมจะเสนอปัญหาแล้วถามความเห็นของที่ประชุม  โดยการถามเรียงตัวเพื่อให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นออกมาจะถูกหรือผิดก็ได้  แล้วค่อยมาช่วยกันเลือกเฟ้นความเป็นไปได้หรือทางเลือกที่ดีที่สุดของกลุ่ม  ว่าควรทำหรือดำเนินการตามข้อใด

                     ข้อที่  3     การติดต่อสื่อสาร

                       ผู้บริหารต้องสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย  ดังนั้น  การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญสำหรับผู้บริหารเพื่อรวบรวมข้อมูล   จัดระบบข้อมูล  ส่งข้อมูล  เพื่อให้การดำเนินงายขององค์การเป็นไปด้วยดี  ผลจากการวิจัยชี้ว่า  ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้สื่อสารที่ดี  ผู้บริหารต้องเรียนรู้ที่จะสอนงานได้อย่างชัดเจน  ตอบคำถามและเสนอแนะ  รักษาสัมพันธภาพที่ดีของบุคลากรในหน่วยงาน  การสื่อสารที่ดีต้องใช้วิธีการที่นุ่มนวล  อารมณ์มั่นคง  ให้การยอมรับนับถือผู้อื่นอย่างจริงใจ   ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีเจตคติที่จะหลีกเลี่ยงการสื่อสารที่ซ่อนเร้นโดยไม่จำเป็น  การสื่อสารที่ดีต้องใช้เหตุผลและใช้ปัญญาเป็นหลักในการควบคุม

                     ข้อที่  4    ปฏิบัติราชการแทน

                    การปฏิบัติราชการแทน  เป็นการที่ผู้บริหารมอบหมายภารกิจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำแทน  อันเนื่องมาจากเหตุผลความจำเป็นต่าง ๆ เช่น  ปริมาณงานที่ทำมีมาก จึงต้องแบ่งเบาภาระงานของผู้บริหาร    งานบางอย่างต้องการผู้มีประสบการณ์เฉพาะ   เป็นการแบ่งสรรงานตามสายงาน    เป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ   เป็นการฝึกผู้ร่วมงานให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่   และส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารงาน     ดังนั้น  การที่ผู้บริหารจะมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติราชการแทน   จึงมีขั้นตอนที่สำคัญ  ขั้นตอน  คือ  1.   สำรวจและวางแผน   2.  ให้คำแนะนำแก่ผู้รับมอบหมายงาน   3.  กำหนดหลักเกณฑ์หรือนโยบาย    4.  การวางแผนการปฏิบัติงาน     5.  การวางแผนประเมินผล    6.  ดำเนินการการมอบหมาย  มีข้อที่ควรจำในเรื่องการมอบหมายงานว่า  งานต่อไปนี้ไม่ควรมอบหมายให้คนอื่นทำ  ต้องเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องดำเนินการเอง  ได้แก่   1.  งานนโยบาย   2.  การตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการ     3.  งานลับเฉพาะ   4.   งานที่กฎหมายกำหนดให้ทำเอง     5.   งานที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ

                     ข้อที่  5     งบประมาณ

                      ในการบริหารภารกิจขององค์การใดก็ตาม  จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรในการบริหาร  คือ   5 M   ได้แก่  M – Man   , M – Money , M – Material , M – Management , M –Minutes   ทรัพยากรที่สำคัญที่สุด คือ  คน  หรือ  Man     สิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งรองลงมาจากทรัพยากรบุคคล  น่าจะได้แก่  เงิน  หรือ  งบประมาณ  นั่นเอง  เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะได้มาซึ่งวัสดุอุปกรณ์  และสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารงาน   วิธีการที่จะได้มาซึ่งงบประมาณนอกเหนือจากการได้มาโดยการจัดสรรจากทางราชการ  ผู้บริหารต้องควบคุมกำกับให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ  และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด   ซึ่งงบประมาณในส่วนที่ได้รับการจัดสรรนี้ ในปัจจุบันมีจำนวนที่จำกัดมากจนไม่เพียงพอกับความจำเป็นที่ต้องใช้   ดังนั้น   จึงเป็นบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารในการที่จะใช้ทักษะทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ในการติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอก      เพื่อขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อนำมาพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้า       บทบาทนี้จึงเป็นสิ่งที่จะพิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารอย่างแท้จริง

          การปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จได้นั้น  ผู้บริหารเปรียบเสมือนกัปตันที่จะนำนาวาไปสู่จุดหมายปลายทาง  ผู้บริหารต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์เพื่อโน้มน้าวจิตใจของผู้ร่วมงาน  ซึ่งเราไม่อาจทราบได้ว่าบุคคลจะมีความคิดหรือทัศนคติทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อการบริหารงานเพียงใด

            ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหาร  ท่านจะใช้เทคนิควิธีการใดบ้างที่จะทำให้ผู้ร่วมงานให้มีความสุขและสนุกด้วยลักษณะวิธีการทำงานแบบผสานงานและผสานใจ  อันเป็นการขจัดความขัดแย้งในองค์การและเพื่อเข้าถึงธรรมะในการทำงานอย่างสันติสุข

แนวตอบ

            ขั้นที่  1   เกริ่นนำ   -      ผู้บริหารที่ประสบผลสำเร็จในการบริหารงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของตนเองเพียงอย่างเดียว  เนื่องจากผู้บริหารต้องทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ๆ อีกหลายฝ่าย   ซึ่งบุคคลเหล่านั้นมีความแตกต่างกันอยู่มากมายหลายด้าน  เช่น  ฐานะความเป็นอยู่    ความรู้ความสามารถ  นิสัยใจคอ  และความรู้สึกนึกคิด  เป็นต้น  ซึ่งเราไม่อาจทราบได้ว่าบุคคลจะมีความคิดหรือทัศนคติทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อการบริหารงานเพียงใด  ดังนั้น  ผู้บริหาร  จึงจำเป็นต้องใช้ทั้งศาสตร์  คือความรู้และทฤษฎีบริหารที่เล่าเรียนมา  และใช้ศิลป์ คือ  หลักมนุษย์สัมพันธ์  เพื่อโน้มน้าวจิตใจของผู้ร่วมงาน  ให้ผู้ร่วมงานให้มีความสุขและสนุกด้วยลักษณะวิธีการทำงานแบบผสานงานและผสานใจ  อันเป็นการขจัดความขัดแย้งในองค์การและเพื่อเข้าถึงธรรมะในการทำงานอย่างสันติสุข

            ขั้นที่  2   เนื้อหา   -   อธิบายการทำงาน  แบบ   ผสานงาน  ผสานใจ ( TEAM   HARMONY )  ประกอบด้วย  ประการ  คือ1.   รู้นโยบายและเป้าหมาย     2.  รู้วัฒนธรรมองค์กร   3.  ระบบการบังคับบัญชาและการสื่อสาร     4.  มนุษย์สัมพันธ์และการจูงใจ 

       โรงเรียนเป็นระบบองค์การระบบหนึ่ง   บรรดาสิ่งก่อสร้างและบริเวณสถานที่ในโรงเรียนจะสวยหรูเพียงใด   สิ่งอำนวยความสะดวกจะเพรียบพร้อมและพิเศษขนาดไหนก็ตาม   ถ้าคนในองค์การไม่มีความสมัครสมานสามัคคี  และมีความร่วมมือในการทำงาน    บุคลากรมีความขัดแย้งกันรุนแรง   สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนา  เพราะคนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญจะขาดความสุข   ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน  ไม่จงรักภักดีต่อหน่วยงาน  ย่อมทำให้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เกิดความล้มเหลวในที่สุด

                  ดังนั้น     ผู้บริหาร  ในฐานะที่เป็นผู้นำในองค์การ  จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งที่จะต้องเป็นผู้นำการขับเคลื่อนองค์การให้ไปสู่เป้าหมายได้  โดยเริ่มจากการ  พัฒนาตนเอง  พัฒนาเพื่อนร่วมงานและพัฒนางาน ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์เพื่อให้บุคลากรทุกคนเกิดความรู้สึกอย่างฉันท์มิตร   สร้างบรรยากาศในการทำงานที่อบอุ่น   ให้บุคลากรทุกคนเกิดความสุขในการทำงาน   มีขวัญและกำลังใจที่ดี  พร้อมที่จะร่วมกันขับเคลื่อนให้องค์การ   บรรลุในสิ่งที่เป็นเป้าหมายขององค์การได้ในที่สุด

วิธีการสร้างความสุขในการทำงาน   1)  พอใจในงานนั้น ๆ หมายถึง  งานที่ตนเองปฏิบัติอยู่    2.   เตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับงานคือการที่เราต้องศึกษางานที่เราจะปฏิบัติเสียก่อนว่ามีปัญหาอย่างไร  มีขั้นตอนอย่างไร  และมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า      3.   สุขภาพต้องแข็งแรง  ดังคำพูดที่ว่าจิตใจที่สดใสย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง     4.  ทำงานให้เต็มความสามารถ  เต็มกำลัง ทั้งกำลังกายกำลังใจ     5. การทำงานต้องมีการกระทบกระทั่งกันบ้างควรมีการให้อภัยซึ่งกันและกัน    6.   การทำงานหรืออยู่ร่วมกัน  ต้องเอาใจเขาใส่ใจเรา    7.  ในการทำงานถ้าเครียดควรหยุดพักผ่อนชั่วคราวโดยวิธีนอนหลับทำสมาธิหรือเดินไปคุยกับเพื่อนๆหรือออกกำลังกาย    8.    ไม่นินทากัน  ถ้าผู้ร่วมงานรู้ว่าเรานินทาเขา  ตัวเราจะหมดเพื่อนฝูง  และไม่มีใครจะมาร่วมสังสรรค์ด้วย     9.  ทิ้งงานไว้ที่ทำงาน  ไม่ควรนำกลับไปทำที่บ้าน  เพราะว่าเมื่อเรากลับมาถึงบ้านควรเป็นเวลาที่เราอยู่กับครอบครัวและพักผ่อนให้มากเพื่อเตรียมตัวเผชิญกับงานในวันรุ่งขึ้น

 

            ขั้นที่  3   สรุป    -   มนุษย์สัมพันธ์  เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การที่ผู้บริหารสามารถสร้างศรัทธาหรือสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันของผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยงานได้  ย่อมทำให้องค์การสามารถปฏิบัติภารกิจให้บรรลุตามเป้าหมายได้อย่างแน่นอน

        ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารสถานศึกษา   ท่านจะต้องทำงานร่วมกับบุคคลหลายประเภทที่มีพฤติกรรมแตกต่างกันไป  เพื่อให้การบังคับบัญชา  กำกับดูแลการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ  และประสิทธิผล  ท่านจะมีวิธีการนำเอาหลักการ  หรือทฤษฎีใดที่ได้เรียนไปแก้ไขปัญหากับบุคคลประเภทต่อไปนี้   เพื่อให้รอดพ้นจาก  5  %  ที่จะต้องปลดออก

1)                มองคนในแง่ร้าย  ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และไม่เต็มใจทำงาน

2)                ขี้เกียจ  ชอบเลี่ยงงาน  ทิ้งงาน  โยนกอง

3)                มีความสามารถเพียงเล็กน้อยและไม่มีความพยายาม

4)                ไม้ตายซาก  เฉื่อยชาไม่สนใจงานที่รับผิดชอบ

5)                ชอบประจบสอพลอและนินทาว่าร้าย

6)                พูดโม้  คุยมาก  แต่ทำไม่ได้

 

แนวตอบ

                ขั้นที่  เกริ่นนำ         -  ผู้บริหาร  คือ  ผู้นำขององค์การ  การปฏิบัติภารกิจของผู้บริหารจำเป็นต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลหลายฝ่าย  ซึ่งบุคคลเหล่านั้น  ย่อมมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันหลายประการ      เช่น  อายุ  เพศ  การศึกษา  ภูมิหลังและสิ่งแวดล้อม  ความแตกต่างกันในสิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้บุคคลมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปทั้งในลักษณะที่เป็นด้านบวกคือการสร้างสรรค์ส่งเสริมให้องค์การมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพและในลักษณะที่เป็นด้านลบคือขัดขวางต่อการสร้างสรรค์และพัฒนาองค์การ ดังนั้น  ผู้บริหารจะต้องสามารถจัดการพัฒนาบุคลากรดังกล่าว   ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของคนในองค์การ  ซึ่งจะส่งผลให้องค์การมีคุณภาพ  และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุข

                  ขั้นที่  2   เนื้อหา   -   นโยบายของรัฐบาลในชุดปัจจุบัน  โดยการนำของ พ...ทักษิณ     ชิณวัตร  นายกรัฐมนตรี  ได้ดำเนินนโยบายในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐ   มีการจำกัดจำนวนข้าราชการเพื่อลดค่าใช้จ่าย  และสร้างประสิทธิภาพของข้าราชการให้มากขึ้น  สำนักงาน  ก.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านบุคลากรภาครัฐ  จึงประกาศแนวทางในการลดจำนวนข้าราชการทุกประเภทลง เริ่มในเดือนตุลาคม  2547  นี้  โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่  5 %  หรือจำนวนประมาณ  60,000   คน   ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของบุคลากรอย่างแน่นอน  ดังนั้น  ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องมีวิธีการนำเอาหลักการ  หรือทฤษฎีที่ได้เรียนมาไปแก้ไขปัญหากับบุคคลประเภทต่อไปนี้   เพื่อให้รอดพ้นจาก  5  %  ที่จะต้องปลดออก    ดังนี้

1)              มองคนในแง่ร้าย  ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และไม่เต็มใจทำงาน    -   ใช้เทคนิควิธีสอนให้เขาคิดในทางบวก   ชี้ให้เขาเกิดความสำนึกร่วมในการปฏิบัติงาน  เพื่อความก้าวหน้าของตนเอง

2)              ขี้เกียจ  ชอบเลี่ยงงาน  ทิ้งงาน  โยนกอง     มีความสามารถเพียงเล็กน้อยและไม่มีความพยายาม  ใช้เทคนิควิธีการที่ต้องลงไปตรวจสอบการทำงานบ่อย ๆ   ให้คำแนะนำในการทำงาน  สอนให้มีความรับผิดชอบงาน

3)              ไม้ตายซาก  เฉื่อยชาไม่สนใจงานที่รับผิดชอบ   ใช้เทคนิควิธีการปรึกษาหารือ  และตรวจสอบการทำงานอย่างสม่ำเสมอ  สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน   สร้างแรงจูงใจให้เขาเกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน

4)              ชอบประจบสอพลอและนินทาว่าร้าย   ใช้เทคนิควิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่น  คิดในแง่บวก  มองคนอื่นในทางที่ดี

5)              พูดโม้  คุยมาก  แต่ทำไม่ได้   ใช้เทคนิควิธี  หมั่นอบรมสั่งสอน  แล้วมอบงานง่าย ๆ ให้ทำ

 

               ขั้นที่  3   สรุป      ผู้บริหารสถานศึกษา  มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง  เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้ทันต่อสถานการณ์ความเจริญก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ  และเพื่อให้บุคลากรปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ในงานที่ได้รับมอบหมายให้บังเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของหน่วยงานและของทางราชการ   ซึ่งถ้าบุคลากรทุกคนมีคุณสมบัติเป็นไปตามที่กล่าวมานี้  ก็เชื่อมั่นว่า  จะไม่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มบุคลากรที่เสื่อมประสิทธิภาพ  หรือ กลุ่ม  5  %   อย่างแน่นอน

 

             ความขัดแย้งในโรงเรียนจะแก้ไขได้อย่างไร   โดยใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ใด  ยกตัวอย่าง

    แนวตอบ

                          โรงเรียนเป็นระบบองค์การระบบหนึ่ง    ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลหลายคน และบุคคลเหล่านั้นต่างมีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ  เช่น  เพศ   อายุ    วุฒิการศึกษา  ความรู้  ความสามารถ     ฐานะความเป็นอยู่   ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดส่วนตัว   ความแตกต่างกันในสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในหน่วยงานได้    ความขัดแย้งมีทั้งในลักษณะที่เป็นการขัดแย้งอย่างเปิดเผย  การขัดแย้งที่มองเห็นได้  และการขัดแย้งในลักษณะที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน     ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการขัดแย้งในลักษณะใดก็ตาม  ถ้าหากปล่อยไว้นานไม่หาทางแก้ไข  อาจทำให้กลายเป็นการขัดแย้งที่รุนแรง  จนก่อให้เกิดปัญหาที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาหน่วยงานได้   ดังนั้น  การเป็นผู้บริหารมืออาชีพ  จึงต้องให้ความสำคัญกับความขัดแย้งและควรมองว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องดีที่ผู้บริหารจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการแก้ไขความขัดแย้งนั้นในเชิงสร้างสรรค์

                         ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นในโรงเรียน  ซึ่งพบเห็นอยู่บ่อย ๆ เช่น  พวกที่ทำงานเฉื่อยชาเลี่ยงงาน  พวกไม่สนใจงาน   พวกขาดความรับผิดชอบ   ช่างติเตียนหรือทำตัวอวดเก่ง  พวกที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว   เป็นต้น  บุคลากรที่ชอบสร้างความขัดแย้งในลักษณะที่กล่าวมานี้  เป็นพวกที่มักก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน    เป็นอุปสรรคที่ขัดขวางต่อการพัฒนาองค์การ     และเป็นสาเหตุที่ทำให้บางครั้งผู้บริหารเกิดความรู้สึกอึดอัดใจ โกรธ หรือมีอารมณ์เครียด  ไม่มีความสุข        ในการจัดการกับบุคลากรที่ชอบก่อความขัดแย้งเช่นนี้  ถ้าปฏิบัติไม่เหมาะสม  ก็อาจทำให้เป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้น      จนอาจจะทำให้ไม่สามารถแก้ไขได้     ดังนั้น    ผู้บริหารจึงต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของบุคลากรเหล่านี้ให้ดี         จะทำให้เกิดผลดีต่อองค์การและต่อตัวผู้บริหารเอง   คือ  การสร้างความศรัทธาต่อตัวผู้บริหาร     สร้างความยำเกรงต่อตัวผู้บริหาร      ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่กล้าทำในสิ่งที่ไม่สมควร และสร้างความจงรักภักดีต่อตัวผู้บริหาร   ซึ่งจะส่งผลต่อองค์การคือทำให้เป็นองค์การที่มีคุณภาพอีกด้วย

                         การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง  นั้น  ถือว่าเป็นงานที่ท้าทายความสามารถของผู้บริหาร  เพราะจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการแก้ไขปัญหา    วิธีการที่นำมาใช้อาจมีหลายวิธี  แต่วิธีการที่สำคัญแบ่งได้เป็น  ลักษณะ  ดังนี้    1.  การกระตุ้นความขัดแย้ง  2.  การแก้ปัญหาความขัดแย้ง   3.  การป้องกันปัญหาความขัดแย้ง

                           การกระตุ้นความขัดแย้ง  คือการที่ผู้บริหารใช้วิธีกระตุ้นให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้น  เพราะความขัดแย้งในบางอย่างจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหน่วยงานให้เจริญก้าวหน้า  เช่น  การแข่งขันในการทำงาน  ความอยากแสดงออกซึ่งความสามารถในด้านใดด้านหนึ่ง    การเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างในการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง  ซึ่งความขัดแย้งในลักษณะดังกล่าวนี้  ถ้าผู้บริหารสามารถบริหารจัดการในเชิงสร้างสรรค์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์การ  ดังนั้น  ผู้บริหารจึงต้องกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งในลักษณะดังกล่าวนี้ให้มาก

                          การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง   คือการที่ผู้บริหารนำวิธีการต่าง ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น  วิธีที่นำมาใช้มีหลายวิธี เช่น  การหลีกเลี่ยง   การสับเปลี่ยนหน้าที่การงาน  การประนีประนอม   การเข้ามามีส่วนร่วม    การเผชิญหน้า  การใช้อำนาจ   เป็นต้น

                          การป้องกันความขัดแย้ง  คือ  การที่ผู้บริหารหาวิธีการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในหน่วยงาน

                           ซึ่งวิธีการบริหารความขัดแย้งทั้ง  ลักษณะ คือ การกระตุ้นความขัดแย้ง   การแก้ปัญหาความขัดแย้ง  และการป้องกันปัญหาความขัดแย้งนี้  ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์  ดังนี้ 

                           1.  การติดต่อสื่อสาร   เป็นการสื่อสารระหว่างผู้บริหารกับบุคลากรโดยวิธีการต่าง ๆ และวิธีที่ดีและตรงที่สุดได้แก่  การพูด   คำพูดของผู้บริหารนั้นจะมีความสำคัญมากเพราะมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้ร่วมงานทั้งในแง่ลบและแง่บวก  ดังนั้น  จึงต้องเลือกใช้คำพูดที่จูงใจให้ผู้ฟังคล้อยตามและให้ความร่วมมือในการทำงาน

                          2.  การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ   เป็นที่ยอมรับกันว่า  ขวัญและกำลังใจ  ของคนมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเป็นอันมาก   คนที่มีความรู้ความสามารถสูง  หากขาดขวัญและกำลังใจ  การทำงานก็คงไม่มีประสิทธิภาพ  เนื่องจากคนเป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ  มีความรู้สึกนึกคิดที่ซับซ้อน  ดังนั้น ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญในเรื่องหลักการเรื่องขวัญและกำลังใจ เป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน     เอลตัน  เมโย  ได้ศึกษาจนได้ข้อสรุปว่า  ปริมาณการทำงานของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินเพียงอย่างเดียว  รางวัลทางใจ  มีผลต่อการทำงานสูงกว่าทางเศรษฐทรัพย์  อิทธิพลของกลุ่มจะมีความสำคัญยิ่งต่อการทำงานของหน่วยงาน  ผู้บริหารต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกิดขึ้นให้มากที่สุด  แนวทางในการสร้างขวัญและกำลังใจ  ได้แก่   การสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน  การเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมวางแผน   ผู้บังคับบัญชาทำตัวเป็นที่ปรึกษาทั้งในเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน  การชมเชยและให้รางวัลด้วยความจริงใจ  ผู้บริหารต้องวางตัวเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี    มีน้ำใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  การจัด

สวัสดิการ  รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความสะดวกสบายก็ย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจที่ดียิ่งขึ้น

3. การสร้างศรัทธาแก่ผู้ร่วมงาน     ความเชื่อมั่นศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ  เพราะว่าเมื่อคนเราเกิดความศรัทธาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว  ก็พร้อมที่จะเสียสละและอุทิศกาย  ใจให้กับสิ่งนั้นอย่างเด็ดเดี่ยวมั่นคง  ดังนั้น  ถ้าผู้บริหารสามารถสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้ร่วมงานได้แล้ว  ย่อมเป็นที่มั่นใจได้ว่า  ผู้ร่วมงานทั้งหลายนั้น  จะทุ่มเทแรงกาย  แรงใจในการทำงานอย่างเต็มกำลังความรู้ความสามารถ  การสร้างความศรัทธาในเบื้องต้นของผู้บริหาร คือการที่ผู้บริหารยึดหลักในการทำงาน  ดังนี้   มีวินัย    ใจเป็นธรรม   นำในการพัฒนา   หมั่นหาความรู้   ต้องสู้งาน   อุตสาหะ   ซึ่งเป็นหลักในการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารเป็นอย่างมาก

                        ผู้บริหาร  ถือเป็นผู้นำสูงสุดในโรงเรียน   โรงเรียนจะมีความเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหารในการที่จะสร้างทีมงานให้มีประสิทธิภาพ    บรรดาสิ่งก่อสร้างและบริเวณในโรงเรียนแม้จะมีสภาพที่สวยหรูสักเพียงใด   สิ่งอำนวยความสะดวกจะเพรียบพร้อมและพิเศษเพียงใดก็ตาม    แต่ถ้าคนในโรงเรียนไม่มีความรักความสามัคคี  และความร่วมมือในการทำงาน  บุคลากรมีความขัดแย้งกันรุนแรง  สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาโรงเรียน   ข้าพเจ้า  จึงมีความเชื่อมั่นว่า  ถ้าผู้บริหารได้ใช้วิชาความรู้ในเรื่องหลักมนุษย์สัมพันธ์  ที่ได้ศึกษามาเป็นอย่างดี นี้นำมาใช้ในการบริหารองค์การหรือโรงเรียนของตนเองแล้ว  ย่อมจะทำให้ความขัดแย้งทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น  เป็นไปในทางที่สร้างสรรค์  คือสามารถพัฒนาเป็นพลังที่เข้มแข็ง  สามารถที่จะปฏิบัติภารกิจที่รับผิดชอบจนบรรลุตามเป้าหมาย    และผู้บริหารก็จะเรียกได้ว่าผู้บริหารมืออาชีพอย่างแท้จริง

………………………………….

 

การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ใช้หลักอะไร   จึงจะสามารถบริหารโรงเรียนได้ประสบผลสำเร็จ

 

              ในการทำงานใด ๆ ก็ตาม  ทุกคนอยากทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการทำงานขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย    ความสามารถของผู้บริหารเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันการทำงานต่าง ๆ ให้ไปสู่ผลสำเร็จได้   ดังนั้น   ผู้บริหารจึงต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์  เพื่อโน้มน้าวจิตใจของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้มีความร่วมมือ  ร่วมใจ ร่วมขับเคลื่อนองค์การให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

            ในการทำงานให้บรรลุความสำเร็จนั้น  ผู้บริหาร  จะต้องคำนึงถึงหลักการต่าง ๆ ดังนี้

             1.    การพัฒนาตนเอง     เนื่องจากผู้บริหาร  เป็นผู้นำสูงสุดในโรงเรียน  บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งบุคคลภายในองค์การและบุคคลนอกองค์การ  ต่างมีความมุ่งหวังในตัวผู้บริหารไว้สูง   คือ   เป็นผู้จัดการของโรงเรียน   เป็นผู้นำทางการสอน  เป็นผู้ที่จะเอาเป็นแบบอย่างได้   เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี  เป็นต้น     ดังนั้น  ผู้บริหารจึงต้องพัฒนาตนเอง  ให้เป็นผู้ที่    มีอุดมการณ์ และค่านิยม  มีคุณธรรม   มีบุคลิกลักษณะของผู้นำ  มีความรู้ความคิด  มีวิสัยทัศน์   มีทักษะในการบริหาร  มีมนุษย์สัมพันธ์ 

              2.   การพัฒนาคน  ในที่นี้ได้แก่  เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา   ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดผู้บริหารมากที่สุด  เป็นส่วนสำคัญในการที่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนองค์การให้บรรลุตามเป้าหมาย  แต่เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ เช่น  ฐานะความเป็นอยู่  เพศ   วัย   วุฒิการศึกษา   ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด   ดังนั้น  เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้เป็นพลังที่จะร่วมกันขับเคลื่อนองค์การไปในทิศทางที่กำหนด  ผู้บริหารจึงต้อง  มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาบุคคลเหล่านี้  โดยยึดหลักมนุษย์สัมพันธ์  ดังนี้  คือ  

               -   การรู้คนและใช้คนให้เหมาะสมกับงาน  ผู้บริหารจะต้องสามารถวิเคราะห์คนได้  คือ  รู้ว่าแต่ละคนนั้นมีความรู้ความสามารถในเรื่องใด  เพื่อที่จะมอบหมายงานให้เขาทำได้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของเขา

        -     สร้างน้ำใจในการทำงาน   ได้แก่การที่ผู้บริหารได้นำหลักธรรมทางศาสนาเข้ามาใช้ในการพัฒนาผู้ร่วมงานเพื่อให้ได้ซึ่งน้ำใจในการทำงานจากเขาเหล่านั้น  เช่น   ใช้หลักธรรมสังคหวัตถุ   4  ได้แก่   ทาน  คือ การให้ความรัก  ความเมตตา ให้อภัย  ให้ความเป็นมิตร

ปิยวาจา   คือ  การมีวาจาสุภาพ  อ่อนน้อมต่อคู่สนทนา  อัตถจริยา  คือ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์  เกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน    สมานัตตา  คือ  การวางตัวสม่ำเสมอ  ให้ความเป็นธรรม  และความเสมอภาคแก่ทุก ๆ คน

                   ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร  4   ได้แก่   เมตตา   คือ  การมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน  คิดที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข     กรุณา   คือ   ความเอ็นดู  คิดช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ   คิดที่จะช่วยผู้ที่มีทุกข์ให้พ้นทุกข์    มุทิตา     คือ ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีหรือมีความสำเร็จในงานที่ทำ    อุเบกขา    คือ  การวางเฉย  วางตัวเป็นกลาง  ไม่มีอคติต่อผู้ใด

                  3.   การพัฒนางาน   ในการพัฒนางานให้ได้รับผลสำเร็จตามเป้าหมายนั้น  ผู้บริหารสามารถกระทำได้หลายวิธี  ดังนี้

                    -   มีความตระหนักในเป้าหมายของการพัฒนา   ผู้บริหารต้องทำให้ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายตระหนัก ถึงเป้าหมายที่กำหนดร่วมกันของหน่วยงาน  แล้ววางแผน  และปฏิบัติตามแผนให้บรรลุตามเป้าหมายนั้น

                     -     การนำหลักวงจร  PDCA  มาใช้ในการปฏิบัติงาน  เริ่มจาก   การวางแผน    การนำแผนไปปฏิบัติ   การตรวจสอบ  และการแก้ไขปรับปรุง

                     นอกจากหลัก  ประการ  ในการทำงานให้บรรลุความสำเร็จแล้ว  ผู้บริหารยังจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์สัมพันธ์อื่น ๆ อีก  เช่น   การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งได้แก่  ผู้บังคับบัญชา   เพื่อนร่วมงาน  ผู้ใต้บังคับบัญชา  รวมทั้งประชาชนทั่วไปอีกด้วย  เพราะบุคคลเหล่านี้  เป็นส่วนเสริมที่จะช่วยให้  การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนให้บรรลุตามเป้าหมายสูงสุด  นั่น  คือ  การสร้างผลผลิตคือผู้เรียนให้เป็นคนดี   คนเก่ง  และมีความสุข     ดังนี้จึงจะได้ชื่อว่า    เป็นผู้บริหารที่สามารถบริหารโรงเรียนได้ประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง

………………………………..

 

 

 

การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ใช้หลักอะไร   จึงจะสามารถบริหารโรงเรียนได้ประสบผลสำเร็จ

 

                  โรงเรียนเป็นระบบสังคมระบบหนึ่ง  ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียน  ขึ้นอยู่กับผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง       แต่ในสภาวะปัจจุบันจะเห็นได้ว่าทุกส่วนของสังคมได้ให้ความสำคัญกับตัวผู้บริหาร เป็นอย่างมาก   ทั้งนี้เพราะผู้บริหาร       คือ    ผู้นำสูงสุดขององค์การ  มีบทบาทและอำนาจหน้าที่ในการขับเคลื่อนองค์การให้บรรลุจุดมุ่งหมายตามที่สังคมคาดหวัง      แต่การที่ผู้บริหารจะประสบผลสำเร็จในการบริหารงานนั้น    ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวผู้บริหารแต่เพียงอย่างเดียว   จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องอีกหลายฝ่าย  ได้แก่   ผู้บังคับบัญชา   ผู้ใต้บังคับบัญชา   เพื่อนร่วมงาน  และประชาชนโดยทั่วไป   ดังนั้น เพื่อที่จะให้บุคคลเหล่านี้ยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของโรงเรียน  ผู้บริหารจำเป็นต้องมีวิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลในแต่ละประเภท   ดังนี้

              วิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้บังคับบัญชา   ผู้บริหารสถานศึกษา  แม้ว่าจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในโรงเรียน  แต่ก็ยังมีผู้บังคับบัญชาในระดับเหนือขึ้นไปอีก  ดังนั้น   จึงจำเป็นต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้บังคับบัญชา  ดังนี้  การเข้าถึงผู้บังคับบัญชา  ตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสม   การกล่าวสรรเสริญผู้บังคับบัญชาเมื่อมีโอกาส    การพยายามทำหน้าที่ให้ดีเต็มความรู้ความสามารถและหลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ    การยอมรับการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชา  ไม่โกรธเมื่อผู้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับความคิดของเรา  มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์  และอดทนในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน

              วิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา     ผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียนได้แก่  ครูสายผู้สอน   เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ รวมถึงนักการภารโรง   ซึ่งบุคคลในส่วนนี้  นับว่ามีความสำคัญมากในการที่จะร่วมเป็นทีมงานที่จะขับเคลื่อนองค์การให้ไปสู่ความสำเร็จได้เพราะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้บริหารมากที่สุด  ดังนั้น  ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีวิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา  ดังนี้   มีความอดทน  อดกลั้น  รู้จักการควบคุมอารมณ์ตนเอง  ไม่ให้โกรธ  หรือฉุนเฉียว ได้ง่าย   มีความเห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชา   รู้จักการชมเชยและให้รางวัลแก่ผู้ทำความดี   มีใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชา   ไม่ตำหนิผู้ใต้บังคับบัญชาต่อหน้าคนอื่น ๆ ให้ความสนใจต่อสวัสดิภาพ และสวัสดิการต่าง ๆ ของผู้ใต้บังคับบัญชา   ใช้คนให้เหมาะกับงาน   มีความเป็นธรรม  ใช้หลักคุณธรรมในการปกครองบังคับบัญชา   ใช้เวลาและโอกาสที่เหมาะสมในการสร้างความสนิทสนมกับผู้ใต้บังคับบัญชา

             วิธีการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับประชาชน    ประชาชนหรือชุมชน  คือกลุ่มบุคคลภายนอกโรงเรียนที่อยู่ใกล้ชิดกับโรงเรียนมากที่สุด   กลุ่มบุคคลเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการบริหารงานของผู้บริหาร   เพราะว่าบุคคลกลุ่มนี้ซึ่งได้แก่ผู้ปกครองนักเรียนซึ่งเป็นผู้ที่เข้ามาใช้บริการของโรงเรียน  ฉะนั้น  บุคคลกลุ่มนี้จึงมีความคาดหวังไว้สูงว่า   โรงเรียนหรือสถาบันทางการศึกษาจะทำหน้าที่ในการจัการศึกษาอบรมให้บุตรหลานของเขาได้มีความรู้ความสามารถและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สังคมส่วนใหญ่ต้องการ       ดังนั้น  ถ้าหากผู้บริหารสามารถสร้างศรัทธาให้คนในชุมชนได้มีความเชื่อมั่นต่อโรงเรียนมากเท่าไร  ย่อมเท่ากับว่าผู้บริหารโรงเรียน  ได้แหล่งทรัพยากรที่สำคัญที่จะดึงเข้ามาเป็นพลังร่วมพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้ามากเท่านั้น

  วิธีการที่ผู้บริหารจะใช้ในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับประชาชน  ได้แก่   การให้บริหารชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น  การให้บริการข้อมูลข่าวสาร   การบริการด้านอาคารสถานที่  การบริการด้านบุคลากรในการให้ความรู้ทักษะอาชีพ   การกีฬา  และด้านวิชาการต่าง ๆ

  การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน  เช่น   การใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาด้านต่าง ๆ  การเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน   การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน  การเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมที่สำคัญ ๆ เช่น  ประเพณีท้องถิ่น  วันสำคัญของชาติ  และวันสำคัญทางศาสนา การนำคณะครูและนักเรียนเข้าร่วมพัฒนาอาคารสถานที่สาธารณะในชุมชน   เป็นต้น

 การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา     ผู้บริหารควรสร้างความรู้สึกให้ชุมชนได้เกิดความรู้สึกว่า  เขาเป็นส่วนสำคัญและเป็นเจ้าของสถานศึกษา  เพื่อสร้างความรักและช่วยดูแลสถานศึกษา  และเนื่องจากในยุคปัจจุบัน   ทางราชการได้มีแนวนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา   ในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น 

เป็นคณะกรรมการสถานศึกษา  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในระดับต่าง ๆ   ดังนั้น  ผู้บริหารจึงต้องมีวิธีการในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับประชาชนดังกล่าวข้างต้น

                    ข้าพเจ้าคิดว่า  เมื่อผู้บริหารได้ใช้หลักของมนุษย์สัมพันธ์  ในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลในแต่ละระดับ ตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว  ย่อมหวังได้ว่าจะสามารถบริหารและพัฒนาโรงเรียนให้บรรลุความสำเร็จตามที่มุ่งหวังได้อย่างแท้จริง

………………………………………..

การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ใช้หลักอะไร   จึงจะสามารถบริหารโรงเรียนได้ประสบผลสำเร็จ

 

                      การที่ผู้บริหารจะประสบผลสำเร็จในการบริหารงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของตนเองเพียงอย่างเดียว  เนื่องจากผู้บริหารต้องทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ๆ อีกหลายฝ่าย   ซึ่งบุคคลเหล่านั้นมีความแตกต่างกันอยู่มากมายหลายด้าน  เช่น  ฐานะความเป็นอยู่    ความรู้ความสามารถ  นิสัยใจคอ  และความรู้สึกนึกคิด  เป็นต้น  ซึ่งเราไม่อาจทราบได้ว่าบุคคลจะมีความคิดหรือทัศนคติทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อการบริหารงานเพียงใด  ดังนั้น  ผู้บริหาร  จึงจำเป็นต้องใช้ทั้งศาสตร์  คือความรู้และทฤษฎีบริหารที่เล่าเรียนมา  และใช้ศิลป์ คือ  หลักมนุษย์สัมพันธ์  เพื่อโน้มน้าวจิตใจของผู้ร่วมงาน  ให้ผู้ร่วมงานให้มีความสุขและสนุกด้วยลักษณะวิธีการทำงานแบบผสานงานและผสานใจ  อันเป็นการขจัดความขัดแย้งในองค์การและสร้างพลังในการขับเคลื่อนองค์การให้ประสบผลสำเร็จ

                      หลักมนุษย์สัมพันธ์ที่ผู้บริหารจะต้องนำมาใช้ในการบริหารโรงเรียนให้ประสบผลสำเร็จได้แก่

                     1.   การมีทักษะในการสื่อสารและสื่อความหมายที่ดี  (  Good  Communication )   ผู้บริหารต้องเป็นผู้ส่งข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริงให้บุคคลากรในหน่วยงานทราบ  ดังนั้น  จึงต้องใช้หลักการสื่อสารที่ดีในการสร้างความเข้าใจ และ ความร่วมมือที่ดีในหน่วยงาน

                      2.   การมีทักษะในการใช้อำนาจโดยตำแหน่ง  ( Authority )  ผู้บริหารจะใช้อำนาจได้ดี  ต้องเป็นคนที่มีเหตุผล  และต้องแสดงบุคลิกภาพในสถานการณ์ที่ถูกต้อง  ให้เป็นที่ยอมรับและเข้าใจของบุคคลในหน่วยงาน  ความขัดแย้งจะเกิดขึ้น  ถ้าหากผู้บริหารใช้อำนาจเกิดนขอบเขต

                      3.   มีทักษะในการรับรู้  ( Perception )  ผู้บริหารจะต้องศึกษาคุณลักษณะและภูมิหลังที่แตกต่างกันของบุคคลในองค์การให้เข้าใจในพฤติกรรมที่เขาแสดงออก   การรับรู้ในพื้นฐานพฤติกรรม  และความรู้สึกนึกคิดจะช่วยลดความขัดแย้งในองค์การได้มาก

                      4.    มีทักษะในการใช้อำนาจบารมีหรืออำนาจแฝง  ( Power  Structure )   อำนาจบารมีเกิดได้หลายลักษณะ  เช่น  เกิดจากเงิน   ความเชี่ยวชาญ  ความใกล้ชิด  การให้บริการ  ฯลฯ  ผู้บริหารต้องรู้จักวิเคราะห์และหาวิธีการใช้อำนาจบารมีในทางที่ถูกต้อง

                5.   ภาวะผู้นำ ( Leadership )   ผู้นำเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานของบุคคลในองค์การ  จึงต้องรักษาเป้าหมายขององค์การ  สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับบุคลากร  ชี้แนะให้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานบรรลุตามเป้าหมายและตัดสินใจที่ดี

                6.   มีทักษะในการจูงใจ ( Motivation )   ผู้บริหารต้องศึกษาและสำรวจคุณลักษณะของบุคลากรในหน่วยงานว่า  แต่ละคนใช้วิธีการอย่างไรจึงจะจูงใจให้เขาทำงานด้วยความมุ่งมั่นเต็มใจ

                7.   มีทักษะในการบำรุงขวัญ ( Morale )   ผู้บริหารต้องตรวจสอบสภาวะจิตใจและความรู้สึกของคนในองค์การที่มีต่องาน  ต่อบุคคลต่าง ๆ ในหน่วยงานอยู่เสมอ ถ้ามีภาวการณ์ที่บุคลากรขาดขวัญและกำลังใจจะต้องบำรุงขวัญ  เพื่อให้คนทำงานร่วมกันด้วยดีและบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน

                8.   มีทักษะในการตัดสินใจสั่งการ ( Decision )  -  making )   เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ผู้บริหารจะต้องระมัดระวัง  เพราะถ้าตัดสินใจผิดพลาด  จะทำให้เกิดผลกระทบต่องานและบุคคล  ผู้บริหารจึงต้องสามารถตัดสินใจอย่างมีหลักการ  และเมื่อตัดสินใจแล้วต้องสามารถอธิบายให้บุคคลอื่นทราบเหตุผลได้

               ข้าพเจ้าคิดว่า  หลักมนุษย์สัมพันธ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  ถ้าหากผู้บริหารคนใด  สามารถฝึกฝนให้มีขึ้นในตนเองได้   ย่อมจะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้บริหารคนนั้น    สามารถบริหารโรงเรียนได้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างแน่นอน

 

…………………………………

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น