วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การตีความร้อยกรอง


การตีความร้อยกรอง

1.คนเห็นคนเป็นคนนั่นแหละคน คนเห็นคนใช่คนใช่คนไม่
เกิดเป็นคนต้องเป็นคนทุกคนไป จนหรือมีผู้ดีไพร่ไม่พ้นคน”
บทประพันธ์ข้างต้นไม่ปรากฏลักษณะการแต่งแบบใด

    1. การเล่นคำซ้ำ
    2. การเล่นคำพ้อง
    3. การใช้สัมผัสสระอักษร
    4. การใช้ปฏิพากย์

คลิกดูเฉลยจงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 2-4
มาทำลายรั้วระวังให้พังราบ มาร่ายเสกมนต์สาปให้หมดเศร้ามาให้ห่วงคิดถึงทุกค่ำเช้า มาปล้นเอาหัวใจไปหมดแล้ว”
2.น้ำเสียงของผู้แต่งเป็นอย่างไร
    1. อาลัย
    2. จริงจัง
    3. เพ้อฝัน
    4. มีความสุข

คลิกดูเฉลย3.ลักษณะการแต่งที่เด่นที่สุดในบทประพันธ์คือข้อใด
    1. สัมผัสสระ
    2. สัมผัสอักษร
    3. การใช้ภาพพจน์
    4. การใช้กลบท

คลิกดูเฉลย4.บุคคลใดน่าจะเป็นประธานของบทประพันธ์นี้มากที่สุด
    1. ทหารที่ออกไปรบ
    2. ขโมย
    3. นางอันเป็นที่รัก
    4. พ่อมด

คลิกดูเฉลยจงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 5-7ขอบคุณ...
ขอบคุณสำหรับโรงบุหรี่
ขอบคุณอีกทีกับโรงหวย
ขอบคุณสนามม้าชาติหน้ารวย
ขอบคุณโรงเหล้าด้วยช่วยชาติไทย
5.ข้อใดเแสดงความรู้สึกของผู้ประพันธ์เด่นชัดที่สุด
    1. เกลียดชัง
    2. ประชด
    3. ชื่นชม
    4. ยกย่อง

คลิกดูเฉลย6.ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายตามข้อใด
    1. เตือนให้คิด
    2. แนะให้ทำ
    3. ติเตียน
    4. สั่งสอน

คลิกดูเฉลย7.คำประพันธ์ในข้อใดใช้น้ำเสียงเหมือนกับคำประพันธ์ข้างต้น

    1. ไทยคงเอกราชด้วย ฝีมือ ไทยเอย
    2. ขอบคุณไมตรีที่มีให้ ความห่วงใยอาทรแต่ก่อนเก่า
      แม้วันนี้ไม่มีทางระหว่างเรา ก็ไม่เศร้าเหงาหรอกใจบอกมา
    3. หนึ่งจะต้องอกหักกับรักแรก สองจะต้องไม่แปลกกับรักใหม่
      สามจะต้องผิดหวังทุกครั้งไป สี่จะต้องจำไว้รักคือทุกข์
    4. จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
      จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา

คลิกดูเฉลยจงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 8-10
มิ่งมิตร... เธอมีสิทธิ์ที่จะล่องแม่น้ำรื่น
ที่จะบุกดงดำกลางค่ำคืน ที่จะชื่นใจหลายกับสายลม
ที่จะร่ำเพลงเกี่ยวโลมเรียวข้าว ที่จะยิ้มกับดาวพราวผสม
ที่จะเหม่อมองหญ้าน้ำตาพรม ที่จะขมขื่นลึกโลกหมึกมน”
8.แนวคิดใดไม่ปรากฏในบทประพันธ์นี้
    1. สิทธิของมนุษย์
    2. ธรรมชาติของชีวิตที่มีทุกข์มีสุขสลับกัน
    3. การต่อสู้กับอุปสรรค
    4. ความยุติธรรมและความถูกต้อง

คลิกดูเฉลย9.ในบทร้อยกรองนี้ กวีวางตนไว้ในฐานะอะไร
    1. อาจารย์
    2. เพื่อน
    3. พระ
    4. บุคคลอันเป็นที่รัก

คลิกดูเฉลย10.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของคำประพันธ์ข้างต้น
    1. ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของถ้อยคำ
    2. ความง่ายและความงามของบทกลอน
    3. การใช้อุปลักษณ์และบุคคลวัต
    4. แสดงแนวคิดทางพุทธศาสนา

คลิกดูเฉลยจงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 11-14
โหยหวนหวูดหวูดรถไฟ จุดหมายอยู่ไหนในโลกกว้าง
ผ่านหุบเหวทะเลทรายไปตามราง เลื้อยลอดอุโมงค์กว้างอันมืดนาน
เด็กน้อยยองยอง แม่ใช้ไปซื้อของซื้อข้าวสาร
เอาไม้เขี่ยรถไฟบนใบลาน รถไฟคลานเป็น อ.อ่าง ละลานลือ
พลางควานกระเป๋าพบรอยขาด ตรงที่คาดว่าจะมีเหรียญวางทื่อ
ฉันทำความอิ่มหายไปหลายมื้อ เด็กน้อยตีมือกระทืบรถไฟจนแหลกเหลว

11.รถไฟ” ในที่นี้เป็นการใช้ภาพพจน์ประเภทใด

    1. อุปลักษณ์
    2. สัญลักษณ์
    3. บุคคลวัต
    4. อติพจน์

คลิกดูเฉลย
12.เด็กน้อย” เป็นคนอย่างไร

    1. ช่างจินตนาการ
    2. โหดเหี้ยมอำมหิต
    3. ร่ำรวย
    4. ไม่ระมัดระวัง

คลิกดูเฉลย13.แนวคิดสำคัญของบทประพันธ์คือ
    1. ความฝันกับจินตนาการ
    2. ความยากจนกับความฝัน
    3. ความยากจนกับจินตนาการ
    4. ความยากจนกับความไม่ระมัดระวัง

คลิกดูเฉลย14.บทประพันธ์ข้างต้นไม่ปรากฏโวหารภาพพจน์แบบใด
    1. สัทพจน์
    2. อุปลักษณ์
    3. สัญลักษณ์
    4. บุคคลวัต

คลิกดูเฉลยจงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 15-16
เขียนคนด้วยคนใหม่ เขียนหัวใจด้วยไมตรี
เขียนปากด้วยพจี สุจริตจำนรรจา
เขียนสมองและสองมือ ด้วยซื่อสัตย์และศรัทธา
มุ่งมั่นและปัญญา มาเถิดมามาช่วยกัน
15.บทประพันธ์ข้างต้นเป็นสารประเภทใด
    1. ชวนเชื่อ
    2. โน้มน้าว
    3. ให้เหตุผล
    4. ให้ความรู้

คลิกดูเฉลย16.แนวคิดใดไม่ปรากฏในบทประพันธ์
    1. โลกสวยด้วยมือเรา
    2. การพัฒนาตนเอง
    3. สามัคคีคือพลัง
    4. ปัญญาประดุจดังอาวุธ

คลิกดูเฉลยจงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 17-18
หยุดประเดี๋ยวได้ไหมพายุร้าย หยุดส่งสายสุนีบาตมาข่มขู่
กัมปนาทกราดเกรี้ยวกันเกรียวกรู
เพื่อสักครู่เจ้าจะหลั่งซึ่งฝนริน
เติมความรักสักหน่อยนะหัวใจ
เติมความหวังไกลอยู่ให้สิ้น
ให้หยัดอยู่คู่ท้าเถื่อนธรนินทร์
เพื่อแผ่นดินจะงดงามด้วยความรัก
17.คำประพันธ์ข้างต้นไม่ปรากฏลักษณะการแต่งในข้อใด
    1. เล่นสัมผัสสระและสัมผัสอักษร
    2. เล่นคำพ้องความหมาย
    3. ใช้สัญลักษณ์
    4. ซ้ำคำย้ำความหมาย

คลิกดูเฉลย18.ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายในข้อใด
    1. ให้มีความอดทน
    2. ให้มองโลกในแง่ดี
    3. ให้มีอุดมการณ์
    4. ให้กำลังใจ

คลิกดูเฉลยจงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 19-20
เป็นสร้อยโสภิศพ้น อุปรมา
โสรมสรวงศิรธิรางค์ เวี่ยไว้
จงคงคู่กัลปา ยืนโยค
หายแผ่นดินฟ้าไหม้ อย่าหาย ฯ
19.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของคำประพันธ์ข้างต้น
    1. การใช้อติพจน์
    2. การใช้อุปลักษณ์
    3. การใช้คำอลังการ
    4. การใช้อุปมา

คลิกดูเฉลย20.บทประพันธ์นี้ต้องการสื่ออะไร
    1. แสดงความสำคัญของบทกวี
    2. แสดงความยิ่งใหญ่ของบทกวี
    3. แสดงความสามารถของกวี
    4. แสดงความรู้สึกของกวี

คลิกดูเฉลย
ธรรมชาติของภาษา21. ข้อใดเป็นลักษณะร่วมของการใช้เสียงพูดและการใช้ตัวเขียนในการสื่อสาร


1. อวัยวะที่ใช้ในการสื่อสาร
2. อวัยวะที่ใช้ในการรับสาร
3. ตัวสาร
4. ความคงทนของสาร
คลิกดูเฉลย22. เหตุใดจึงไม่จัดภาษาเขียนไว้ในภาษาในความหมายอย่างแคบ
1. ภาษาเขียนมีความแน่นอนน้อยกว่าภาษาพูด
2. บางภาษายังไม่มีภาษาเขียน
3. ภาษาเขียนไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้
4. ภาษาพูดมีมาก่อนภาษาเขียน
คลิกดูเฉลย23. กลุ่มคำในข้อใดแสดงให้เห็นว่าเสียงและความหมายในแต่ละภาษาไม่สัมพันธ์กัน
1. ผู้หญิง นารี สตรี กัลยา
2. เคียด แค้น ขุ่น ขึ้ง
3. ตุ๊กแก ฉู่ฉี่ โครม ทุ่ม
4. เก เข เย้ เป๋
คลิกดูเฉลย24. หน่วยที่เล็กที่สุดของภาษาคือข้อใด
1. เสียงสระ
2. เสียงพยัญชนะ
3. พยางค์
4. ถูกทั้ง 1. และ 2.
คลิกดูเฉลย25. ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. ถึงแม้ว่าจะมีเสียงจำกัด เราไม่สามารถสร้างประโยคที่ยาวที่สุดได้
2. ในแต่ละภาษา หน่วยที่ใหญ่กว่าสามารถจำแนกเป็นหน่วยที่เล็กกว่าได้เสมอ
3. ภาษาเป็นพฤติกรรมการสื่อสารแบบที่ต้องเรียนรู้ซึ่งผู้ใช้กำหนดขึ้นเองทั้งระบบ
4. เนื่องจากภาษาใช้เสียงสื่อสารทำให้ผู้ใช้ภาษาต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันเข้าใจได้ทั้งหมด
คลิกดูเฉลย26. การที่คนบางกลุ่มออกเสียงคำว่า “เต้าเจี้ยว” เป็นคำว่า “เจ้าเจี้ยว” แสดงว่าภาษามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
1. เกิดการกร่อนเสียง
2. เกิดการผลักเสียง
3. เกิดการกลมกลืนเสียง
4. เกิดการสลับที่ของเสียง
คลิกดูเฉลย27. คำในข้อใดมีการเปลี่ยนแปลงต่างจากคำอื่น
1. มะพร้าว
2. กระดุม
3. วะวับ
4. ตะเข้
คลิกดูเฉลย28. ข้อใดไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา
1. การแปรของภาษาตามระดับภาษาและสถานการณ์
2. การพูดในชีวิตประจำวัน
3. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
4. อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
คลิกดูเฉลยใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 29-32
ร้าง ศาสตร์ ฉก หยุด เพชร วุ่น เพศ
สั่ง ชาติ พากย์ ภาพ อยาก เมฆ ค่ำ
ผัด ซัด เวร ซึ้ง พรรค ด้วง โรค
หนอน เพล ยาก หญิง เลข ลิ้น ฉัตร
29. คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกันตั้งแต่ 3 คำขึ้นไปมีทั้งหมดกี่ชุดคำ
1. 5 ชุด
2. 4 ชุด
3. 3 ชุด
4. 2 ชุด
คลิกดูเฉลย30. คำที่มีเสียงสระ “เอ” มีทั้งหมดกี่คำ
1. 7 คำ
2. 6 คำ
3. 5 คำ
4. 4 คำ
คลิกดูเฉลย31. คำที่สะกดในมาตราแม่กก มีมากกว่าคำที่สะกดในมาตราแม่กดกี่คำ
1. มีจำนวนเท่ากัน
2. 1 คำ
3. 2 คำ
4. 3 คำ
คลิกดูเฉลย32. จากรายการคำข้างต้น มีคำที่มีเสียงวรรณยุกต์ใดน้อยที่สุด
1. เอก
2. โท
3. ตรี
4. จัตวา
คลิกดูเฉลยคำสั่ง จงเติมคำหรือข้อความสั้น ๆ เพื่อตอบคำถาม ให้วิเคราะห์องค์ประกอบของการสื่อสารต่อไปนี้
"นิดโบกมือลาแดงก่อนไปขึ้นเครื่องบิน"
33. ผู้ส่งสาร : ………………………………
ตอบ นิด34. ผู้รับสาร : ………………………………
ตอบ แดง35. สื่อ : ………………………………
ตอบ มือ36. สาร : ………………………………
ตอบ ลา"ป้ายห้ามส่งเสียงดังในห้องสมุด"
37. ผู้ส่งสาร : ………………………………
ตอบ ผู้เขียนป้าย38. ผู้รับสาร : ………………………………
ตอบ ผู้อ่านป้าย39. สื่อ : ………………………………
ตอบ ป้าย40. สาร : ………………………………
ตอบ ห้ามส่งเสียงดังเสียงในภาษา
41. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ภาษาต่างประเทศ
1. เดิน
2.ทบ
3. ปราบ
4. ระฆัง
คลิกดูเฉลย42. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของภาษาไทย
1. วางคำขยายหลังคำหลัก
2. ไม่เปลี่ยนรูปคำเพื่อบอกเพศ พจน์ กาล
3. มีเสียงควบกล้ำในพยัญชนะท้าย
4. มีลักษณะเหมือนเสียงดนตรี
คลิกดูเฉลย43. คำควบกล้ำในข้อใดมีเสียงควบกล้ำเป็นเสียงที่มีมาตั้งแต่ภาษาไทยดั้งเดิม
1. เฟรนฟรายด์
2. บรั่นดี
3. คริสตัล
4. จันทรา
คลิกดูเฉลย44. จากลักษณะต่อไปนี้ ข้อใดไม่สามารถจำแนกคำไทยได้
1. มักจะเป็นคำพยางค์เดียว
2. มักจะสะกดตรงมาตรา
3. มีความหมายในตัวเอง
4. เป็นคำที่อ่านเนื่องเสียง
คลิกดูเฉลย45. ข้อใดต่างจากพวก
1. แสร้ง
2. เศร้า
3. ทราบ
4. ผลิ
คลิกดูเฉลย
46. เป็นศรีแก่ปากผู้   ผจงฉันท์

      คือคู่มาลาสรร  เรียบร้อย

      เป็นถนิมประดับกรรณ  ทุกเมื่อ

      กลกระแจะต้องน้อย  หนึ่งได้แรงใจ
ข้อความนี้มีเสียงควบกล้ำและอักษรนำอย่างละกี่คำ
1. ควบกล้ำ 2 คำ อักษรนำ 2 คำ
2. ควบกล้ำ 2 คำ อักษรนำ 3 คำ
3. ควบกล้ำ 3 คำ อักษรนำ 2 คำ
4. ควบกล้ำ 4 คำ อักษรนำ 4 คำ
คลิกดูเฉลยจงใช้ข้อความต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 47-48
“อันน้ำใจกวนอูนั้น ถ้าผู้ใดมีคุณแล้วเห็นจะเป็นเหมือนอิเยียว อันเล่าปี่กับกวนอูนั้นมิได้เป็นพี่น้องกัน ซึ่งมีความรักกันนั้น เพราะได้สาบานต่อกัน เล่าปี่เป็นแต่ผู้น้อย เลี้ยงกวนอูไม่ถึงขนาด กวนอูยังมีน้ำใจกตัญญูต่อเล่าปี่ จึงคิดจะติดตามมิได้ทิ้งเสีย...”
47. จากข้อความข้างต้น มีคำที่มีเสียงสระประสมกี่คำ
1. 6 คำ
2. 7 คำ
3. 8 คำ
4. 9 คำ
คลิกดูเฉลย48. จากข้อความข้างต้น มีคำที่ประสมสระเกินกี่คำ
1. 10 คำ
2. 11 คำ
3. 12 คำ
4. 13 คำ
คลิกดูเฉลย49. ข้อใดมีคำที่มีเสียงพยัญชนะท้ายมากที่สุด
1. ลางลิงลิงลอดไม้ ลางลิง
2. แลลูกลิงลงชิง ลูกไม้
3. ลิงลมไล่ลมติง ลิงโลด หนีนา
4. แลลูกลิงลางไหล้ ลอดเลี้ยว ลางลิง
คลิกดูเฉลย50. ข้อใดมีวรรณยุกต์ไม่ครบห้าเสียง
1. ปางนั้นส่วนสมเด็จพระมัทรีศรีสุนทราเทพกัญญา
2. จำเดิมแต่พระนางเธอลีลาล่วงลับพระอาวาส
3. พระทัยนางให้หวั่นหวาดพะวงหลัง
4. ตั้งพระทัยเป็นทุกข์ถึงพระเจ้าลูกมิขาดสาย
คลิกดูเฉลย51. คำในข้อใดเป็นพยางค์ปิดทั้ง 2 คำ
1. ประทิ่น ประมาท
2. น้ำมัน กะปิ
2. เกะกะ ห่วงใย
3. ลูกเสือ แม่น้ำ
คลิกดูเฉลย52. รูปพยัญชนะที่ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวสะกดและพยัญชนะต้นในข้อใดที่เป็นเสียงเดียวกัน
1. คัคนางค์
2.เอกราช
3. ชลนา
4. เทวทัต
คลิกดูเฉลย53. ข้อใดมีเสียงสระสั้นทุกพยางค์
1. น้ำจิ้ม น้ำตาล น้ำหวาน น้ำมัน
2. แม่น้ำ แม่ทัพ แม่ยาย แม่สื่อ
3. นมข้น นมผง นมกล่อง นมสด
4. กระต่าย กระเต็น กระตั้ว กระปุก
คลิกดูเฉลย54. ข้อใดมีคำที่ออกเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกับรูปมากที่สุด
1. กาจับกาฝากต้น ตุมกา
2. กาลอดกาลามา ร่อนร้อง
3. เพกาหมู่กามา จับอยู่
4. กาม่ายมัดกาจ้อง กิ่งก้านกาหลง
คลิกดูเฉลยจงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 55-60
ก. สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน
ข. ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
ค. กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพยอม
ง. อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
55. ข้อใดมีคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยวมากที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ำ)
1. ก.
2. ข.
3. ค.
4. ง.
คลิกดูเฉลย56. ข้อใดไม่มีเสียงสระประสม
1. ก.
2. ข.
3. ค.
4. ง.
คลิกดูเฉลย57. ข้อใดมีเสียงพยัญชนะสะกดน้อยที่สุด (ไม่นับเสียงซ้ำ)
1. ก.
2. ข.
3. ค.
4. ง.
คลิกดูเฉลย58. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ครบห้าเสียง
1. ก.
2. ข.
3. ค.
4. ง.
คลิกดูเฉลย59. ข้อใดมีพยางค์เปิดน้อยที่สุด
1. ก.
2. ข.
3. ค.
4. ง.
คลิกดูเฉลย60. ข้อใดประสมสระเสียงสั้นมากที่สุด
1. ก.
2. ข.
3. ค.
4. ง.
คลิกดูเฉลย61. ข้อใดมีคำลหุมากที่สุด
1. ถ้าหากฉันเกิดเป็นนกที่โผบิน
2. ติดปีกบินไปให้ไกลไกลแสนไกล
3. จะขอเป็นนกพิราบขาว
4. ช่วยชี้นำชาวประชาสู่เสรี
คลิกดูเฉลยใช้ข้อความต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 62-63
 เสียทีก็มีชื่อ  ได้เลื่องลือสรรเสริญ
 สงสารว่ากรรมเกิน กำลังดอกจึงจมสูญ
62. ข้อความข้างต้นมีคำลหุกี่คำ
1. 1 คำ
2. 2 คำ
3. 3 คำ
4. 4 คำ
คลิกดูเฉลย63. ข้อความข้างต้นมีคำตายกี่คำ
1. 1 คำ
2. 2 คำ
3. 3 คำ
4. 4 คำ
คลิกดูเฉลย64. คำครุ-ลหุ จะปรากฏในฉันทลักษณ์ประเภทใด
1. ลิลิต
2. ร่ายยาว
3. คำฉันท์
4. กลอนนิราศ
คลิกดูเฉลย65. คำในข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกันทั้งสองคำ
1. กลบเกลื่อน
2. ทรุดโทรม
3. ว่องไว
4. โครมคราม
คลิกดูเฉลย66. ข้อใดมีโครงสร้างพยางค์ต่างกับข้ออื่น
1. น้ำตาล
2. น้ำใจ
3. น้ำลาย
4. น้ำแดง
คลิกดูเฉลย67. คำในข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกันคำว่า “ปากกา”
1. ดักแด้
2. แหกตา
3. ทำนา
4. ท้องฟ้า
คลิกดูเฉลย68. คำในข้อใดมีโครงสร้างพยางค์เหมือนกันทั้งหมด
1. กิน สิน หิน ริน
2. ปัด จัด หั่น ตุ่ม
3. อย่า อยู่ อย่าง อยาก
4. ดิน น้ำ ทอง สวย
คลิกดูเฉลย69. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1. คำลหุทุกคำเป็นคำตาย
2. พยางค์เปิดทุกพยางค์เป็นคำลหุ
3. คำตายทุกคำเป็นพยางค์เปิด
4. พยางค์เปิดทุกพยางค์เป็นคำตาย
คลิกดูเฉลย70. ข้อใดมีจำนวนพยางค์น้อยที่สุด
1. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
2. ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช
3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. คณบดีคณะอักษรศาสตร์
คลิกดูเฉลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น