วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบ วิชา พรบ.ตำรวจแห่งชาติ

แนวข้อสอบ วิชา พรบ.ตำรวจแห่งชาติ 2547
ข้อ 1 พ.ร.บ.นี้เรียกอย่างไรจึงถูกต้อง?
ก.พระราชบัญญัติสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
ข.พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ 2547
ค.พระราชบัญญัติสำนนักงานตำรวจแห่งชาติ 2547
ง.พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
ตอบ ง.พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ( มาตรา 1 )
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า " พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ "

ข้อ 2 ข้อใดถูกต้องที่สุด?
ก.พระราชบัญญัติยศตำรวจยังไม่ถูกยกเลิก
ข.พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ยกเลิกทั้งหมด 18 ฉบับ
ค.พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
คือพระราชบัญญัติที่ใช้อยุ่ในปัจจุบันนี้
ง. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ยกเลิกทั้งหมด 17 ฉบับ
ตอบ ง. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ยกเลิกทั้งหมด 17 ฉบับ (ตาม ม.3)
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑
(๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๑
(๓) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๘ ลงวันที่ ๒๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔
(๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕
(๕) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๘
(๖) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๗๗
(๗) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๗
(๘) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๗๙
(๙) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๔๘๐
(๑๐) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๓
(๑๑) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๙๕
(๑๒) พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยตำรวจ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๔๙๗
(๑๓) พระราชบัญญัติยศตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๘๐
(๑๔) พระราชบัญญัติยศตำรวจ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๕
(๑๕) พระราชบัญญัติยศตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๔
(๑๖) พระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ พุทธศักราช ๒๔๗๗ (ฉบับที่ ๒)
(๑๗) พระราชบัญญัติเครื่องแบบตำรวจ (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๘๓
บรรดากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นในส่วนที่ได้บัญญัติไว้แล้ว ในพระราชบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน

ข้อ. 3 พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้เมื่อใด?
ก. ประกาศใช้ 13 มกราคม พ.ศ. 2547
ข.ประกาศใช้ 12 มกราคม พ.ศ. 2547
ค. ประกาศใช้เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ง.ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ตอบ ง.ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
( มาตรา.2 )
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 4 ข้อใดถูก สำหรับพระราชบัญญัตินี้
ก.เป็นปีที่ 60 ในรัชกาลปัจจุบัน
ข.โดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี
ค.โดยประกาศถัดจากวันพระราชกฤษฏีกาแล้ว
ง.ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2538
ตอบ ง.ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2538
(ม.3 ข้อ 5 ดูคำเฉลย ข้อ 2)
ก.เป็นปีที่ 59 ในรัชกาลปัจจุบัน / ข.โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา /
ค.ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป(
ม.2)

ข้อ. 5 บรรดากฏหมาย กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ
คำสั่งอื่นในส่วนที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้
ก.ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
ข.ให้นายกรัฐมนตรีวินิจนัย
ค.ให้นายกรัฐมนตรี ออกกฏกระทรวง
ง.ให้ยกเลิกแล้วให้ ผบ.ตร.ตัดสิน
ตอบ ก.ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน( ม.3 วรรค 2)

ข้อ 6 ข้อใดหมายถึง"ข้าราชการตำรวจ"?
ก. ผู้ที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ
ข. บุคคลที่มียศและไม่มียศ
และให้หมายความรวมถึงข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
ค. บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย
ง. บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติและให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ
ตอบ ค. บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ(
มาตรา. 4 )
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"ข้าราชการตำรวจ" หมายความว่า
บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งหรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐด้วย
"ประธานกรรมการ" หมายความว่า ประธานกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
"กรรมการ" หมายความว่า กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
"กองทุน" หมายความว่า กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
"กองบัญชาการ" หมายความรวมถึง
ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบัญชาการด้วย
"กองบังคับการ" หมายความรวมถึง
ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบังคับการด้วย

ข้อ 7 ผู้รักษาการตาม พรบ.นี้ คือใคร
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. รองนายกรัฐมนตรี
ง. ผบ.ตร.
ตอบ นายกรัฐมนตรี (มาตรา. 5 )
(มาตรา. 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ )

ข้อ 8 พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547
ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของบุคคลหรือหน่วยงานใด
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. ประธานรัฐสภา
ค. วุฒิสภา
ง.รัฐสภา
ตอบ รัฐสภา
( ก่อน ม.1 ระบุว่า
......จึงทรง......ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา)

ข้อ 9 คำว่า " กองทุน " ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 หมายความว่าอะไร?
ก. กองทุนสำหรับครอบครัวข้าราชการตำรวจ
ข. กองทุนช่วยเหลืองานสอบสวนคดีอาญา
ค. กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา
ง. กองทุนเพื่อการสอบสวนและวิธีพิจารณาความอาญา
ตอบ ก.กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา ( ม.4 )

ข้อ 10 ให้..............
รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และมีอำนาจออก...........เพื่อนปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ก.นายกรัฐมนตรี / พระกิจจานุเบกษา
ข.นายกรัฐมนตรี / กฏกระทรวง
ค. นายกรัฐมนตรี / พระราชกฤษฏีกา
ง.นายกรัฐมนตรี / ระเบียบ
ตอบ ข.นายกรัฐมนตรี / กฏกระทรวง (มาตรา. 5 )
( มาตรา. 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และมีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ )

ข้อ 11. panda ต้องการทราบว่า ข้อใดถูก
ก.ข้าราชการตำรวจต้องรับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนเท่านั้น
ข.กองบัญชาการ หมายความว่าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ
ค.กรรมการหมายความว่าคณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติ
ง.กองบังคับการหมายความว่าหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ
ตอบ ข.กองบัญชาการ
หมายความว่าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ(
มาตรา. 4)
ตามมาตรา. 4 " ข้าราชตำรวจ"หมายความว่า
บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้ง
หรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการ
ส่วนตัวเลือกอื่น
ค.กรรมการหมายความว่าคณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติ(ไม่มีคำว่าคณะครับ)
ง.กองบังคับการหมายความว่าหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ(ต้องตอบว่ากองบังคับการหมายความว่า
ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบกองบังคับการด้วย ครับ )

ข้อ12. พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มีทั้งหมดกี่ลักษณะ
ก. 6 ลักษณะ ข.7 ลักษณะ
ค. 8 ลักษณะ ง.9ลักษณะ
ตอบ ข. 7 ลักษณะ (ข้อนี้ไม่ต้องไปเปิดครับ ดุสารบัญก็พอครับ)

ข้อ 13 ประธานกรรมการ หมายถึงบุคคลใด ?
ก. ผบ.ตร. ข.นายกรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง. รอง ผบ.ตร.
ตอบ ข้อนี้หลอกครับ อ้าวววว หากท่านเข้าใจจะทราบว่า ไม่มีข้อถูก
ตามมาตรา.4 ประธานกรรมการหมายความว่า ประธานนโยบายตำรวจแห่งชาติ
แต่หากต้องตอบตามความจริงนะครับต้องตอบตาม ข้อ ข.นายยกรัฐมนตรี มาตราที่
17 ครับ
มาตรา 17 ให้ ก.ต.ช. ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการตาม (๑)
ให้ประธานกรรมการ โดยคำแนะนำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งข้าราชการ
ตำรวจยศพลตำรวจโทขึ้นไปคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.ต.ช.
และแต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไปจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ก.ต.ช.
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๒)
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ต.ช.
ให้นายกรัฐมนตรีประกาศรายชื่อกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 14 อยากทราบว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แบ่งส่วนราชการได้ตามข้อใด
ก.สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / กองบัญชาการ / กองบังคับการ
ข.กองบัญชาการ / กองบังคับการ / กองกำกับการ
ค.สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / กองบัญชาการ
ง.กองบัญชาการภาคต่าง ๆ / กองบังคับการ / กองกำกับการ / แผนก/งาน
ตอบ ค.สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / กองบัญชาการ (มาตรา. 10)
อ้างจาก มาตรา. 10 สำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งส่วนราชการดังต่อไปนี้
1 สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
2 กองบัญชาการ
การแบ่งส่วนราชการตาม (1) เป็นกองบัญชาการหรือการจัดตั้งกองบัญชาการตาม
(2) ให้ตราเป็นพระราชกฤษฏีกา
และการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นให้ออกเป็นกฎกระทรวง
และให้กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ในพระราชกฤษฏีกาหรือกฏกระทรวงนั้นแล้วแต่กรณี
ข้อนี้อย่าสับสนนะครับ เดี๋ยวจะงง ตัวเลือกบางข้อมีกองบังคับการตามมาด้วย
ตามวรรค สอง จะมีคำว่ากองบังคับการ มาเกี่ยวด้วย
นั่นแยกมาจากกองบัญชาการตามข้อ (2) ครับ ( เช่น ก.สำนั
กงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ / กองบัญชาการ / กองบังคับการ
)ตัดออกไปเลยครับอย่าสนใจ

ข้อ15. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ก.ปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดตาม ป.อาญา
ข.สืบสวนสอบสวนผู้กระทำความผิดตาม ป.วิอาญา
ค.ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา
ง. ให้การสนับสนุนกองทัพกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉิน
ตอบ ค.ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา (มาตรา. 6 (3))
มาตรา 6 สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี
พระรัชทายาทผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์
และพระราชอาคันตุกะ
(๒) ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(๓) ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา
(๔) รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๖) ช่วยเหลือการพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตาม
(๑) (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดความผิดทางอาญาขึ้นสำหรับการกระทำใดเป็นการเฉพาะ
และตกอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติตาม
(๓) (๔) หรือ (๕) จะตราพระราชกฤษฎีกาโอนอำนาจหน้าที่ตาม (๓) (๔) หรือ (๕)
เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทางอาญาดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วนให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นใดก็ได้
ในกรณีเช่นนั้น ให้ข้าราชการตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติพ้นจากอำนาจหน้าที่ดังกล่าวทั้งหมดหรือบางส่วน
และให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
พนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

ข้อ16. ให้ สตช.ส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา.......
ฯลฯ.ทั้งนี้การดำเนินการมีส่วนร่วมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่...............ใครกำหนด
?
ก. ก.ต.ช.กำหนด
ข.ก.ต.ร.
ค.คณะรัฐมนตรี
ง.ผบ.ตร.
ตอบ ก. ก.ต.ช.กำหนด (มาตรา.ที่ 7 )
มาตรา. 7 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ
เพื่อป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดทาง อาญา รักษาความสงบเรียบร้อย
และรักษาความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสม และความต้องการแต่ละพื้นที่
ทั้งนี้การดำเนินการมีส่วนร่วมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีที่
ก.ต.ช.กำหนด )
ข้อ17. การแบ่งข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศด้วยก็ได้โดยให้ตราเป็น.......?
ก.พระราชกำหนด
ข.พระราชกฤษฏีกา
ค.พระราชกิจจานุเบกษา
ง.พระราชบัญญัติ
ตอบ ข้อ ข.พระราชกฤษฏีกา (ม.8 )
มาตรา 8 ข้าราชการตำรวจอาจให้แบ่งเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศด้วยก็ได้
โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ข้าราชการตำรวจตำแหน่งใดหรือปฏิบัติหน้าที่ใด
จะเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง
ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้กำหนดวิธีการบรรจุ การแต่งตั้ง
การดำเนินการทางวินัย การบังคับบัญชา
การโยกย้ายระหว่างข้าราชการตำรวจประเภทมียศและข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศ
รวมตลอดทั้งการปรับยศ
และปรับเงินเดือนเมื่อมีการโยกย้ายดังกล่าวและการอื่นตามที่จำเป็นไว้ด้วย
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง
ไม่มีผลกระทบฐานะของข้าราชการตำรวจที่มียศอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลใช้บังคับ

ข้อ 18. วัน เวลา ทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี
และการลาหยุดราชการ ของข้าราชการตำรวจ?
ก.ก.ต.ร กำหนด
ข.ผบ.ตร.กำหนด
ค.ครม.กำหนด
ง.ประธาน ก.ต.ร.กำหนด
ตอบ ข้อ ค. ครม.กำหนด (ม.9)
( ตาม มาตรา. 9 วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี
วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการ
ของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
แต่ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่
ก.ต.ช.จะกำหนดให้ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่ตาม วัน เวลา
ที่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ได้ )

ข้อ 19 กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่.......จะกำหนดให้แตกต่างจากข้อ
18.ก็ได้ ?
ก.ก.ต.ร กำหนด
ข.ผบ.ตร.กำหนด
ค.นายกรัฐมนตรี กำหนด
ง. ก.ต.ช.กำหนด
ตอบ ง. ก.ต.ช.กำหนด (ม.9)
(มาตรา. 9 วันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี
และการลาหยุดราชการ ของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
แต่ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่
ก.ต.ช.จะกำหนดให้ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่ตาม วัน เวลา
ที่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ได้ )

ข้อ 20. การแบ่งราชการเป็นกองบังคับการให้ออกเป็น......?
ก.พระราชกำหนด
ข.พระราชกฤษฏีกา
ค.พระราชกิจจานุเบกษา
ง.กฏกระทรวง
ตอบ ง.กฏกระทรวง(ม.10)
( มาตรา.มาตรา. 10 สำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งส่วนราชการดังต่อไปนี้
1 สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
2 กองบัญชาการ
การแบ่งส่วนราชการตาม (1) เป็นกองบัญชาการหรือการจัดตั้งกองบัญชาการตาม
(2) ให้ตราเป็นพระราชกฤษฏีกา
และการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นให้ออกเป็นกฎกระทรวง
และให้กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ในพระราชกฤษฏีกาหรือกฎกระทรวงนั้นแล้วแต่กรณี

ข้อ 21 ผู้เป็นหัวหน้าส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คือผู้ใด?
ก. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ข. จเรตำรวจ
ค. รอง ผบ.ตร.
ง. ทุกข้อถูกหมดหากได้รับมอบหมาย
ตอบ ก. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ม.11)

มาตรา 11 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นหัวหน้าส่วนราชการ
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางการปฏิบัติราชการที่นายกรัฐมนตรี และ ก.ต.ช.
กำหนด รวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตาม
และประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๒) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติรองจากนายกรัฐมนตรี
(๓) เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(๔) วางระเบียบหรือทำคำสั่งเฉพาะเรื่องไว้ให้ข้าราชการตำรวจหรือพนักงานสอบสวนปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่น

ข้อ 22 ใครที่เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจ
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ได้รองจาก ผบ.ตร.?
ก.จเรตำรวจ
ข.รอง ผบ.ตร.
ค. ผู้ช่วย ผบ.ตร.
ง. ทุกข้อ ถูกต้องแล้ว ครับ
ตอบ ง.. ทุกข้อ ถูกต้องแล้ว (ม.12)
(มาตรา. 12 ให้มีจเรตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือ
ผู้ช่วยผุ้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผุ้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจ
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
รองจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่ผุ้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดหรือมอบหมาย
)

ข้อ.23 ใครเป็นผู้บังคับบัญชาตำรวจในกองบัญชาการ รองจาก ผู้บัญชาการ?
ก.รอง ผุ้บัญชาการ
ข.ผู้ช่วยผุ้บัญชาการ
ค.ถูกต้องแล้วครับ ทั้ง ก.และ ข.
ง.ไม่มีข้อถูกครับ
ตอบ ก.รอง ผุ้บัญชาการ (ม.13)
( มาตรา. 13 .ในกองบัญชาการหนึ่ง
ให้มีผู้บัญชาการคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจ
และรับผิดชอบการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น
ขึ้นตรงต่อผุ้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
และจะให้มีรองผู้บัญชาการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจ
และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากผู้บัญชาการตามที่ผู้บัญชาการมอบหมายด้วยก็ได้(
ปัจจุบัน ตำแหน่งผุ้ช่วยผุ้บัญชาการไม่มีแล้วครับ)
ความในวรรคหนึ่ง
ให้ใช้บังคับกับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการด้วยโดยอนุโลม
รวมทั้งให้หัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังเช่นผู้บัญชาการด้วย

ข้อ 24. ผุ้บัญชาการต้องรายงายผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งปัญหา
และอุปสรรคต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทุก กี่เดือน
ก. สามเดือน
ข.สี่เดือน
ค. ห้าเดือน
ง.หกเดือน
ตอบ ข.สี่เดือน (มาตรา.l4
มาตรา 14 ผู้บัญชาการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
(๑) บริหารราชการของกองบัญชาการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๒) ควบคุม กำกับ ดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่
และทรัพย์สินอื่นของกองบัญชาการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๓) เป็นผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติในราชการทั่วไปของกองบัญชาการ
(๔) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทุกสี่เดือน
หรือตามระยะเวลาที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใดกำหนดให้การดำเนินการใดเป็นอำนาจของอธิบดีหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ให้ผู้บัญชาการมีอำนาจเช่นว่านั้นในฐานะเป็นอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในกองบัญชาการ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ต.ช. กำหนด

ข้อ 25 ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง มี
ใครเป็นผู้มีอำนาจและทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจที่สังกัดกองบัญชาการอื่น
และปฏิบัติราชการประจำอยุ่ในจังหวัดนั้น
ก.ผู้บัญชาการ
. ข.ผู้บังคับการ
ค.ผู้กำกับการ
ง.ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ข.ผู้บังคับการ (ม.15 วรรคสุดท้าย )
มาตรา 15 ในกองบังคับการหนึ่ง
ให้มีผู้บังคับการคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองบังคับการนั้น
และจะให้มีรองผู้บังคับการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจากผู้บังคับการตามที่ผู้บังคับการมอบหมายด้วยก็ได้
ความในวรรคหนึ่ง
ให้ใช้บังคับกับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่ากองบังคับการด้วยโดยอนุโลม
รวมทั้งให้หัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังเช่นผู้บังคับการด้วย
ผู้บังคับการมีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
(๑) บริหารราชการของกองบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๒) ควบคุม กำกับ ดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่
และทรัพย์สินอื่นของกองบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และประกาศของทางราชการ ก.ต.ช. ก.ตร. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจที่สังกัดกองบัญชาการอื่นและปฏิบัติราชการประจำอยู่ในจังหวัดนั้น
ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการ หรือมติของคณะรัฐมนตรี
หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีด้วย ในการนี้ ให้มีอำนาจสั่งการใด ๆ
เพื่อให้เกิดการประสานงานและความร่วมมือกันในการปฏิบัติหน้าที่
หรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ของข้าราชการตำรวจในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย
ระเบียบ ข้อ-บังคับ หรือคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือกองบัญชาการ
มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราว
แล้วรายงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกองบัญชาการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด

ข้อ 26 "ก.ต.ช." ชื่อเต็มว่าอะไร?
ก. กรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ข. คณะกรรมการนโยบายข้าราชการตำรวจแห่งชาติ
ค.คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ง.คณะกรรมาการนโยบายตำรวจแห่งชาติ
ตอบ ค.คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ( ตามหัวข้อลักษณะที่ 3)

ข้อ 27 จากข้อ 26 มีอำนาจหน้าที่ทำอะไรกันบ้าง?
ก.กำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ
ข.กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ค.ให้ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบแบบแผน มติคณะรัฐมนตรี และกฎหมาย
ง.ทุกข้อที่กล่าวมานั้นละ จำได้นะ
ตอบ ง.ทุกข้อที่กล่าวมานั้นละ จำได้นะ (มาตรา. 16 )
( ม.16 ให้มีคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติคณะหนึ่งเรียกว่า " ก.ต.ช.")
มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ
และกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบแบบแผน
มติคณะรัฐมนตรี และกฎหมาย)

ข้อ 28 จากข้อ 26 ใครเป็นประธานกรรมการ
ก.ผบ.ตร.
ข.นายกรัฐมนตรี
ค.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ตอบ ข.นายกรัฐมนตรี (ม.17 )
มาตรา 17 ให้ ก.ต.ช. ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม
เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการตาม (๑)
ให้ประธานกรรมการ โดยคำแนะนำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งข้าราชการ
ตำรวจยศพลตำรวจโทขึ้นไปคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.ต.ช.
และแต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไปจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
ก.ต.ช.
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๒)
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบ ก.ต.ช.
ให้นายกรัฐมนตรีประกาศรายชื่อกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 29 กรรมการโดยตำแหน่ง ของ ก.ต.ช.มีใครกันบ้าง (ปาริชาติตอบหน่อย ดัง ๆ)
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม /
ปลัดกระทรวงมหาดไทย / ปลัดกระทรวงยุติธรรม /
และเลขาธิการสภาความมั่งคงแห่งชาติ / ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม /
ปลัดกระทรวงมหาดไทย / ปลัดกระทรวงยุติธรรม / และเลขาธิการสหประชาติ /
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ค.รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม /
ปลัดกระทรวงมหาไทย / ปลัดกระทรวงยุติธรรม /
และเลขาธิการสภาความมั่งคงแห่งชาติ / ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ง.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม /
ปลัดกระทรวงมหาไทย / ปลัดกระทรวงยุติธรรม / และเลขาธิการสหประชาชาติ /
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ตอบ ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม /
ปลัดกระทรวงมหาดไทย / ปลัดกระทรวงยุติธรรม /
และเลขาธิการสภาความมั่งคงแห่งชาติ / ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(มาตรา.
17)
( มาตรา. 17 ดูคำเฉลย ข้อ 28)
ข้อ 30 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนกี่คนครับ พี่น้อง?
ก. 9 คน ข.8 คน ค. 6 คน ง. 4 คน
ตอบ ง. 4 คน (ม.17)
( ม.17 วรรคสอง (2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน สี่คน
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการตาม
(1 ) ดูคำเฉลย ข้อ 28

ข้อ 31 หลักเกรณ์ และวิธีการสรรหากรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามที่...........
ก.ระเบียบ ก.ต.ช.
ข.ระเบียบ ก .ตร.
ค.ระเบียบ ครม.
ง.ระเบียบ ข.ต.อ.
ตอบ ก.ระเบียบ ก.ต.ช.( ม.17 )
( ม.17 ) ใ ห้ ก.ต.ช.ประกอบด้วย
( 1 ) นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม
และเลขาธิการสภาความมั่งคงแห่งชาติ และ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
(2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน สี่คน
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการตาม
(1 )
ให้ประธานกรรมการโดยโดยคำแนะนำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
ยศ พล.ต.ท.ขึ้นไปคนหนึ่งเป็นเลขานุการ ก.ต.ช. และแต่งตั้งข้าราชการยศ
พล.ต.ต.ขึ้นไป จำนวนไม่เกิน สองคนเป็นผู้ช่วย เลขานุการ ก.ต.ช.
หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตาม (2 )
ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน ระเบียบ ก.ต.ช. . ให้
นายกรัฐมนตรีประกาศรายชื่อกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา)

ข้อ.32 ข้อใดถูกต้อง ครับบบบ
ก. ผบ.ตร.เป็นประธาน ก.ต.ช.
ข. ประธานสามารถเลือกเลขานุการ (ก.ต.ช.)มาทำหน้าที่ตามคำแนะนำของ ผุ้ทรงคุณวุฒิ
ค. ให้นายกรัฐมนตรีประกาศชื่อกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา
ง. กรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิทั้ง หกคน
ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาโดยกรรมการโดยตำแหน่ง
ตอบ . ค ให้นายกรัฐมนตรีประกาศชื่อกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิในราชกิจจานุเบกษา(ม.17
)
( มาตรา. 17 วรรคสุดท้าย ดูคำอธิบาย ข้อ 31 )

ข้อ 33 การแต่งตั้งเลขานุการ ก.ต.ช. ข้อใดผิด?
ก.ให้ประธานแต่งตั้ง
ข.ผบ.ตร.แนะนำ
ค.ยศ พล.ต.ท.ขึ้นไป จำนวน 1 คน
ง.พล.ต.ต.ขึ้นไปอีก 3 คนเ ป็นผุ้ช่วยเลขาฯ
ตอบ ง.ครับ ข้อ ง.พล.ต.ต.ขึ้นไปอีก 3 คนเ ป็นผุ้ช่วยเลขา(มาตรา. .17 )
( มาตรา. 17 ดูคำอธิบายข้อ 31 พล.ต.ต.ขึ้นไปไม่เกิน สองคน ครับ )
ส่วนที่เหลือถูกต้องครับ ก.ให้ประธานแต่งตั้ง / ข.ผบ.ตร.แนะนำ / ค.ยศ
พล.ต.ท.ขึ้นไป จำนวน 1 คน
(เช่นกัน ดูคำอธิบาย ข้อ 31 )

ข้อ 34.การออกระเบียบ
ประกาศหรือมติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจ
และวิธีปฎิบัติราชการของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามแบบแผน และนโยบายที่
ก.ต.ช.กำหนด จะใช้บังคับได้ต่อเมื่อ
ก.ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
ข.ออกเป็นพระราชกฤษฏีกา
ค.ออกเป็นพระราชบัญญัติ
ง.ออกเป็นระเบียบ
ตอบ ก.ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว(มาตรา. 18 วรรคสุดท้าย )
มาตรา18 นอกจากอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๖ ให้ ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) ออกระเบียบ ประกาศ
หรือมีมติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจและวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจ
ให้เป็นไปตามแบบแผนและนโยบายที่ ก.ต.ช. กำหนด
(๒) เสนอแนะให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๖ วรรคสอง
(๓) พิจารณาดำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
(๔) กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการกระจายอำนาจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับตำรวจภูธรจังหวัด
และราชการส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่ ก.ต.ช. เห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสม
(๕) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่ ก.ต.ช. มอบหมาย
(๖) ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบาย
การบริหารราชการตำรวจให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น ในการนี้
ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจของกรุงเทพมหานคร
จังหวัดและสถานีตำรวจต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบ
ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของ ข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่ดังกล่าว
แล้วรายงาน ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป
องค์ประกอบ การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา
และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ
ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ต.ช. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ
ก.ต.ช.
ระเบียบหรือประกาศตาม (๑) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ข้อ 35.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม มาตรา. 17
ต้องมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในด้านใดบ้าง?
ก..กฏหมาย / การงบประมาณ / การพัฒนาผู้นำ / การวางแผนหรือการบริหาร / การจัดการ
ข.กฏหมาย / การงบประมาณ / การพัฒนาองค์กร / การวางแผนหรือการบริหาร / การจัดการ
ค. .กฏหมาย / การจัดองค์การ / การพัฒนาองค์กร /
การวางนโยบายหรือการบริหาร / การจัดการ
ง. .กฏหมาย / การงบประมาณ / การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ /
การวางนโยบายแผนงาน/ การจัดการ
ตอบ ข.กฏหมาย / การงบประมาณ / การพัฒนาองค์กร / การวางแผนหรือการบริหาร /
การจัดการ(มาตรา. 19)
(มาตรา.19 กรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิตาม มาตรา. 17 (2 )
ต้องมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในด้าน กฎหมาย การงบประมาณ
การพัฒนาองค์กร การวางแผนหรือการบริหาร และ การจัดการ


ข้อ 36 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีอายุเท่าไร?
ก. 65 ปี ข.55 ปี ค.50 ปี ง.40 ปี
ตอบ ง.40 ปี ( มาตรา. 20)
มาตรา 20 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
(๓) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น
หรือเป็นที่ปรึกษาของข้าราชการการเมืองหรือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
(๔) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมือง
(๕) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต
หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๖) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ
หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ
(๙) ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(๑๐) ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือผู้จัดการ
หรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

ข้อ 37 จากข้อ 36 มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ กี่ปี กี่ วาระ ?
ก.2 ปี ไม่เกิน 4 วาระ
ข. 4 ปี ไม่เกิน 4 วาระ
ค. 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ
ง. 2 ปี ไม่เกิน 2 วาระ
ตอบ ค. 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ ( มาตรา. 21)
(มาตรา. 21 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี
และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับสรรหาใหม่เข้ารับหน้าที่
)

ข้อ 38 เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แล้ว?
ก.ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาประธานกรรมการ
ข.ให้พ้นจากหน้าที่ภายใน 30 วัน
ค..ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการสรรหาใหม่เข้ารับหน้าที่
ง.ให้ประธานเตรียมเสนอชื่อเพื่อรับตำแหน่งอีกวาระ
ตอบ ค..ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการสรรหาใหม่เข้ารับหน้าที่
( ม.21)
(มาตรา. 21 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี
และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับสรรหาใหม่เข้ารับหน้าที่
)

ข้อ 39 จากข้อ 38 นอกจากพ้นตามวาระแล้วมี กรณีใดอีกจึงถือว่าพ้นจากตำแหน่ง ?
ก.อายุ ครบ 70 ปี
ข.ประพฤติไม่สมควร ขาดจริธรรม
ค.สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.อายุ ครบ 70 ปี( ม. 22 )
มาตรา. 22 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา. 21
กรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิพ้นตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) มีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
(3) ลาออก
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา. 20
(5) ก.ต.ช.มีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสียหรือมีการกระทำหรือมีคุณลักษณะไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการสรรหา
และแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทน
เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน
ในกรณีนี้จะไม่ดำเนินการให้มีการสรรหาก็ได้

ข้อ 40 หากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง ก่อนวาระ ให้ดำเนินการอย่างไร
ก.ให้ดำเนินการสรรหา
ข.สรรหาแล้วและแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการแทน
ค. ก.และ ข. ถูก
ง.รอประธานแต่งตั้งใหม่
ตอบ ค. ข้อ ค. ก.และ ข. ถูก ( ม. 22)
(ดูคำเฉลยข้อ 39)

ข้อ 41 จากข้อ 40 กรณีใดจะไม่ดำเนินการสรรหาก็ได้
ก.การดำรงตำแหน่งของกรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึง 45 วัน
ข..การดำรงตำแหน่งของกรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึง 60 วัน
ค..การดำรงตำแหน่งของกรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึง 90 วัน
ง..การดำรงตำแหน่งของกรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึง 30 วัน
ตอบ ค..การดำรงตำแหน่งของกรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึง 90 วัน (ม.22)
(ดูคำเฉลยข้อ 39 ครับ)

ข้อ 42 การประชุม ก.ต.ช.จะต้องมีกรรมการมาประชุมเท่าไร จึงจะครบองค์ประชุม ?
ก.ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ข.ครึ่งหนึ่ง
ค .ครบจำนวนกรรมการ
ง.ไม่น้อยกว่าสองในสาม
ตอบ . ก.ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง (ม.23)
มาตรา 23 การประชุมของ
ก.ต.ช.ต้องมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุม ก.ต.ช.
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ประธานกรรมการ และกรรมการโดยตำแหน่งจะมอบหมายบุคคลใดให้มาประชุมแทนไม่ได้
ให้ ก.ต.ช. มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุม และการลงมติของ ก.ต.ช.
คณะกรรมการตาม ม.18(5) และของคณะกรรมการตาม มาตรา. 18 ( 6) )

ข้อ 43 ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ จะแก้ไขอย่างไร?
ก.ให้กรรมการผู้อวุโสทำหน้าที่ประธาน
ข.ให้ประธานแต่งตั้งรองประธานทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
ค.ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ง.ให้ประธานและกรรมการโดยตำแหน่งมอบหมายให้กรรมการมาทำหน้าที่
ตอบ ค.ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม(มาตรา. 23)
มาตรา 23 การประชุมของ
ก.ต.ช.ต้องมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุม ก.ต.ช.
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ประธานกรรมการ และกรรมการโดยตำแหน่งจะมอบหมายบุคคลใดให้มาประชุมแทนไม่ได้
ให้ ก.ต.ช.มีอำนาจออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุม และการลงมติของ
ก.ต.ช.คณะกรรมการตาม ม.18(5) และของคณะกรรมการตาม มาตรา. 18 ( 6)

ข้อ 44 ใครมีอำนาจในการออกข้อบังคับว่าด้วยการประชุม และลงมติของ
ก.ต.ช.คณะกรรมการตาม มาตรา. 18(5) และของคณะกรรมการตาม มาตรา. 18 (6)
ก.ก.ตร.
ข.ประธานและกรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมประชุม
ค. ก.ต.ช
ง. ประธานแต่เพียงผุ้เดียว
มาตรา. 18(5) และของคณะกรรมการตาม มาตรา. 18 (6)
ตอบ ค. ก.ต.ช(ม 23 ดุคำเฉลยข้อ 43)

ข้อ 45 ยศตำรวจมีอะไรบ้าง?
ก. พลฯ - พลตำรวจเอก
ข.ส.ต.ต. - พลตำรวจเอก
ค.พลตำรวจ , ประทวน , สัญญาบัตร
ง. ชั้นประทวน - ชั้นสัญญาบัตร
ตอบ ข.ส.ต.ต. - พลตำรวจเอก( ม.24 )
ว่าที่ยศใดให้ถือเสมือนมียศนั้น ถ้าผู้ซึ่งมียศตำรวจเป็นหญิง
ให้เติมคำว่า "หญิง" ท้ายยศตำรวจนั้นด้วย

ข้อ 46 ข้อใดผิด
ก.ข้าราชการตำรวจมี3 ชึ้น คือ ชั้นพลตำรวจ ชั้นประทวน ชั้นสัญญาบัตร
ข. ชั้นพลตำรวจ ได้แก่ พลตำรวจสำรอง
ค. ตำรวจมียศพลตำรวจ รองจาก สิบตำรวจตรี
ง.ผิดทั้งหมด
ตอบ ค. ตำรวจมียศพลตำรวจ รองจาก สิบตำรวจตรี (ปัจจุบันนี้ไม่มียศ พลตำรวจ
ตาม มาตรา. 24 แต่มี 3 ชั้นยศ มาตรา. 25 ครับ )
ก และ ข.เป็นข้อที่ถูกแล้วครับ
ก.ข้าราชการตำรวจมี3 ชึ้น คือ ชั้นพลตำรวจ ชั้นประทวน ชั้นสัญญาบัตร
ข. ชั้นพลตำรวจ ได้แก่ พลตำรวจสำรอง และพลตำรวจสำรองคือ
ผู้ทีได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ
โดยได้รับการคัดเลือกหรือสอบแข่งขันเข้ารับการศึกษาอบรมในสถานศึกษาของ
สตช.

ข้อ 47 ใครสั่งแต่งตั้งยศพลตำรวจตรีได้
ก.นายกรัฐมนตรี
ข.ผบ.ตร.
ค.คณะรัฐมนตรี
ง. ก.ต.ช.
ตอบ ก.นายกรัฐมนตรี
( มาตรา. 26 การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ตร. และให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นกรณีพิเศษอาจกระทำได้โดยประกาศพระบรมราชโองการ
ในระหว่างที่ยังไม่มีประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร
จะแต่งตั้งว่าที่ยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นการชั่วคราวก็ได้ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้
เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
(1) แต่งตั้งยศพลตำรวจตรีขึ้นไป ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
(2) ตั้งแต่ว่าที่ยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
แต่ไม่สูงกว่าว่าที่ยศพันตำรวจเอกให้ ผบ.ตร. เป็นผู้สั่งแต่งตั้ง

ข้อ 48 ผบ.ตร.สั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศใดได้บ้าง
ก. พล.ต.อ.ลงมา
ข. พล.ต.ท. ลงมาแต่ไม่ต่ำกว่า พ.ต.อ.
ค.ร.ต.ต.ขี้นไปแต่ไม่สูงกว่า พ.ต.อ.
ง. ร.ต.ต.ขึ้นไปแต่ไม่สูงกว่า พ.ต.ท.
ตอบ ค. ร.ต.ต.ขี้นไปแต่ไม่สูงกว่า พ.ต.อ. (ม26 อย่าลืมคำว่า..
ตั้งแต่ว่าที่นะครับ..ดูคำเฉลยข้อ 47..)

ข้อ 49 การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวน ใครสั่งแต่งตั้งได้?
ก. ผบ.ตร.
ข.ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมายให้ ผบช.ขึ้นไปสั่งแต่งตั้ง
ค.ทั้งข้อ ก.และ ข.ถูก
ง. ยังไม่มีข้อถูก
ตอบ ข้อ ค. ครับ ค.ทั้งข้อ ก.และ ข.ถูก( ม.27 )
มาตรา 27 การแต่งตั้งยศตำรวจชั้นประทวน
ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้บังคับบัญชาระดับผู้บัญชาการขึ้นไปซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดใน กฎ ก.ตร )

ข้อ 50 การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตรให้ทำอย่างไร?
ก.เป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข.ให้ออกเป็นกฎกระทรวง
ค. ให้ออกเป็นพระราชกฤษฏีกา
ง. ให้ออกเป็น พระราชบัญญัติ
ตอบ ก.เป็นไปตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ม.28 )
มาตรา 28 การถอดหรือการออกจากยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร
ให้เป็นไปตามระบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติและให้ทำโดยประกาศพระบรมราชโองการ
)

ข้อ 60 - อื่่น pallnarak@hotmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น